ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนเมียวสีหบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ในปี พ.ศ. 2307 [[พระเจ้ามังระ]]ตัดสินพระทัยริเริ่มการสงครามกับอาณาจักรอยุธยาใหม่อีกครั้ง พระองค์ได้ืรงเลือกเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นผู้บัญชาการร่วมในการรุกรานคราวนี้ เนเมียวสีหบดีนำเส้นทางรุกรานทางเหนือโดยมีกำลังพล 20,000 นาย เริ่มต้นจากรัฐลาว ราชอาณาจักรเวียงจันทน์ตกลงยินยอมจะเป็นเมืองขึ้นของพม่าโดยไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น หลวงพระบางขัดขืนแต่ทัพเนเมียวสีหบดีสามารถยึดเมืองได้อย่างง่ายดายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2308 ทำให้พม่ามีอำนาจควบคุมอย่างสมบูรณ์ตามชายแดนทิศเหนือของอาณาจักรอยุธยาทั้งหมด
 
เนเมียวสีหบดีเคลื่อนทัพลงมาตามหุบเขาเจ้าพระยา มุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา กองทัพของเขามาถึงชานกรุงเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2309 ไปบรรจบกับทัพของมังมหานรธา ฝ่ายพม่าเริ่มต้นการล้อมนาน 14 เดือน ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 มังมหานรธาเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ และเนเมียวสีหบดีกลายมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของปฏิบัติการทั้งหมด ทัพของเขาเจาะผ่านการป้องกันนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 และปล้นสะดมเมืองนคร
 
ดินแดนที่พม่าได้นั้นไม่คงอยู่นานเมื่อพระเจ้ามังระทรงมีบัญชาให้ทหารพม่าส่วนใหญ่กลับประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2310 เพื่อรับมือกับการรุกรานของจีนซึ่งคุกคามพระนครอังวะ ส่วนคนไทยนั้นยึดเอาดินแดนของตนกลับคืนภายในปี พ.ศ. 2312
== เชียงใหม่ (2316) ===
ต้นปี พ.ศ. 2316 เนเมียวสีหบดีประจำอยู่ที่เชียงใหม่พร้อมกับกองทัพขนาดใหญ่พอสมควร พระเจ้ามังระทรงต้องการให้เริ่มสงครามกับไทยอีกแต่ยังเกรงภัยคุกคามจากจีนทางเหนือ โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2312 สงครามพม่าและจีนสิ้นสุดลงด้วยการพักรบซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่พอใจนัก จีนยังคงทหารจำนวนมากไว้ที่ชายแดนเพื่อเตรียมทำศึกอีกครั้ง ขณะที่เชียงใหม่ เนเมียวสีหบดีเข้าไปพัวพันกับการเมืองท้องถิ่น ข้าหลวงพม่าคนใหม่ที่[[แคว้นล้านนา]]กระทำทารุณต่อขุนนางท้องถิ่นจำนวนมาก เนเมียวสีบดีแท้จริงแล้วอยู่ข้างเจ้าท้องถิ่น พระเจ้ามังระทรงตัดสินพระทัยขั้นสุดท้ายในการโจมตีไทยอีกหนหนึ่ง เนเมียวสีหบดีถูกเรียกตัวกลับ
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]