ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอศาสตราคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''หอพระปริตร''' หรือ '''หอศาสตราคม''' ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ[[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] ตรงข้ามกับ[[พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์]] [[รัชกาลที่ 1]] โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเห็นพระที่นั่งโถง ลักษณะเดียวกับพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ [[รัชกาลที่ 4]] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้รื้อพระที่นั่งองค์เดิมแล้วสร้างหอศาสตราคม เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกาย ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์สัตปริตรคาถาเสกน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับสรงพระพักต์ และ น้ำสรง ตลอดทั่งประพรมรอบพระมหามณเฑียร ในอดีตเมื่อมีการศึกสงครามได้ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหารในการรบ ด้วยเหตุนี้จึงเขียนลายเครื่องอาวุธโบราณ ไว้ที่บานประตูหน้าต่างทุกบาน
 
[[รัชกาลที่ 4]] [[รัชกาลที่ 5]] [[รัชกาลที่ 6]] และ[[รัชกาลที่ 7]] มีการสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง และนิมนต์พระสงฆ์เข้าประพรมน้ำพระพุืธมนต์รอบพระมหามณเฑียรทุกวัน ปัจจุบันนิมนต์พระสงฆ์สวดทำน้ำพระพุทธมนต์ และประพรมรอบพระมหามณเฑียรเฉพาะ[[วันธรรมสวนะ]]เท่านั้น ส่วนการถวายน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรง ยังคงถวายทุกวัน ตามโบราณราชประเพณี และเนื่องในโอกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ]] 5 ธันวาคม พ.ศ.2530]],[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ]] 5 ธันวาคม พ.ศ.2542]],[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550]] และ [[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554]] หอศาสตราคมแห่งนี้ ใช้ในการประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ และเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะนำไปประกอบรัฐพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสดังกล่าว
 
ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นเดียว ยกพื้นสูง 1 เมตร 50 เซนติเมตร มีบันไดทางขึ้นทางด้านทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับ[[ช่อฟ้า]] [[ใบระกา]] [[หางหงส์]] ลงรักประดับกระจก หน้าบันเป็นไม้จำหลักลายปิดทอง รูปเทวดาประทับยืนบนแท่น หัตถ์ขวาทรงตรี หัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ มีลายกระหนกก้านขดเทพนม เป็นลายประกอบบนพื้นกระจกสี พระทวารมีซุ้มเรือนแก้วลายดอกเบญจมาศ ตัวบานเขียนลายน้ำทอง เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องประกอบพระบรมราชาอิสริยยศ พระแสงอัษฎาวุธ และพระแสงราชศาสตราวุธ ภายในแบ่งเป็น 2 ห้อง ห้องทางดานทิศเหนือ เป็นห้องสำหรับทำพิธีสวดพระพุทธมนต์ มีพระประธานองค์ใหญ่ที่มีโครงสร้างภายในสานด้วยไม้ไผ่ ห้องด้านทิศใต้เป็นห้องเก็บเครื่องเกี่ยวกับพิธี