ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fanyfansoshi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Poh Teck Tung Foundation.JPG|thumb|มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง]]
'''มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|ตัวเต็ม]]: 華僑報德善堂, [[อักษรจีนตัวย่อ|ตัวย่อ]]: 华侨报德善堂, [[พินอิน]]: Huáqiáo bào dé shàn táng ''หัวเฉียวเป่าเดอชันถัง'', [[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]: หัวเกียเปอเตียกเชียนต๋อง , [[สำเนียงแต้จิ๋ว]]: หัวกิ๋วปอเต๊กเชียงตึ๊ง ) เป็นมูลนิธิที่มาจาก คณะเก็บศพไต้ฮงกง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2452 โดยพ่อค้าชาวจีนในกรุงเทพฯ 12 คน<ref>กรรณิการ์ ตันประเสริฐ และ คณะ. '''ป่อเต็กตึ๊ง บนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย'''. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ : มติชน, 2545), น. 91-100.</ref> มีจุดประสงค์เพื่อเก็บศพไร้ญาติทุกภาษาและนำไปฝังที่ป่าช้าทุ่ง[[วัดดอน]] [[ถนนเจริญกรุง]] ที่ชาวจีนได้เรี่ยไรเงินซื้อไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 นักธุรกิจจีนได้ร่วมกับบรรดาสมาคมและหนังสือพิมพ์จีน ระดมความคิดปฏิรูปคณะเก็บศพไต้ฮงกงขึ้นใหม่ โดยจดทะเบียน (ทุน 2,000 บาท) จัดตั้งเป็นมูลนิธิในนาม ป่อเต็กตึ๊ง หรือในชื่อเต็มว่า ฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง เป็นมูลนิธิลำดับที่ 11 ของประเทศสยาม
 
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ดำเนินงานสาธารณะสงเคราะห์มาเป็นลำดับ ทั้งกิจกรรมหลักแรกเริ่ม คือการเก็บศพไร้ญาติ ไปจนถึงบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว หรือุทกภัย รวมไปจนถึงความยากจน ส่วนในด้านการรักษาพยาบาล นอกเหนือจากบริการหลักที่โรงพยาบาลหัวเฉียว (ขนาด 750 เตียง) แล้วยังมีบริการหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน ต่อมาได้ขยายวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคนด้วย ได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานามพระราชทาน [[มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ]]