ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงมโหรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Deep2529 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ประวัติและความเป็นมาของมโหรี'''
'''วงมโหรี'''เกิดจากการประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีวิวัฒนาการมาจาก[[วงขับไม้]]
'''ที่มาของคำว่ามโหรี'''
คำว่า “มโหรี” นั้นไม่อาจทราบความหมายได้ชัดเจน แต่ความเข้าใจคำว่ามโหรีในปัจจุบันนั้นหมายถึงวงดนตรีไทยวงหนึ่ง ที่มีการประสมวงขึ้น โดยมีเครื่องดนตรี ทั้ง ดีด สี ตี เป่า ครบ
ทุกประเภท แต่ที่มาของมโหรีนั้น นายธนิต อยู่โพธิ์ได้กล่าวไว้ดังนี้
วงมโหรีนั้นมีมาแต่โบราณ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่กล่าวถึงไว้ในกฎมนเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ในการพิธีลดชุดลอยโคมนั้น (พระเจ้าอยู่หัว) เสด็จลงเรือพระที่นั่ง
มีเรือตะเข้แนมสองข้าง แล้วระบุไว้ว่า '''“(เรือด้าน) ซ้ายดนตรี (เรือด้าน)ขวามโหรี”''' แต่มิได้บอกลักษณะของดนตรีและมโหรีนั้นต่างกันอย่างไร มีมีลักษณะอย่างไร แต่พอทราบได้ว่า (วง)มโหรี
กับ (วง)ดนตรี ที่กล่าวถึงในที่นั้น คงแตกต่างกัน จึงจัดไว้ในเรือคนละลำ และเรียกชื่อวงต่างกัน แต่มโหรีเป็นอย่างไร ท่านก็ได้กล่าวถึงคำว่า “มโหรี” ไว้ดังนี้
คำว่า “มโหรี” หมายความว่ากระไร สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อทรงนิพนธ์ “ตำนานเรื่องมโหรีปี่พาทย์” ไว้ มิได้ทรงประธานอธิบายคำว่า “มโหรี”
แต่เคยทรง(เขียน)ไว้ใน “อธิบายตำนานมโหรี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ และตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ ประชุมบทมโหรี ว่า “คำที่เรียกว่ามโหรี จะมาแต่ภาษาใด และมูลศัพท์จะหมายความว่ากระไร
ได้มีผู้ค้นหากันมาแต่ก่อน แต่ยังหาความไม่”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงวินิจฉัยกับพระยาอนุมานราชธน (ในหนังสือบันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๑ หน้า ๒๔๔-๒๔๕) ว่า คำว่า “มโหรี สงสัยว่าเป็นศัพท์เดียวกับมโหรทึก มโหรสพ แต่มโหรีมีท่วงทีเป็นอิตถีลึงค์ (อิตถีหมายถึงผู้หญิง) น่าจะเป็นผู้หญิงเล่น แต่มโหรีภูษามาลาก็มีผู้ชายเล่น หรือเป็นของพิเศษไม่ใช่ปกติก็ไม่ทราบแน่” แล้วทรงไว้อีก (ในบันทึกความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๒๙๖) ว่า “ศัพท์มโหรี” นั้น จะแปลว่ากระไร '''อันธาตุ*''' มโหร ที่เราได้ใช้อยู่สามคำ คือ มโหรทึก มโหรสพ
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
''*อันธาตุ หมายถึง ที่มาและส่วนประกอบของคำที่นำไปรวมกับคำอื่น เมื่อรวมกันแล้วจะมีการเปลี่ยนธาตุหรือรูปไปเป็นคำอื่นแต่ความหมายยังคงใกล้เคียงเดิมหรืออาจเปลี่ยนไปก็มี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๕๐ : หน้า ๕๙๓ )''
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กับมโหรี มีคนคิดกันอยู่นานแล้ว ว่าจะมาจากภาษามคธสันสกฤตคำไหน เมื่อค้นดูในปทานุกรม กระทรวงธรรมการ ฉบับตีพิมพ์ พ.ศ.๒๔๗๐ พบคำ มโหรสพ ก็ซัดไปให้ดูคำ มหรสพ เมื่อไปดูมหรสพ
ก็จำหน่ายไปไว้ในภาษามคธว่า “มหุสฺสว” ภาษาสันสกฤตว่า “มโหตฺสว” แต่คำว่า “มโหระทึกและมโหรีนั้นไม่พบ” ท่านเจ้าคุณอนุมานราชธนได้กราบทูลถวายความเห็น (บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ หน้า ๓๐๒) ว่ายังหาที่มาและความหมายของคำว่า “มโหรี” ไม่พบ แต่ท่านกรุณาชี้แนวทางไว้แล้ว ว่าอาจเป็นภาษาพื้นเมืองคำใดคำหนึ่งทางภาษาฮินดี มาผสมเข้ากับคำว่า “มหุสฺสว และ มโหตฺสว” แล้วคำคงแปลงไปตามหลักการประสมคำของภาษาบาลีสันสกฤต จนกลายเป็น “มโหรี” ชึ่งน่าจะลองติดตามค้นหากันต่อไป
 
