ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
ความผิดพลาดในการควบคุมตลาดของออตโตทำให้เขาไม่สามารถที่จะชำระหนี้สินได้ และทำให้กรอสแอนด์กลีเบิร์ก บริษัทนายหน้าของเขาล้มละลาย วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กยกเลิกสิทธิพิเศษในการซื้อขายของออตโต เมื่อยูไนเต็ดคอปเปอร์ล้ม ธนาคารออมทรัพย์แห่งบัตต์ รัฐมอนแทนา (ซึ่งเอฟ. ออกุสตุส ไฮนส์ เป็นเจ้าของ) ก็ประกาศล้มละลาย ธนาคารมอนแทนาถือหุ้นยูไนเต็ดคอปเปอร์เป็น[[หลักค้ำประกัน]]ในการปล่อยกู้ และเป็น[[ธนาคารตัวแทน]]ของธนาคารเมอร์แคนทีลในนิวยอร์ก ซึ่งมีเอฟ. ออกุสตุส ไฮนส์ เป็นประธานในขณะนั้น
ความเกี่ยวข้องของเอฟ. ออกุสตุส ไฮนส์กับความพยายามควบคุมตลาดและการล้มละลายของธนาคารออมทรัพย์แห่งรัฐนั้นเป็นเรื่องที่คณะกรรมการของธนาคารเมอร์แคนทีลไม่สามารถรับได้ แต่แม้ว่าพวกเขาจะบังคับให้ออกุสตุสลาออกก่อนเที่ยง<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=51–55}}</ref> มันก็สายเกินไปแล้ว เมื่อข่าวตลาดล้มแพร่กระจายออกไป ผู้ฝากเงินรีบแห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารแห่งชาติเมอร์แคนทีล ธนาคารเมอร์แคนทีลมีเงินพอที่จะทนการถอนเงินได้หลายวัน แต่ผู้ฝากเงินเริ่มถอนเงินออกจากธนาคารของชาลส์ ดับบลิว. มอส ซึ่งสมรู้ร่วมคิดกับพวกไฮนส์ ผู้คนพอนเงินออกจากธนาคารแห่งชาตินอร์ทอเมริกา และเดอะนิวอัมสเตอร์ดัมเนชันแนล [[สำนักหักบัญชีแห่งนิวยอร์ก]]บังคับให้มอสและไฮนส์ลาออกออกจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับธนาคารทั้งหมดเพราะกลัวว่าชื่อเสียงที่แปดเปื้อนของทั้งสองจะส่งผลกระทบต่อระบบธนาคาร<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=61–62}}</ref> ในสุดสัปดาห์หลังจากที่การควบคุมตลาดล้มเหลวยังไม่เกิดความตื่นตระหนกต่อระบบ เงินถูกถอนออกจากธนาคารที่เกี่ยวข้องกับพวกไฮนส์เพื่อเอาไปฝากไว้ที่ธนาคารอื่นในเมืองเท่านั้น<ref>{{Harvnb|Tallman|Moen|1990|p=7}}</ref>
 
=== ลุกลามไปถึงทรัสต์ ===
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1900 บริษัททรัสต์กำลังเฟื่องฟู ในทศวรรษก่อนปี 1907 สินทรัพย์ของบริษัททรัสต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 244 ซึ่งในช่วงเดียวกันสินทรัพย์ของธนาคารแห่งชาติเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 97 และของธนาคารแห่งรัฐในนิวยอร์กเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 82<ref>{{Harvnb|Moen|Tallman|1992|p=612}}</ref> เหล่าผู้นำทรัสต์ที่กำลังเฟื่องฟูกลายเป็นสมาชิกสำคัญของกลุ่มทางการเงินและสังคมของนิวยอร์ก และหนึ่งในนั้นคือชาลส์ ที. บาร์นีย์ เขาเป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่ง และเป็นน้องเขยของ[[วิลเลียม คอลลินส์ วิทนีย์]] ซึ่งเป็นนักการเงินชื่อดัง บาร์นีย์เป็นประธานของ[[นิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์]] ซึ่งเป็นทรัสต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามในนิวยอร์ก<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|p=68}}</ref>
 
[[Image:Knickerbocker trust company.jpg|left|thumb|สำนักงานใหญ่ของนิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ ซึ่งอยู่หัวมุมถนนหมายเลขห้าและถนนหมายเลข 34]]
 
เนื่องจากบาร์นีย์มีความเกี่ยวข้องกับชาลส์ ดับบลิว. มอส และเอฟ. ออกุสตุส ไฮนส์ ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม คณะกรรมการนิกเกอร์บอกเกอร์จึงขอให้บาร์นีย์ลาออก (ผู้ฝากเงินอาจเริ่มถอนเงินออกจากนิกเกอร์บอกเกอร์ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม จึงทำให้เกิดความกังวลนี้ขึ้น<ref>{{Harvnb|Tallman|Moen|1990|p=7}}</ref>
 
== อ้างอิง ==