ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐกิจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แก้คำพิมพ์ผิด
บรรทัด 8:
== ระบบเศรษฐกิจ ==
ระบบเศรษฐกิจ คือ หลักการและวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านเศรษฐกิจของรัฐ คือ ระบบ[[สังคมนิยม]]และระบบ[[ทุนนิยม]]
* '''ระบบสังคมนิยม''' เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดโดยรัฐ กล่าวคือ รัฐจะเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยในการผลิตทุกอย่างแม้กระทั่งแรงงาน เอกชนไม่มีสิทธิแม้แต่จะใช้แรงงานของตนในการเลือก ประกอบอาชีพตามความพอใจ รัฐเป็นทั้งเจ้าของและผู้ประกอบการ กลไกราคาใน การตัดสินใจปัญหาพื้นฐาน ราคาสินค้าและบริการค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต และการจำหน่ายจ่ายแจกผลผลิต จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล นอกจากนั้นรัฐยังเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค ระบบนี้เกิดขึ้นตามแนวความคิดที่ว่าหากปล่อยให้ทุกคนทำตามใจตัวเองไปคนละทิศละทาง อาจทำให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมได้ เพราะบางคนมีความรู้และประสบการณ์น้อยมองการณ์ไกลไม่เก่ง มีทุนมีกำลังน้อย อาจถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้มีกำลังเหนือกว่า ได้ และในเมื่อจุดหมายของสังคมก็คือความอยู่ดีกินดีและความเสมอภาคกันทางเศรษฐกิจแล้ว รัฐจึงควรผูกขาดทางด้านเศรษฐกิจเสียด้วย
* '''ระบบทุนนิยม''' ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกมาก เช่น ระบบเศรษฐกิจเสรีบ้าง ระบบเสรีนิยมบ้าง ฯลฯ ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยในการผลิตตลอดถึงการจัดการทรัพย์สินของตนอย่างอิสระ เอกชนทุกคนสามารถลงทุนแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ รัฐบาลจะไม่เข้ามาแข่งขันกับเอกชน แต่จะคอยให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ระบบนี้เกิดขึ้นตามแนวความคิดที่ว่า การแข่งขันกันจะทำให้เกิดคุณภาพในการผลิต ให้ตลาดหรือผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจระบบเศรษฐกิจของไทย
 
ระบบเศรษฐกิจของไทย - ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
 
ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร