ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิซ่งเหรินจง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CocuBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.1) (โรบอต เพิ่ม: no:Keiser Renzong av Song
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ชื่ออื่น|||จักรพรรดิเหยินรินจง}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สี =
บรรทัด 23:
}}
 
'''สมเด็จพระจักรพรรดิเหยินรินจง''' ({{zh-all|c=仁宗|p=Rénzōng}}) เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 4 แห่ง[[ราชวงศ์ซ่งเหนือ]]ของ[[ประเทศจีน|จีน]] ประสูติเมื่อวันที่ [[30 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 1553]] โดยทรงเป็นโอรสของ[[จักรพรรดิเจินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง|สมเด็จพระจักรพรรดิเจินจง]] เสวยราชย์เมื่อวันที่ [[24 มีนาคม]] [[พ.ศ. 1565]] และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ [[30 เมษายน]] [[พ.ศ. 1606]] สิริพระชนม์ห้าสิบสามพรรษา และเสวยราชย์ได้สี่สิบเอ็ดปี
 
พระนามแต่ประสูติว่า "เจ้าโช้วอี้" ({{zh-all|c=趙受益|p=Zhào Shòu Yì}}) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานใหม่เป็น "เจ้าเจิน" ({{zh-all|c=趙禎|p=Zhào Zhēn}}) ชื่อ "เจ้า" ({{zh-all|c=趙|p=Zhào}}) นั้นเป็นชื่อพระสกุล ส่วนพระนามที่ทรงได้รับการเฉลิมเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิที่เทียนฟ่าเต้าจี่กงฉวนเต๋อเชินเวินเชิ้งหวู่รุ้ยเจ๋อหมิงเสี้ยว" ({{zh-all|c=體天法道極功全德神文聖武睿哲明孝|p=Tǐ Tiān Fǎ Dào Jí Gōng Quán Dé Shén Wén Shèng Wǔ Ruì Zhé Míng Xiào}})
บรรทัด 29:
ถึงแม้สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจะทรงราชย์เป็นเวลากว่าสี่สิบปี แต่ก็ไม่ทรงเป็นที่รู้จักมากนัก นอกจากนี้ ถึงแม้รัชกาลนี้จะเป็นช่วงที่จีนมีอิทธิพล อำนาจ และความมั่นคงยอดเยี่ยม แต่ก็เป็นช่วงที่บรรดา[[ประเทศราช]]เริ่มเอาใจออกห่างซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของราชวงศ์นี้ในอีกร้อยกว่าปีข้างหน้า ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากนโยบายด้านการต่างประเทศของรัชกาลก่อนหน้าที่เป็นไปในทาง[[สันตินิยม]]ค่อนข้างมาก ทำให้ด้านการทหารด้อยคุณภาพลงตามลำดับ และ[[ราชวงศ์เซี่ย|ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก]]ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชหนึ่งได้ฉกฉวยโอกาสนี้รุกรานชายแดนจีนเป็นระยะ ๆ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเสวยราชย์จึงมีพระราชกฤษฎีกาให้ปรับปรุงด้านการทหารขนานใหญ่ และรัฐบาลจีนยังได้ใช้เงินจำนวนมหาศาลผูกมิตรกับ[[ราชวงศ์เหลียว]] เจ้าประเทศราชอีกหนึ่งเจ้าซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อราชวงศ์เซี่ยตะวันตก เพื่อประกันความมั่นคงของจักรวรรดิ<ref>Zhenoao Xu, W. Pankenier, Yaotiao Jiang, David W. Pankenier. (2000). ''East-Asian Archaeoastronomy: Historical Records of Astronomical Observations of China, Japan and Korea.'' n.p. : CRC Press. ISBN 90-5699-302-X.</ref> นโยบายดังกล่าวของรัฐบาลจีนมีค่าใช้จ่ายมากมาย ยังให้เกิดการขึ้นภาษีอย่างสูงลิ่ว กลายเป็นยุคที่เรียกว่า "ข้าวยากหมากแพง" อย่างแท้จริง โดยเฉพาะชนชั้นล่างนั้นต้องอดอยากปากแห้งตลอดปีตลอดชาติ อนึ่ง ยังส่งผลให้เกิดการต่อต้านรัฐบาลเป็นระยะ ๆ และรัฐบาลเองก็มีสภาพเหมือนคนป่วยหนักในกาลต่อมาด้วย
==คดีต่างๆ==