'''คำว่า “มโหรี” โดยสันนิษฐาน'''
เมื่อเครื่องดนตรี ประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรมของไทยหลายอย่างเราได้ต้นแบบมาจากอินเดีย แล้วคำว่า “มโหรี” นั้นอาจจะสันนิษฐานว่าเป็นคำผสม ที่มาจากภาษาฮินดีก็เป็นได้
มีงานนักขัตฤกษ์ประจำปีของประชาชนชาวอินเดียอยู่อย่างหนึ่ง เป็นงานสนุกสนานภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว เริ่มตั้งแต่วันปุณณมี คือ วันเพ็ญในเดือนผาลคุน หรือเดือนที่เรียกในภาษาบาลีว่า ผัคคุณมาส คือเดือน ๔ โดยงานนักขัตฤกษ์นี้จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔
เป็นต้นไป บางท้องถิ่นเช่นในอินเดียตอนกลาง (มัธยมประเทศ) เล่นงานนักขัตฤกษ์นี้ตลอด
๓ วัน ๓ คืน แต่ในบางท้องถิ่นเล่นกันถึง ๗ วัน ๗ คืน และในบางท้องถิ่นเล่นไปตั้ง ๑๐ วัน ๑๐ คืนก็มี ซึ่งงานนักขัตฤกษ์ดังกล่าวนี้ เรียกในภาษาสันสกฤตว่า โหลิกาหรือโหลากา ซึ่งใน “สันสกฤต-ไทย-อังกฤษ อภิธาน” แปลเป็นเชิงอธิบายไว้ว่า “โหลากา-น. พิธีสาดสีสวันหรือฝุ่น
สีแดง อันเรียกว่า โหลี” งานนักขัตฤกษ์นี้เรียกเป็นภาษาฮินดีว่า “โหลี” หรือ “โหรี” และมีนิยายเล่าเรื่องให้เข้ากับเหตุการณ์และตำนานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาฮินดูของเขาว่า งาน
นักขัตฤกษ์โหลีนั้น เป็นการฉลองชัยชนะของพระศิวะที่ปราบพระกามเทพ (เทพเจ้าแห่งความรัก) สำเร็จ ซึ่งมีเรื่องเล่าโดยย่อว่า พระศิวะทรงบำเพ็ญฌาน ขณะที่อยู่ในสมาธิอย่างลึกซึ้งนั้น
พระนางปารวตี ธิดาแห่งราชาหิมาลัย ทรงมีใจปฏิพัทธ์ในพระศิวะ แต่พระศิวะก็มิได้สนพระทัยใยดีต่อพระนาง ดังนั้นพระกามเทพจึงได้แผลงศรไปปักพระศิวะ เพื่อให้พระศิวะเกิดความปฏิพัทธ์พระนาง
ปารวตี พระศิวะจึงโกรธพระกามเทพมาก จึงทำลายพระกามเทพด้วยเพลิงที่พุ่งออกมาจากพระเนตรดวงที่ ๓ ของพระองค์ ชาวอินเดียจึงจัดงานนักขัตฤกษ์โหลีเพื่อเป็นการฉลองชัยชนะของพระศิวะ
เป็นประจำทุกปี โดยในงานนักขัตฤกษ์นี้ประชาชนจะนำภาชนะต่าง ๆ ที่ตนมี มาบรรจุน้ำผสมสีแดง เที่ยวพากันเตร็ดเตร่ไปตามตรอกซอกซอยทุกถนน พบใครต่อใครก็สาดหรือรดน้ำสีแดงนั้นใส่ แม้จะทำให้เสื้อผ้าเปรอะเปื้อนก็ไม่ถือเป็นเจตนาร้ายแต่อย่างใด แต่เล่นกันเป็นที่สนุกสนานมาก
มีเพลงขับร้องประเภทหนึ่ง ขับร้องและบรรยายถึงงานนักขัตฤกษ์โหลี (ล.ลิง) แต่เรียกชื่อเพลงประเภทนั้นว่า โหรี (ร.เรือ) เพลงประเภทโหรีดังกล่าวนี้ ขับร้องโดยพวกนักร้องทำนองธรุปัท
(The Music of India by H.A. Popley,1950 p. 91) เมื่อพูดถึงขับร้องทำนองธรุปัท จำเป็นต้องอธิบายเปรียบเทียบทำนองและวิธีขับร้องแบบอื่นด้วย แต่ในรายงานนี้ไม่ขอกล่าวถึง
จะกล่าวถึงเฉพาะคำว่า “โหรี” มาเป็นมโหรีได้อย่างไร เป็นข้อสำคัญ
'''จากโหรี เป็น มโหรี'''
ท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน ได้โปรดแนะแนวทางไว้แล้วว่า “คำว่ามโหรีเป็นศัพท์พื้นเมือง เป็นศัพท์ผสมกัน” เพราะฉะนั้นเมื่อมีคำอื่น ๆ ที่ใช้ในภาษาไทยเช่น มหรคต,มหรณพ,มโหรสพ,มโหระทึก เป็นแนวเทียบอยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า “โหรี” จะมี “ม” เติมเข้ามาข้างหน้าเป็น “มโหรี” บ้าง ก็อาจจะเป็นไปตามแนวเทียบได้ง่ายและไม่น่ามีปัญหา ถึงคำ “มโหระทึก” เอง แต่เดิมก็เป็น “หรทึก” คงเติม “ม” ให้เป็นมโหระทึกต่อในภายหลัง ถึงแม้คำอื่น ๆ ในภาษาไทยที่มีการเติมพยางค์ข้างหน้าในเวลาภายหลังโดยอาศัยแนวเทียบแบบเดียวกันนี้ก็มีอยู่ถมไป เช่น ขโมย-ขะโจร,โกหก-โกไหว้,ทแกล้ว-ทหาร,พยศ-พเกียรติ,สะกิด-สะเกา โดยที่สุดแม้แต่คำบาลี เมื่อใช้กันในพวกคนไทย ยังเติมคำนำหน้าให้แก่คำบางคำก็มี เช่น พระวิสูตร,พระวินัย และอีกประการหนึ่ง คำว่า “โหรี” เดิมก็เป็นชื่อของเพลงขับร้องและชื่อของงานนักขัตฤกษ์ ดูนับเนื่องเกี่ยวพันกันกับชื่อวงมโหรีของไทย ดังนั้นอาจเป็นได้ว่าไทยเราอาจจะรับคำนี้มาใช้กันแต่โบราณนานไกล จนพากันลืมที่มา อย่างน้อยก็นำมาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ดังกล่าวแล้ว แต่อาจไม่เป็นดังกล่าวมานี้เลยก็ได้ สุดแต่จะพบหลักฐานใหม่ แต่ในขณะนี้ก็ขอถือว่า “มโหรี” มาจาก “โหรี” ไปพลางก่อน (ธนิต อยู่โพธิ์)
'''วงมโหรี'''
วงมโหรี ที่กล่าวถึงในกฎมนเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น จะผสมวงกันอย่างไร ใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้าง มิได้ระบุถึงไว้ แต่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ใน “เรื่องตำนานมโหรี” ว่า “เครื่องดีดสีที่มาคิดประดิษฐ์ขึ้น เรียกว่า มโหรี” นั้น เดิมเป็นของผู้ชายเล่นแต่ต่อมาเกิดมีคนชอบฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งมีบริวารมากจึงมักหัดผู้หญิงเป็นมโหรี ดังนั้นมโหรีก็กลายเป็นของผู้หญิงเล่นมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี(ธนิต อยู่โพธิ์)
 
