ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮนรี อาลาบาศเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา-รูป
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
==ชีวืตและงานในประเทศสยาม==
===ก่อนเข้ารับราชการ===
'''นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์'''เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2399]] ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในฐานะนักเรียนล่ามเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อกลับไปรับราชการที่ประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองกงศุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองกงศุลฯ นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ผู้ทำหน้าที่รั้งตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำกรุงสยาม ยังได้เป็นหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ดาราศาสตร์ของพระราชินีนาถแห่ง ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คณะของผู้รั้งตำแหน่งกงสุลอเมริกันประจำกรุงสยาม ตลอดจนชาวยุโรปและอเมริกันที่พำนักอยู่ในประเทศ โดยพระบรมราชานุญาตเข้าร่วมสังเกตการณ์[[สุริยุปราคา]]ที่[[บ้านหว้ากอ]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]เมื่อวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2411]] อีกด้วย แต่ภายหลังเมื่อทำงานในตำแหน่งรองกงศุลไปได้ระยะหนึ่งก็ได้เกิดความขัดแย้งกับกงศุลน็อกซ์ จึงได้ลาออกจากตำแหน่งกลับประเทศอังกฤษ
 
แต่หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสรอบ[[แหลมมลายู]] [[ชวา]] และ[[อินเดีย]] เมื่อ [[พ.ศ. 2416]] แล้ว ได้ทรงนำนายเฮนรี อลาบาสเตอร์ กลับเข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทรงโปรดเกล้าให้ทำราชการหลายหน้าที่ รวมทั้งหัวหน้าล่าม ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ รวมทั้งเจ้ากรมพิพิธภัณฑ์สถานและสวนสราญรมย์และข้าหลวงผู้จัดการงานสร้างถนนและสะพาน
 
===การรับราชการ===
ในฐานะราชเลขาธิการส่วนพระองค์ และเป็นผู้มีความสนใจและมีความรู้ด้านต้นไม้ นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ จึงได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง[[สวนสราญรมย์]] ขึ้นในบริเวณ[[วังสราญรมย์]]ที่สร้างค้างไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2409 ในรัชสมัยรัชกาลที่4 ให้เป็น[[สวนพฤกษศาสตร์]] เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ โดยนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์เองเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้างสวนด้วยตนเองเมื่อ พ.ศ. 2417 และยังเป็นผู้สั่งกล้วยไม้รวมทั้งแคทรียามาแสดงในสวนอีกด้วย
 
นอกจากนี้ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ได้ถวายคำแนะนำในการพัฒนาประเทศด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชา[[การสำรวจรังวัด]][[วิชาการทำแผนที่]]และวิชาการทำถนนซึ่งมีความจำเป็นมากในสมัยนั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้นใน พ.ศ. 2418 โดยมีนายเฮนรี อลาบาสเตอร์เป็นหัวหน้ากอง กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วย พร้อมกับคนไทย 4 คน (ม.ร.ว. แดง เทวาธิราช นายทัด ศิริสัมพันธ์ นายสุด และ ม.ร.ว. เฉลิม) โดยเริ่มด้วยการสำรวจทำแผนที่กรุงเทพฯ เพื่อตัด[[ถนนเจริญกรุง]]และถนนอื่นๆ รวมทั้งงานทำแผนที่เพื่อวางสาย[[โทรเลข]]ไปยัง[[พระตะบอง]] แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม เพื่อการเดินเรือและเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่อาจมาทางทะเล ต่อมา นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในงานแผนที่จึงได้ถวายคำแนะนำให้ว่าจ้างช่างสำรวจรังวัดและทำแผนที่โดยตรงคือ นาย[[เจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี]] ผู้ช่วยช่างทำแผนที่จาก กรมแผนที่แห่ง[[อินเดีย]] เข้ามารับราชการในกองทำแผนที่ตั้งแต่[[วันที่ 1 ตุลาคม]][[ พ.ศ. 2424]] (ขยายเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428)
 
 
ผลงานสำคัญของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์พอสรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
เส้น 18 ⟶ 21:
* พ.ศ. 2424 ถวายคำแนะนำให้จ้างนายเจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธีมาดูแลกองทำแผนที่
* พ.ศ. 2426 ก่อตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข
 
 
==ชีวิตบั้นปลาย==