ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนเมียวสีหบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: my:နေမျိုးသီဟပတေ့, vi:Ne Myo Thihapate
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เนเมียวสีหบดี''' เป็นแม่ทัพใน[[ราชวงศ์คองบอง]]ของพม่า เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้พิชิต[[อาณาจักรอยุธยา]] ร่วมกับ[[มังมหานรธา]] เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2310<ref name=geh-250>{{cite book | author=GE Harvey | title=History of Burma | pages=250–254 | publisher=Frank Cass & Co. Ltd. | year=1925 | location=London}}</ref>
 
== ราชการทหาร ==
เขาเริ่มต้นอาชีพทหารโดยเป็นหนึ่งในหกสิบผู้บัญชาการชั้นยอด โดยได้รับเลือกจาก[[พระเจ้าอลองพญา]]ในปี พ.ศ. 2295 ได้กลายมาเป็นหนึ่งใน "ทหารที่โดดเด่นที่สุด"<ref name=rlf-98>{{cite book | title=The River of Lost Footsteps--Histories of Burma | author=[[Thant Myint-U]] | year=2006 | publisher=Farrar, Straus and Giroux | isbn=978-0-374-16342-6, 0-374-16342-1 | pages=98–99}}</ref> ระหว่างการทัพรวมชาติของพระเจ้าอลองพญา (พ.ศ. 2295-2300)
 
=== ลาวและอยุธยา (2308-2310) ===
{{บทความหลัก|การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง}}
ในปี พ.ศ. 2307 [[พระเจ้ามังระ]]ตัดสินพระทัยริเริ่มการสงครามกับอาณาจักรอยุธยาใหม่อีกครั้ง พระองค์ได้ืรงเลือกเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นผู้บัญชาการร่วมในการรุกรานคราวนี้ เนเมียวสีหบดีนำเส้นทางรุกรานทางเหนือโดยมีกำลังพล 20,000 นาย เริ่มต้นจากรัฐลาว ราชอาณาจักรเวียงจันทน์ตกลงยินยอมจะเป็นเมืองขึ้นของพม่าโดยไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น หลวงพระบางขัดขืนแต่ทัพเนเมียวสีหบดีสามารถยึดเมืองได้อย่างง่ายดายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2308 ทำให้พม่ามีอำนาจควบคุมอย่างสมบูรณ์ตามชายแดนทิศเหนือของอาณาจักรอยุธยาทั้งหมด<ref name=rlf-98/>
 
เนเมียวสีหบดีเคลื่อนทัพลงมาตามหุบเขาเจ้าพระยา มุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา กองทัพของเขามาถึงชานกรุงเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2309 ไปบรรจบกับทัพของมังมหานรธา<ref name=app-188>{{cite book | title=History of Burma | author=Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre | year=1883 | pages=188–190 | edition=1967 | publisher=Susil Gupta | location=London}}</ref> ฝ่ายพม่าเริ่มต้นการล้อมนาน 14 เดือน ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 มังมหานรธาเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ และเนเมียวสีหบดีกลายมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของปฏิบัติการทั้งหมด ทัพของเขาเจาะผ่านการป้องกันนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 และปล้นสะดมนคร<ref name=rlf-98/>
 
ดินแดนที่พม่าได้นั้นไม่คงอยู่นานเมื่อพระเจ้ามังระทรงมีบัญชาให้ทหารพม่าส่วนใหญ่กลับประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2310 เพื่อรับมือกับการรุกรานของจีนซึ่งคุกคามพระนครอังวะ<ref name=rlf-98/><ref name=app-188/> ส่วนคนไทยนั้นยึดเอาดินแดนของตนกลับคืนภายในปี พ.ศ. 2312
=== เชียงใหม่ (2316) ===
ต้นปี พ.ศ. 2316 เนเมียวสีหบดีประจำอยู่ที่เชียงใหม่พร้อมกับกองทัพขนาดใหญ่พอสมควร พระเจ้ามังระทรงต้องการให้เริ่มสงครามกับไทยอีกแต่ยังเกรงภัยคุกคามจากจีนทางเหนือ โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2312 สงครามพม่าและจีนสิ้นสุดลงด้วยการพักรบซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่พอใจนัก จีนยังคงทหารจำนวนมากไว้ที่ชายแดนเพื่อเตรียมทำศึกอีกครั้ง ขณะที่เชียงใหม่ เนเมียวสีหบดีเข้าไปพัวพันกับการเมืองท้องถิ่น ข้าหลวงพม่าคนใหม่ที่[[แคว้นล้านนา]]กระทำทารุณต่อขุนนางท้องถิ่นจำนวนมาก เนเมียวสีบดีแท้จริงแล้วอยู่ข้างเจ้าท้องถิ่น<ref>Phayare, p. 205</ref> พระเจ้ามังระทรงตัดสินพระทัยขั้นสุดท้ายในการโจมตีไทยอีกหนหนึ่ง เนเมียวสีหบดีถูกเรียกตัวกลับ
 
=== ธนบุรี (2318-2319) ===
ปรากฎว่าขุนนางท้องถิ่นเปลี่ยนไปเข้ากับฝ่ายธนบุรี และขับไล่ข้าหลวงพม่าออกจากเชียงใหม่ด้วยความช่วยเหลือของธนบุรีในปี พ.ศ. 2317 พระเจ้ามังระ ขณะยังทรงพระประชวรอย่างหนักซึ่งกำลังจะพรากเอาชีวิตของพระองค์ไปนั้น ทรงตอบสนองโดยบัญชาให้รุกราน เนเมียวสีหบดีได้บัญชาการกองทัพด้านเหนืออีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การบัญชาการของแม่ทัพ[[อะแซวุ่นกี้]] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2318 เนเมียวสีหบดียกกองทัพซึ่งตั้งอยู่ที่[[เชียงแสน]]ลงมายังเชียงใหม่ กองทัพของเขาสามารถยึดเชียงใหม่ได้แต่ก็ต้องเผชิญกับการต้านทานอย่างหนักของไทย<ref>{{cite book | title=Siam: The History of the Thais: From 1569 A.D. to 1824 A.D. | author=Ronald Bishop Smith | year=1966 | publisher=Decatur Press | volume=2}}</ref> เขายกกองทัพกลับไปเชียงแสนอีกครั้งหลังอะแซวุ่นกี้สั่งยกเลิกการรุกรานหลังพระเจ้ามังระสวรรคตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2319 ฝ่ายพม่า
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
{{โครงบุคคล}}
 
[[en:Ne Myo Thihapate]]