ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูกครึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Danusorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ลูกครึ่ง''' หมายถึงลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน<ref>http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp</ref> คำว่าลูกครึ่งในประเทศไทย ไม่แน่ชัดว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] เอ่ยว่า ไม่พบใน[[กฎหมายตราสามดวง]] และคาดว่าคงเริ่มใช้นับตั้งแต่ประมาณ ร.4 ลงมา<ref name="นิธิ">[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]], [http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q4/2009november20p7.htm ลูกครึ่ง] มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1527</ref> ใน[[สมัยอยุธยา]] ลูกครึ่งเกิดจากพ่อค้าฝรั่งในเมืองไทย และที่อพยพมาจากต่างประเทศ มีลูกหลานที่เป็นไพร่ในกรม เช่น กรมฝรั่งแม่นปืน เป็นต้น คนไทยสมัยนั้นไม่รู้สึกว่าลูกครึ่งแตกต่างจากไพร่ฟ้าทั่วไป จึงยังไม่เรียกคนเหล่านั้นว่าลูกครึ่ง จนเมื่อลูกครึ่งฝรั่งมีความแตกต่างขึ้นมา คือไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือไม่ใช่ไพร่เพราะมีกฎหมายฝรั่งคุ้มครองตามสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อีกทั้งยังแต่งกายและมีวิถีชีวิตแบบฝรั่ง แต่จำนวนลูกครึ่งก็ยังมีไม่มากนัก มีลูกครึ่งฝรั่งที่มีบันทึกใน[[อัตชีวประวัติ]]ที่ชื่อ เออิจิอะไร ตีพิมพ์เป็นหนังสือ
 
ในสมัย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ทหารสัมพันธมิตรที่เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น เมื่อจบสงครามก็มีลูกหลานทิ้งไว้ที่เมืองไทย เช่นเดียวกับโครงการ R&R ของทหารอเมริกันใน[[สงครามเวียดนาม]] ที่ผู้คน (ในกรุงเทพฯ) มักจะเหยียดและสงสัยว่าแม่น่าจะเป็น[[โสเภณี]] (ซึ่งไม่จริงเสมอไป) <ref name="นิธิ"/>