'''ที่มาของวงมโหรี'''
เมื่อผู้เขียนได้อธิบายถึง คำว่า “โหรี และ วงมโห” แล้ว ต่อไปก็จะได้กล่าวถึงรูปแบบของวงมโหรีชนิดต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงมาตามยุคสมัยต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันดังนี้
ลักษณะของวงมโหรี จากตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์พระนิพนธ์สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ กล่าวว่า วงมโหรีนั้นอาจจะมาจากการผสมผสานกันระหว่างวงขับไม้และการบรรเลงพิณ (พิณน้ำเต้า)
เมื่อนำไปผสมกับวงขับไม้จึงกลายไปใช้กระจับปี่แทนเพราะกระจับปี่สามารถทำทำนองได้ดีกว่าพิณน้ำเต้า จึงเกิดเป็นวงดนตรีใหม่ที่เรียกว่าวงมโหรี (เครื่อง ๔)
''วงขับไม้ ประกอบไปด้วยผู้บรรเลงจำนวน ๓ คนด้วยกันคือ คนขับลำนำ หรือ ผู้ขับร้อง คนสีซอสามสาย ทำหน้าที่คลอร้องหรือดำเนินทำนองและ คนไกวบัณเฑาะว์ ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะ วงขับไม้ใช้บรรเลงประกอบพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร หรือพระราชพิธีสมโภชช้างเผือก เป็นต้น
การบรรเลงพิณ คือการดีดพิณและขับร้องไปด้วย โดยมากมักเป็นบทเกี้ยวพาราราสี
หรือชมความดีงามของสตรีที่ตนรัก ผู้บรรเลงพิณจะไปนั่งหรือยืนอยู่ในที่ใกล้บ้านของสตรี เพื่อดีดพิณและขับร้องให้สตรีที่ตนรักได้ยิน ทางภาคเหนือก็มีการขับพิณ เช่นจังหวัดเชียงราย พิณที่ใช้ดีดได้แก่พิณเพียะ (หรือเปี๊ยะ) รูปคล้ายพิณน้ำเต้าแต่ใช้กะลามะพร้าวแทนลูกน้ำเต้า
พิณภาคกลาง ก็คือสิ่งที่เราเรียกว่ากระจับปี่ในปัจจุบันนี้ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ คันยาวมี ๔ สาย ในสมัยสุโขทัยก็เรียกว่าพิณ ไม่ทราบว่ามาเปลี่ยนเป็นเรียกกระจับปี่เมื่อไหร่ ส่วนการดีดพิณและขับร้องไปด้วยนั้น ในภาคกลางก็มีปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องกากีคำกลอน ซึ่งผู้บรรเลงคือคนธรรพ์ เนื้อความกล่าวถึงการเยาะเย้ยพญาครุฑดังบทร้องที่ว่า
“คนธรรพ์ครั้นเห็นกรุงกษัตริย์ แจ้งรหัสให้เนตรดังบัญหาร
น้อมเศียรรับรสพจมาน จับพิณดีดประสานสำเนียงนวล”''
 
 
 
