ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิประทับใจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PixelBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: zh-min-nan:Ìn-siōng-phài
Beum (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขภาษาฝรั่งเศสให้ถูกต้อง
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Camille Pissarro 002.jpg|thumb|]]
 
'''ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์''' หรือ '''ลัทธิประทับใจ''' ({{lang-en|Impressionism}}) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของ[[โกลด มอแน]]ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชันนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม
 
== ลักษณะ ==
บรรทัด 12:
 
== ประวัติ ==
ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือ[[จักรพรรดินโปเลียน]]ที่สามทรงบูรณะ[[กรุงปารีส]]และทำสงคราม [[สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส|สถาบันวิจิตรศิลป์]] (AcademieAcadémie des Beaux–Arts) มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน จึงกล่าวได้ว่า สถาบันได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) สถาบันยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบ ๆ ตามแบบเก่า ๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี สถาบันยังสนับสนุนให้เหล่าจิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้องแยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง
 
[[ไฟล์:Manet.dejeuner-sur-herbe.jpg|thumb|“การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า”]]
ในปี ค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” ("Le dejeunerdéjeuner sur l’herbe") โดย[[เอดัวร์ มาแน]] เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้าง ๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาด ๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม
 
[[เอดัวร์ มาแน]] (ไม่ใช่มอแน) อับอายยิ่งนักกับการที่พวกกรรมการปฏิเสธโดยใช้คำพูดแบบเจ็บแสบ ซึ่งทำให้บรรดาศิลปินฝรั่งเศสทั้งหลายเริ่มแสดงความไม่พอใจกันมาก ถึงแม้มาแนจะไม่ถือว่าตัวเองเป็นพวกอิมเพรสชันนิสม์ เขาก็เป็นคนเปิดอภิปรายใน ร้านกาแฟ Guerbois ที่ซึ่งพวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ มารวมตัวกันและมีอิทธิพลต่อการค้นหารูปแบบใหม่ของกลุ่ม ๆ นั้น
 
ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเองและงานแสดงภาพ Salon des Refuesrefusés (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) ก็ถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ (ถึงแม้จะไม่รู้จักว่าชื่ออะไรกันบ้าง) ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy (นักแกะสลัก จิตรกร และนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง) ได้เขียนบทวิจารณ์แบบเจ็บ ๆ แสบ ๆ ลงในหนังสือพิมพ์ Charivari โดยเน้นการโจมตีไปที่ภาพวาดโดยจิตรกรโนเนมในขณะนั้นที่เขาตั้งชื่อในบทความว่า “การแสดงภาพวาดของจิตรกร Impressionism” เลอโรย์ประกาศว่าภาพวาดที่ชื่อว่า Impression, Sunrise ของมอแนอย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวก ๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย
 
ถึงแม้คำว่าอิมเพรสชันนิสม์ เป็นคำเสียดสีของนักเขียนท่านนี้ แต่พวกศิลปินกลับชื่นชอบมันและเห็นว่าเป็นคำเรียกแบบให้เกียรติกัน ถึงแม้รูปแบบและมาตรฐานของแต่ละคนจะแตกต่างแปรเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ ร้อยรัดพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นขบถและความเป็นตัวของตัวเองถึงแม้ในอดีต การวาดภาพจะถูกมองอยู่เสมอว่านำเสนอสิ่งต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์และทางศาสนาในลักษณะที่เป็นทางการ แต่ความจริงศิลปินหลายท่านก็วาดภาพถึงสิ่งที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน จิตรกรชาวDutchในศวรรษที่ 19 อย่างเช่น[[ยาน สตีน]]มุ่งเน้นไปที่วัตถุธรรมดา แต่ว่างานของพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่า ๆ ในการจัดวางฉาก เมื่อศิลปะแนว อิมเพรสชันนิสม์ เกิดขึ้น พวกศิลปินก็สนใจในการวาดภาพต่อสิ่งธรรมดาดาด ๆ และนิยมการเก็บภาพด้วยวิธีใหม่
 
ในช่วงนั้น[[ภาพถ่าย]]ก็กำลังเป็นที่นิยมและกล้องถ่ายรูปก็พกพาได้ง่ายขึ้น ส่วนภาพถ่ายก็ให้ความสมจริงขึ้นเรื่อย ๆ ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ JaponismJaponisme (เป็นอย่างไรโปรดอ่านต่อข้างล่าง) ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ภาพวาดของ[[แอดการ์ เดอกา]] ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อนและด้านล่างขวามือเป็นภาพของพื้นว่างเปล่า