ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัทธรรมปุณฑรีกสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Goryeo-Illustrated manuscript of the Lotus Sutra c.1340.jpg|350px|thumb|สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับ[[อักษรฮันจา]] ([[อักษรจีน]]ที่ใช้ใน[[ประเทศเกาหลี]]) สมัย[[ราชวงศ์โครยอ]] เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340]]
'''สัทธรรมปุณฑรีกสูตร''' (อ่านว่า "สัด-ทำ-มะ-ปุน-ดะ-รี-กะ-สูด") เป็น[[พระสูตร]]ที่สำคัญใน[[พุทธศาสนา]]ฝ่าย[[มหายาน]] เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะชาว[[จีน]]และประเทศในเอเชียตะวันออก
 
สมัยแห่งการแต่งพระสูตรนั้นไม่มีมติที่แน่นอน บ้างก็ว่าหลายร้อยปีหลังพุทธปรินิพพาน บ้างก็ว่าแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 300 เป็นอย่างเร็ว แต่ต้นฉบับ[[สันสกฤต]]ที่ค้นพบใน[[เนปาล]]ล้วนมีอายุหลังพุทธกาลราว 1,500 ปีทั้งสิ้น แม้ฉบับแปลของ[[ทิเบต]]ก็มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระ[[นาคารชุน]]ได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน พ.ศ. 693 จึงสันนิษฐานได้ว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ความคิดแบบมหายานพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วใน[[อินเดีย]]