== ประเภทวงมโหรี ==
วงมโหรีแบ่งได้ดังนี้
'''วงมโหรีสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น'''
'''วงมโหรี ๔ คน'''
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายไว้ว่า “มโหรีชั้นเดิม” วงหนึ่งคนเล่นเพียง ๔ คน ดังนี้
๑. คนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะ
๒. คนสีซอสามสายประสานเสียง
๓. คนดีดกระจับปี่
๔. คนตีทับ
แล้วทรงประทานอธิบายต่อไปว่า “มโหรีที่พรรณนามานี้ พึงสังเกตว่ามิใช่อื่น คือเอาเครื่องบรรเลงพิณกับเครื่องขับไม้มารวมกัน แต่ใช้กระจับปี่ดีดแทนพิณ (น้ำเต้า) ตีทับแทนไกวบัณเฑาะว์และเติมกรับพวง ให้จังหวะราบรื่น” ดังนี้จึงได้เกิดวงมโหรี ๔ คน ขึ้นมา
'''วงมโหรีสมัยกรุงศรีอยุธยา'''
'''วงมโหรี ๕ คน'''
วงมโหรี ๕ นี้ยังหาข้อสันนิษฐานมิใคร่ได้นัก แต่มีคำโคลงอยู่หนึ่งบทจากหนังสือ
จินดามณี (เล่ม ๑-๒ หน้า ๔๕) ว่า
“นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน ภาพพร้อง
มโหรีบรรเลงไฉน ซอพาทย์
ทับ กระจับปี่ ก้อง เร่งเร้ารัญจวน ฯ”
พิจารณาตามโคลงบทนี้ วงมโหรีมีคนเล่น ๕ คน คือ
๑. คนขับร้อง (คงตีกรับด้วย)
๒. คนเป่าปี่หรือขลุ่ย
๓. คนสีซอสามสาย
๔. คนดีดกระจับปี่
๕. คนตีทับ
คำว่า “ไฉน” ในโคลงบทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นปี่ไฉนจริง ๆ เพราะคำว่า “ไฉน” บางครั้งก็กล่าวหมายถึงปี่หรือเครื่องเป่าชนิดอื่น คือ ขลุ่ย ก็เป็นได้ เช่นที่กล่าวถึงในบทละครเรื่องนางมโนราห์ครั้งกรุงเก่าว่า “เสมือนปี่ไฉนในบุรี เสมือนเสียงมโหรีเพราะวังเวง” หรือที่กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนาว่า “ไพเราะเพียงดนตรีปี่ไฉน” อาจหมายถึงขลุ่ยนั่นเองก็เป็นได้ เพราะเมื่อผสมวง ๖ คน
ก็ใช้ขลุ่ย ดังจะกล่าวต่อไป
โคลงบทนี้ อาจพรรณนาถึงวงมโหรีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.๒๑๔๘ -๒๑๖๓) หรือก่อนหน้านั้น ลงมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑)
ซึ่งเป็นสมัยที่พระโหราธิบดีแต่งคัมภีร์จินดามณีนี้ ทูลเกล้า ฯ ถวายก็เป็นได้
 
'''วงมโหรี ๖ คน'''
สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายต่อไปจากวงมโหรีเครื่องห้าว่า “ตั้งแต่มโหรีผู้หญิงเกิดมีขึ้น ก็เห็นจะชอบเล่นกันแพร่หลาย จึงเกิดเป็นเหตุให้มีผู้คิดเพิ่มเติมเครื่องมโหรีขึ้นโดยลำดับมา เครื่องมโหรีที่เพิ่มเติมขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี (สังเกตตามที่ปรากฏในภาพเขียนแต่สมัยนั้น) คือ รำมะนาสำหรับตีประกอบกับทับอย่าง ๑ ขลุ่ยสำหรับเป่าให้ลำนำ อย่าง ๑ มโหรีวงหนึ่งจึงกลายเป็น ๖ คน” ถ้าคำว่า “ปี่ไฉน” ในบทโคลงข้างต้นหมายถึงขลุ่ย ก็เพิ่มแต่ทับอย่างเดียว
ภาพเขียนสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ฝาผนังด้านตะวันตกของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เขียนรูปวงมโหรีหญิงมีคนเล่น ๖ คน ภาพเขียนดังกล่าวนี้ อาจเขียนตามลักษณะ วงมโหรีครั้งกรุงศรีอยุธยา หรือเขียนตามที่ยังมีบางวงนิยมเล่นอยู่ในสมัยนั้น ดังต่อไปนี้
๑. คนขับร้อง(คงตีกรับด้วย)
๒. คนเป่าขลุ่ย
๓. คนสีซอสามสาย
๔. คนตีทับ
๕. คนตีรำมะนา
๖. คนดีดกระจับปี่
 
