ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปอยส่างลอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ru:Пойсанглонг
บรรทัด 73:
พระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธีบรรพชาและอุปสมบท ซึ่งเมื่อให้คำสอนแก่ส่างลองและส่างลองได้เป็นสมาเณร ประเพณีและพิธีกรรมการบวชส่างลองก็ยุติเสร็จสิ้น พระอุปัชฌายะผู้ประกอบพิธีพึงสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทดังนี้
“บัดนี้ตัวเจ้ามาขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาควรปลูกศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้ตั้งศาสนา และทรงอนุญาตการบรรพชาอุปสมบทอันนี้เบื้องต้นที่จะปลูกศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสนั้น ต้องศึกษาให้รู้จักพระพุทธเจ้าว่ามีคุณความดีอย่างไร เสียก่อนฯ
เดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
 
พระพุทธเจ้านั้นมีคุณความดี คือมีพระปัญญาปรีชาฉลาด รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นทั้งคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ตลอดถึงอริยสัจจ์ ๔ ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน ส่วนนี้พระปัญญาคุณ ทรงละสิ่งที่เป็นโทษ คืออาสวกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้หมด กับทั้งวาสนา คือกิริยา กาย วาลาที่กิเลสอบรมมานาน ทรงบริบูรณ์ด้วยความดีที่เป็นคุณธรรมโดยอเนกประการ ส่วนนี้เป็นพระบริสุทธิคุณ มีพระบวรสันดานที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ในหมู่สัตว์ซึ่งเร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลสและกองทุกข์ ทรงแสดงธรรมสั่งสอนให้สัตว์ได้ฟังแล้วปฏิบัติตาม ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์เสียได้ มิได้ทรงเห็นแก่ความลำบากทุกข์ยากเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ส่วนนี้พระกรุณาธิคุณ ฯ
เส้น 86 ⟶ 87:
ต่อไปจงตั้งใจเรียนพระกรรมมัฏฐาน ตามแบบโบราณาจารย์แต่ปางก่อนที่ได้สอนกันสืบ ๆ มาเป็นอุบาย สำหรับจะทำสมาธิให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นที่ตั้งของปัญญาต่อไป จงศึกษาไปตามแบบบาลีดังนี้ก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ นี้เรียก่าอนุโลมคือว่าไปตามลำดับแล้วถอยกลับเข้ามาเป็นปฏิโลม ว่า ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ฯ จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกสา คือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ งอกขึ้นศีรษะเบื้องหน้าเพียงหน้าผาก เบื้องท้ายเพียงปลายคอต่อ เบื้องขวามีหมวกหูทั้งสองข้างเป็นที่สุดได้แก่ผม ฯ โลมาคือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ ยกเกสาเสีย งอกขึ้นทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้แก่ ขน ฯ นขา คือสิ่งที่เป็นเกล็ดเกล็ด งอกขึ้นตามปลายมือปลายเท้าครบทุกแห่ง ได้แก่เล็ก ฯ ทันตา คือกระดูกที่เป็นซีก ๆ งอกขึ้นที่คางเบื้องล่างเบื้องบน สำหรับบดเคี้ยวอาหาร ได้แก่ฟัน ฯ ตะโจ คือสิ่งที่หุ้มอยู่ทั่วตัวได้แก่หนัง ฯ เมื่อรู้จักสิ่งที่ ๕ อย่างนี้แล้ว พิจารณาอย่างไร จึงจะเป้นพระกัมมัฏฐาน ถ้าพิจารณาว่า เป็นของดีของงามน่ารักใคร่พึงใจ ก็ไม่เป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้น
เป็นเหตุที่จะทำความกำหนัดยินดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่จะยั่วยวนกิเลสเช่นนั้นก็เกิดขึ้นแล้วแก่กล้ามากขึ้นต่อเมื่อพิจารณาว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม ไม่น่ารักใคร่พึงใจเป็นของโสโครก ปฏกูลตามที่เป็จริงอย่างไรนั่นแหละเป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้นเป็นเหตุที่จะห้ามความกำหนัดยินดี ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เป็อุบายที่จะปราบปราบกิเลสเช่นนั้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้สงบน้อยถอยเบาบางลงไปจากสันดานทั้งจะเป็นปทัฏฐานเหตุที่ตั้งให้เกิดปัญญาความรู้จริงเห็นจริงว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กับร่างกายชีวิตจิตใจอันนี้ ก็เป็นแต่สักว่าธาตุอันหนึ่งๆมาประชุมรวมเข้ากัน ล้วนเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนคงที่อยู่เสมอเป็นทุกข์มีความเสื่อมสิ้น พิบัติแปรปรวนไปตามธรรมดาและเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด มิใช่ตัวตนมิใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนแก่นสารคนเรา เมื่อปัญญาความรู้จริงเห็นเกิดขึ้นแล้ว ก็จะละวางอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ เมื่ออุปทานไม่มีแล้วจิตก็พ้นจากอาสวะกิเลส เป็นอันได้บรรลุถึงธรรมพิเศษ คือนฤพาน ซึ่งเป็นธรรมชาติดับกกิเลสและกองทุกข์ อันเป็นผลที่สุดในพระธรรมะวินัย เหตุฉะนั้น(ตัวเจ้า)จงตั้งใจมุ่งต่อพระนฤพานดังเช่นว่าขอบรรพชาอุปสมบทต่อไปฯ<ref>นายทวี ดวงฟู (ปู่ละ)</ref>
 
 
 
== อ้างอิง ==