ขุนนางที่โดดเด่นในรัชกาลนี้ เป็นต้นว่า '''[[เปาบุ้นจิ้น]]''' ข้าราชการพลเรือนผู้รักและดำรงความบริสุทธ์ยุติธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าและสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมได้สะสางคดีต่างๆ มีหลายคดีมากมายเช่น คดีราชบุตรเขย[[เฉินซื่อเหม่ย]] เปาบุ้นจิ้นได้สะสางตามความจริง และคดีหนึ่งที่ฮ่องเต้เกือบทำให้แผ่นดินซ่งถึงกาลอวสานคือ [[ถังไท่ซือ]] ราชครูในราชวงศ์[[ซ่ง]] เป็นคนมักใหญ่ไฝ่สูง และมีความแค้นต่อ[[ตระกูลหยาง]]มากที่ทำให้ลูกชายที่ก่อความผิดต้องถูก[[ประหารชีวิต]]และแค้น[[เปาบุ้นจิ้น]]ที่ขัด[[ราชโองการ]]ประหารชีวิตลูกชายตน ต่อมาจักรพรรดิ[[ซ่งเหยินรินจง]]ได้ถูกองค์หญิง [[เหว้ยชิงเยี่ยน]]เพราะตอนพระองค์เป็น[[รัชทายาท]] เคยไปจับต้องตัวนางไว้ ต่อมานางยอมปล่อยพระองค์แล้วก็กลับมาจัดการกับ[[ถังหง]][[ประหารชีวิต]][[ราชครูถัง]] ต่อมาคือคดีที่ 2 ใน[[ขุนศึกตระกูลหยางภาคเปาบุ้นจิ้น]]ภาค 2 ได้ส่ง[[อ๋องเซียนหยาง]]กลับมาบริหารราชการแทน[[ราชครู]]ที่ถูก[[ประหารชีวิต]]ต่อมาไม่นานความลับที่คิดก่อกบฎก็แตก และได้หนีไปเขต[[ยิวโจว ]] ต่อมา[[หยางจงเป่า]]ก็ไปชิง[[ธงไข่มุก]]ที่เมือง[[ซีเซี่ย]] และเจอตัวเขา แต่น่าเสียดาย [[อ๋องเซียนหยาง]]ได้กินยาพิษฆ่าตัวตายไปแล้ว และในขณะนั้น กษัตริย์ซีเซี่ยก็ได้หนีออกจากวังเพราะ ถูกประชาชนโค่นบัลลังก์ และได้หนีไปกับคนรักและไปที่[[ภูเขาหิมะ]]และตายกับคนรักเพราะถูกหิมะตกจนหนาวตาย ต่อมาน้องสาวก็ขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นกษัตริย์ซีเซี่ยองค์ต่อไป แล้วน้องสาวมีความสัมพันธ์กับ[[ตี้ชิง]][[องค์ชายสันติสุข]] ต่อมา[[หยางจงเป่า]] [[ตี้ชิง]] [[มู่กุ้ยอิง]]ได้เดินทางกลับมายังเมืองซ่งแต่[[หยางจงเป่า]]ได้เผา[[ธงไข่มุกไฟโลกันต์]]เพราะถ้าเกิดมอบธงไข่มุกให้[[จักรพรรดิซ่งเหยินรินจง]]จะทำให้แผ่นดินวุ่นวายแต่ฮ่องเต้ดันรู้คำสั่งลับบน[[ธงไข่มุกไฟโลกันต์]] จึงทำให้มีขุนนางผู้ซื่อสัตย์ 3 คนที่ต้องถูก[[ประหารชีวิต]] เช่น [[เปาบุ้นจิ้น ]] [[ตี้ชิง]] [[หยางจงเป่า]] ต่อมา[[อำมาตย์หวัง]]ได้นำ[[ราชโองการ]]มาที่[[หอเทียนปอ]]แต่คราวนี้[[เสอไช่ฮัว]]ทนไม่ได้ที่ถูกฮ่องเต้กดขี่ จึงได้สั่งให้[[มู่กุ้ยอิง]]บุกไป[[ลานประหาร]]เพื่อช่วย[[ตี้ชิง]] [[หยางจงเป่า]] [[เปาบุ้นจิ้น]] และต่อมา[[เสอไช่ฮัว]]ได้บุกเข้ามาในวัง แล้วกล่าวยกตัวอย่าง [[จักรพรรดิซ่งไท่จู]]และกล่าวถึงคุณความดีที่ท่านทำกับราชวงศ์[[ซ่ง]]และเดินทางกลับ ต่อจากนั้นมา [[ขุนศึกตระกูลหยาง]]ได้เดินทางไปจาก[[หอเทียนปอ]]ไปเก็บตัวอยู่ที่เขา[[ไท่หัง]]และเมื่อมีสงคราม ก็ได้ออกมาจากเขามาทำศึกต่อไป ส่วน[[ตี้ชิง]]ได้กลับไปยัง[[ซีเซี่ย]]ไปหาประมุขที่เป็นน้องสาวของอดีตกษัตริย์ซีเซี่ยที่เป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน แล้วอยู่เสวยสุขกันตลอดไป ต่อมา[[ตี้ชิง]]ได้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งราชวงศ์[[ซ่ง]] และพาประมุขซีเซี่ยซึ่งมีความสัมพันธ์กันหนีมาอยู่เมือง[[ซ่ง]]เพราะตอนนั้น[[ซีเซี่ย]]ได้เจรจาสงบศึกกับเมือง[[ซ่ง]]เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจากนั้นมาทั้ง2คนก็อยู่ด้วยกันตลอดไป
==ปลายรัชกาล==
ในท้ายรัชกาล สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงทรงพระประชวรหนักโดยยังมิได้มีการแต่งตั้งรัชทายาทเอาไว้ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อราชบัลลงก์ได้ ด้วยคำแนะนำของราชสำนัก จึงทรงชุบเลี้ยงพระราชวงศ์น้อยสองพระองค์เป็นพระราชโอรสบุญธรรม หนึ่งในนั้นคือ '''[[จักรพรรดิซ่งอิงจง|เจ้าอิงจง]]''' ผู้เสวยราชย์ต่อมาหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเสด็จดับขันธ์แล้ว