'''วงมโหรี ๙ คน'''
วงมโหรี ๙ คนนี้สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงให้ข้อสันนิษฐานตามหลักฐานที่พบ คือ บานประตูไม้ลายจำหลักเรื่อง ภูริทัตชาดก สมัยกรุงศรีอยุธยา (อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ) ที่จำหลักไว้เป็นรูปแบบวงมโหรีวงหนึ่ง และภาพเขียนสีที่ผนังวิหารพระนอนตรงเบื้องพระเศียรพระพุทธไสยาสน์ในวัดพระเชตุพล ที่มีเครื่องดนตรีตรงกันดังนี้
๑. คนขับร้อง(คงตีกรับด้วย) ๖. คนดีดกระจับปี่
๒. คนเป่าขลุ่ย (๑) ๗. คนเป่าขลุ่ย ( ๒)
๓. คนสีซอสามสาย ๘. คนตีฆ้องวง
๔. คนตีทับ ๙. คนตีฉิ่ง
๕. คนตีรำมะนา
ลางทีขลุ่ยอีกเลาหนึ่งนั้นอาจเป็นปี่อ้อก็เป็นได้เพราะเหตุว่า ปี่อ้อและขลุ่ย รูปร่างคล้ายกัน ช่างสลักบานประตูดังกล่าว จึงลำบากที่จะทำให้แตกต่างกันได้
 
'''วงมโหรี ๑๐ คน'''
วงมโหรี ๑๐ คนนี้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่กล่าวไว้ในเพลงยาวไหว้ครูมโหรีครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า
“ขอพระเดชเดชาภูวนาถ พระบาทปกเกล้าเกศี
ข้าผู้จำเรียงเรื่องมโหรี ซอ กรับ กระจับปี่ รำมะนา
โทน ขลุ่ย ฉิ่ง ฉาบ ระนาด ฆ้อง ประลองเพลงขับกล่อมพร้อมหน้า
จงเจริญศรีสวัสดิ์ทุกเวลา ให้ปรีชาชาญเชี่ยวในเชิงพิณ”
คำว่า “ซอ” ที่กล่าวถึงตลอดมา หมายถึงซอสามสาย และพึงสังเกตว่า วงมโหรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ยังไม่มีซออู้ ซอด้วง และจะเข้เข้าเล่นผสมวง ดังนั้นรูปแบบวงมโหรี ๑๐ คน
จึงมีลักษณะดังนี้
๑. คนขับร้อง (คงตีกรับด้วย) ๖. คนดีดกระจับปี่
๒. คนเป่าขลุ่ย ๗. คนตีระนาดมโหรี
๓. คนสีซอสามสาย ๘. คนตีฆ้องวง
๔. คนตีทับ ๙. คนตีฉิ่ง
๕. คนตีรำมะนา ๑๐. คนตีฉาบ
 
''' วงมโหรีสมัยกรุงธนบุรี'''
มีหลักฐานปรากฏในหมายรับสั่งงานสมโภชพระแก้วมรกต ระบุไว้ว่า “มโหรีไทย มโหรีแขก มโหรีจีน มโหรีเขมร มโหรีญวน และมโหรีฝรั่ง”
ส่วนรูปแบบของแต่ละวงและ เครื่องดนตรีมีอะไรบ้างนั้น ในหมายรับสั่งมิได้ระบุไว้ เพียงแต่กล่าวถึงมโหรีไทยว่า “หมื่นราชาราช มโหรีไทยชาย ๒ หญิง ๔”
ถ้าเช่นนั้นวงมโหรีไทยสมัยกรุงธนบุรีคงเล่น ๖ คน ตามรูปแบบวงมโหรี ๖ คนของกรุงศรีอยุธยา ถ้ามิใช่ว่าเวลานั้นเป็นเวลาหาศิลปินได้ยาก ก็แสดงว่ามีชายหญิงเล่นรวมวงกันแล้ว
 
''' วงมโหรีสมัยรัตนโกสินทร์'''
'''วงมโหรี ๘ คน'''
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายไว้ว่า สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพิ่มเติมเครื่องมโหรีขึ้นอีกหลายอย่าง คือ เอาเครื่องปี่พาทย์เข้าเพิ่มขึ้นเป็นพื้น
เป็นแต่ทำให้ขนาดย่อมลงเพื่อ
๑). ลดเสียงของเครื่องตีให้ได้ระดับกลมกลืนกับเครื่องดีดเครื่องสีและเครื่องเป่าในวงมโหรี
๒). ให้วงมโหรีผู้หญิง ที่ผู้บรรเลงมีขนาดร่างกายเล็กกว่าผู้ชาย เล่นได้ถนัดกว่า
และสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายต่อไปอีกว่า วงมโหรี ๘ คนเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงคือ
๑. คนขับร้อง(คงตีกรับด้วย) ๕. คนตีรำมะนา
๒. คนเป่าขลุ่ย ๖. คนดีดกระจับปี่
๓. คนสีซอสามสาย ๗. คนตีระนาดไม้ (ระนาดมโหรี)
๔. คนตีทับ ๘. คนตีระนาดแก้ว
 
'''วงมโหรี ๙ คน'''
วงมโหรี ๙ คนวงนี้มิใช่วงเดียวกันกับวงมโหรี ๙ คนในสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. คนขับร้อง(คงตีกรับด้วย)
๒. คนเป่าขลุ่ย
๓. คนสีซอสามสาย
๔. คนตีทับ
๕. คนตีรำมะนา
๖. คนดีดกระจับปี่
๗. คนตีระนาดไม้ (ระนาดมโหรี)
๘. คนตีฆ้อง (ฆ้องมโหรี)
๙. คนดีดจะเข้
 
