ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พะยูน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
 
==วิวัฒนาการ==
พะยูนถูกศึกษาทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในปี [[ค.ศ. 1776]] โดยได้ตัวอย่าง[[ต้นแบบ (ชีววิทยา)|ต้นแบบ]]จากที่จับได้จากน่านน้ำ[[แหลมกู๊ดโฮป]]ถึง[[ฟิลิปปินส์]] เนื่องจากมีรูปร่างคล้าย[[โลมา]]และ[[ปลาวาฬ]] เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ [[Cetacea]] แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รู จมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างวาฬ<ref name=animaldiversity>Myers, P. 2002. [http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/accounts/information/Dugongidae.html Dugongidae]. [[University of Michigan]] Museum of Zoology. Retrieved on 10 March 2007.</ref> และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต
ในปี [[ค.ศ. 1816]] เดอ แบล็งวีล [[นักวิทยาศาสตร์]][[ชาวฝรั่งเศส]] ได้ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและปลาวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ (ungulates) ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนชื่อ Eotheroides ใน[[ประเทศอียิปต์]]
พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (Upper Eocene) หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน
 
==ลักษณะและพฤติกรรม==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พะยูน"