'''วงมโหรี ๑๒ คน (สมัยรัชกาลที่ ๓)'''
ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อมีระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเพิ่มขึ้นในวงปี่พาทย์ ก็มีคนนำระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กมาย่อขนาดให้เล็กลงแล้วนำมาผสมในวงมโหรีพร้อมกันนี้ได้เพิ่มฉาบด้วย
เมื่อเครื่องดนตรีในวงมีมากชิ้นขึ้น จึงได้เปลี่ยนกรับพวงที่นักร้องใช้ตีมาเป็นฉิ่งแทน เพื่อให้จังหวะแน่นขึ้นดังนั้นรูปแบบวงมโหรี ๑๒ คนจึงมีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. คนขับร้องตีฉิ่งด้วย ๗. คนตีระนาดเอกมโหรี
๒. คนเป่าขลุ่ย ๘. คนตีระนาดทุ้มมโหรี
๓. คนสีซอสามสาย ๙. คนตีฆ้องวงใหญ่มโหรี
๔. คนตีทับ ๑๐. คนตีฆ้องวงเล็กมโหรี
๕. คนตีรำมะนา ๑๑. คนดีดจะเข้
๖. คนดีดกระจับปี่ ๑๒. คนตีฉาบ
'''วงมโหรี ๑๔ คน'''
สมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้วังหน้าได้ทรงประดิษฐ์ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)และระนาดเหล็ก(ระนาดทุ้มเหล็ก)ขึ้น เพื่อใช้ผสมในวงปี่พาทย์
ดังนั้นเครื่องดนตรีทั้งสองสิ่งจึงได้ถูกย่อขนาดลงและเพิ่มเข้าไปในวงมโหรีด้วย ดังนั้นวงมโหรีในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้จึงมีผู้เล่นถึง ๑๔ คนดังนี้
๑. คนขับร้องตีฉิ่ง ๙. คนตีระนาดทองมโหรี
๒. คนเป่าขลุ่ย (ระนาดเอกหล่อด้วยทองเหลือง)
๓. คนสีซอสามสาย ๑๐. คนตีระนาดเหล็กมโหรี
๔. คนตีทับ (ระนาดทุ้มเหล็กหล่อด้วยเหล็ก)
๕. คนตีรำมะนา ๑๑. คนตีฆ้องวงใหญ่มโหรี
๖. คนดีดกระจับปี่ ๑๒. คนตีฆ้องวงเล็กมโหรี
๗. คนตีระนาดเอกมโหรี ๑๓. คนดีดจะเข้
๘. คนตีระนาดทุ้มมโหรี ๑๔. คนตีฉาบ
 
'''วงมโหรี ๑๒ คน (สมัยรัชกาลที่ ๕)'''
=== วงมโหรีเครื่องสี่ ===
สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวงมโหรีอีกครั้ง คือ คราวนี้ตัดเอาเครื่องดนตรีออกไปเสียสองชิ้นได้แก่ กระจับปี่ที่มีเสียงเบาไปไม่สามารถทานเสียงเครื่องดนตรีอื่น ๆ ได้
เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
และตัดฉาบออกเพื่อความไพเราะนุ่มนวลของเสียงในวง จึงมีรูปแบบวงดังนี้
* [[โทน]]
๑. คนขับร้องตีฉิ่ง
* [[ซอสามสาย]]
๒. คนเป่าขลุ่ย
* [[กระจับปี่]]
๓. คนสีซอสามสาย
* [[กรับพวง]] (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตี)
๔. คนตีทับ
๕. คนตีรำมะนา
๖. คนตีระนาดเอกมโหรี
๗. คนตีระนาดทุ้มมโหรี
๘. คนตีระนาดทองมโหรี (ระนาดเอกหล่อด้วยทองเหลือง)
๙. คนตีระนาดเหล็กมโหรี (ระนาดทุ้มเหล็กหล่อด้วยเหล็ก)
๑๐. คนตีฆ้องวงใหญ่มโหรี
๑๑. คนตีฆ้องวงเล็กมโหรี
๑๒. คนดีดจะเข้
อย่างไรก็ดีการเล่นมโหรีผู้หญิงมาเสื่อมโทรมลงในรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกชนใคร ๆ มีละครผู้หญิงได้
เอกชนจึงนิยมให้ผู้หญิงหัดละคร ไม่นิยมหัดให้เล่นมโหรีเหมือนแต่ก่อน สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า “เมื่อมโหรีผู้หญิงร่วงโรยลงครั้งนั้น ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสาย
อย่างจีน จึงคิดเอาซอด้วง ซออู้ จะเข้ กับปี่อ้อเข้าเล่นประสมกับเครื่องกลองแขก ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนาและขลุ่ยแทน เรียกว่ามโหรีเครื่องสาย บางวงก็เติมฆ้องวงและระนาดเข้าด้วย จึงเกิดมโหรีเครื่องสายผู้ชายเล่น แทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้”
วงมโหรีเครื่องสายดังที่กล่าวมานี้ ที่เรียกกันว่า “มโหรีเครื่องสาย” ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์กล่าวว่า คำคำนี้อาจนำเอาคำว่า “มโหรี” มาใช้ควบผิดที่ เพราะไม่ทราบที่มาและความหมายของคำว่า “มโหรี” ซึ่งน่าจะเรียกวงดนตรีวงนี้ว่า “วงเครื่องสาย” มากกว่า ดังเช่นที่เรียกทุกวันนี้ เพราะวงมโหรีและวงเครื่องสายมีลักษณะต่างกัน
 
'''วงมโหรีหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว'''
=== วงมโหรีเครื่องหก ===
เมื่อปี่ พ.ศ. ๒๔๖๙ เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเป็นสาเหตุให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดุลข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก โดยตัดออกเสียครึ่งหนึ่ง
ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ [[รำมะนา]]และ[[ขลุ่ยเพียงออ]]
ส่วนราชการใดที่ไม่สำคัญก็ทรงยุบเสีย ส่งผลมาถึงกรมมหรสพด้วย ทำให้ดนตรีไทยซบเซาไปพักหนึ่ง
อาจารย์บรรเลง (ศิลปบรรเลง) สาคริก และอาจารย์เลื่อน (สุนทรวาทิน) ผลาสินธุ์ได้เล่าว่า พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการจัดตั้งวงมโหรีหลวงขึ้น
เพราะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่านกราบบังคมทูลทรงทราบว่าตามราชประเพณีนั้น พระมหากษัตริย์เวลาที่พระองค์จะเสด็จดำเนินไป ณ ที่ใดก็ตาม จำเป็นต้องมีดนตรีประโคมตามราชประเพณี
เมื่อพระองค์ทรงทราบดังนั้นจึงให้เสนาบดีคือ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) รวบรวมนักดนตรีเข้ามาเป็นปี่พาทย์หลวงและมโหรีหลวง วงมโหรีหลวงนี้เป็นวงมโหรีหญิงและ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้เข้าถวายตัวเป็นข้าราชบริพารในองค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
ได้ขอให้ครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น คือ ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และ ท่านพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) รวบรวมนักดนตรีไทยที่มีความสามารถ
เพื่อเข้าเป็นมโหรีหลวง ดังนั้นครูทั้งสองจึงได้รวบรวมบุตรหลานที่เป็นนักดนตรีฝ่ายหญิงเข้าถวายตัวเป็นมโหรีหลวงหญิง จนได้ครบเป็นวงมโหรีหลวงดังนี้
๑. ระนาดเอก สะอิ้ง กาญจนผลิน
๒. ระนาดทุ้ม ละมุล คงศรีวิไล
๓. ฆ้องวงใหญ่ ฝรั่ง เพ็ญประพัฒน์
๔. ฆ้องวงเล็ก สุดา เขียววิจิตร
๕. ระนาดเอกเหล็ก สมใจ วรมิศร์
๖. ระนาดทุ้มเหล็ก น้อม คงศรีวิไล
๗. ซอสามสาย ฟื้น บุญมา
๘. จะเข้ ดารา นาวีเสถียร
๙. โทน บรรจง เสริมศิริ
๑๐. รำมะนา เฉลา วาทิน
๑๑. ขลุ่ย เลื่อน สุนทรวาทิน
๑๒. ฉิ่งและขับร้อง เจริญ สุนทรวาทิน
 
''' วงมโหรีที่เป็นมาตรฐานกรมศิลปากรในปัจจุบัน'''
=== วงมโหรีเครื่องเดี่ยว ===
วงมโหรีที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน เห็นได้ว่ารวมเอาเครื่องดีด สี ตี เป่า มาเข้าผสมวงแต่ย่อขนาดเครื่องตีบางอย่าง เช่น ระนาดและฆ้องวง ให้เล็กลง
เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระยะแรกเพิ่ม[[ระนาดเอก]]และ[[ฆ้องวงใหญ่]] ในระยะหลังได้เพิ่ม[[ซอด้วง]]และ[[ซออู้]] เปลี่ยนกระจับปี่เป็น[[จะเข้]]
เพื่อปรับเสียงของเครื่องตีให้กลมกลืนกันกับเครื่องดีด สี และเล่นรวมวงกันได้ทั้งชายหญิง วงมโหรีมาตรฐานกรมศิลปากรในปัจจุบันมี ๓ วง ดังนี้คือ
วงมโหรีเครื่องเดี่ยวหรือมโหรีเครื่องเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่และวงมโหรีเครื่องใหญ่
 
=== '''วงมโหรีเครื่องคู่เล็ก === หรือ มโหรีเครื่องเดี่ยว'''
วงมโหรีเครื่องเล็ก หรือ มโหรีเครื่องเดี่ยวมีเครื่องดนตรีดังนี้
เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่ม[[ระนาดทุ้ม]] [[ฆ้องวงเล็ก]] [[ขลุ่ยหลิบ]] [[ซอด้วง]] [[ซออู้]] [[จะเข้]] และ[[ซอสามสายหลิบ]]อย่างละหนึ่ง
๑. ซอสามสาย ๖. ระนาดเอกมโหรี
๒. ซอด้วง ๗. ฆ้องวงใหญ่มโหรี
๓. ซออู้ ๘. โทน
๔. จะเข้ ๙. รำมะนา
๕. ขลุ่ยเพียงออ ๑๐. ฉิ่ง
 
''' วงมโหรีเครื่องคู่'''
=== โอกาสที่ใช้ ===
วงมโหรีเครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. ซอสามสาย ๑๐. ขลุ่ยหลิบ
๒. ซอสามสายหลิบ ๑๑. ระนาดเอกมโหรี
๓. ซอด้วง ๑๒. ระนาดทุ้มมโหรี
๔. ซอด้วง ๑๓. ฆ้องวงใหญ่มโหรี
๕. ซออู้ ๑๔. ฆ้องวงเล็กมโหรี
๖. ซออู้ ๑๕. โทน
๗. จะเข้ ๑๖. รำมะนา
๘. จะเข้ ๑๗. ฉิ่ง
๙. ขลุ่ยเพียงออ ๑๘. ฉาบ
 
'''วงมโหรีเครื่องใหญ่'''
[[หมวดหมู่:วงดนตรีไทย]]
วงมโหรีเครื่องใหญ่มีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. ซอสามสาย ๑๒. ระนาดทุ้มมโหรี
๒. ซอสามสายหลิบ ๑๓. ฆ้องวงใหญ่มโหรี
๓. ซอด้วง ๑๔. ฆ้องวงเล็กมโหรี
๔. ซอด้วง ๑๕. ระนาดเอกเหล็กมโหรี
๕. ซออู้ ๑๖. ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี
๖. ซออู้ ๑๗. โทน
๗. จะเข้ ๑๘. รำมะนา
๘. จะเข้ ๑๙. ฉิ่ง
๙. ขลุ่ยเพียงออ ๒๐. ฉาบเล็ก
๑๐. ขลุ่ยหลิบ ๒๑. โหม่ง
๑๑. ระนาดเอกมโหรี
 
'''หลักการของวงมโหรี'''
[[en:Mahori]]
จะเห็นได้ว่า วงมโหรี แม้จะมีวิวัฒนาการทางศิลป์ โดยปรับปรุงทั้งเครื่องดนตรีและวิธีการบรรเลง เพื่อให้เกิดเสียงประสานกลมกลืนไพเราะมาโดยลำดับ
[[fi:Mohori]]
แต่เครื่องดนตรีชิ้นสำคัญของวงมโหรีที่ยังถือเป็นหลักอยู่ตลอดมา ก็คือซอสามสายและทับ กับหลักการสำคัญอันเป็นหัวใจของวงมโหรีอีกประการหนึ่ง ก็จะเห็นได้แก่การขับร้อง
ดังจะเห็นได้จากคำโคลงในหนังสือจินดามณีที่ว่า “นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ” และถ้า “(ม)โหรี” มีที่มาของคำและเป็นชื่อของเพลงขับร้องบรรยายถึงเรื่องงานนักขัตฤกษ์โหลี
ดังกล่าวมาข้างต้น สาระสำคัญของวงมโหรีก็น่าจะอยู่ที่ขับร้องด้วย โดยลักษณะมโหรีเป็นวงดนตรีประเภทบรรเลงขับกล่อม สำหรับฟังเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ มิใช่วงบรรเลงที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์โขนละคร ฟ้อนรำ เช่นปี่พาทย์ และมิใช่บรรเลงประกอบในงานพิธี ดังที่เรามี “บทขับร้อง” และ “ตำราเพลงมโหรี” เป็นบทร้องของโบราณเหลือเป็นพยานสืบมา
เช่น ที่หอสมุดแห่งชาติได้จัดพิมพ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เรียกว่า “บทประชุมมโหรี” และระบุไว้ใน “เพลงยาวตำรามโหรี” ว่า
''ข้าไหว้ครูซอขอคำนับ ขับ บรรสานสายสุหร่ายเรื่อง
มโหรีแรกเริ่มเฉลิมเมือง บอกเบื้องฉบับบุราณมา''
และใน “เพลงยาวไหว้ครูมโหรี” ก็ระบุถึงเป็นเค้าว่ามีการขับร้องเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งกล่าวว่า
''ยอกรกึ่งเกล้าบงกชเกศ ไหว้ไทเทเวศเป็นใหญ่
อันรอบรู้ครูครอบพิณไชย สถิตในฉ้อชั้นกามา
ทรงนามชื่อปัญจศีขร ได้สั่งสอนสานุศิษย์ในแหล่งหล้า
เป็นตำหรับรับร้องสืบมา ปรากฏเกียรติในแผ่นดินดอน
ข้าขอชลีกรรมคำนับ พระคนธรรพด้วยใจสโมสร
จะดีดสีขับร้องทำนองกลอน จงศรีสถาพรทุกประการ ฯ''
หรือที่กล่าวถึงไว้ในพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนา (เล่ม ๒ หน้า ๓๑๑) ก็ระบุถึงซอสามสาย
และขับร้องเพลงมโหรีเป็นหลัก ว่า
''จึงขึ้นหย่องลองซอประสานเสียง สำเนียงนิ้วหนักชักคันสี
ร้องรับขับเพลงมโหรี ท่วงทีเป็นทำนองโอดพัน''
จะสังเกตได้ว่าวงมโหรีตั้งแต่ชั้นต้นมาจนถึงวงมโหรีชั้นหลังสุดนี้รูปแบบและแบบแผนได้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและความนิยมของบุคคลในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการขับกล่อมมโหรีก็คือการขับร้องดังที่มีตัวอย่างมาแล้วข้างต้นว่าทุกวงล้วนมีคนขับร้องด้วยเสมอ หากท่านใดสนใจในด้านเพลงขับร้องของมโหรี ผู้เขียนรายงานขอแนะนำให้ท่านผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเรื่อง “บทประชุมมโหรี” ต่อไป