ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหากฎบัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Magna Carta.jpg|thumb|right|มหากฎบัตร (Magna Carta) ฉบับที่พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ประกาศเมื่อ [[พ.ศ. 1768]]]]
 
'''มหากฎบัตร''' ({{lang-en|Magna Carta}}) จาก[[ภาษาละติน]]แปลว่า "กฎบัตรใหญ่"{{citation needed}} (Great Charter) บางครั้งก็เรียกว่า "กฎบัตรใหญ่แห่งอิสรภาพ" (Magna Carta Libertatum) เป็นกฎบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 1758]] (ค.ศ. 1215) โดยถือกันว่ามหากฎบัตรนี้คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์ศาสตร์อันยาวนานของกระบวนการที่นำมาสู่[[กฎหมายรัฐธรรมนูญ]]ในปัจจุบัน{{citation needed}}
 
การที่ '''มหากฎบัตร'''เกิดขึ้นมาได้นั้น เนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่าง[[พระสันตปาปา]] [[พระเจ้าจอห์น]]และ[[คณะขุนนางอังกฤษ]]ของพระองค์เกี่ยวกับสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ มหากฎบัตรบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิ์บางอย่าง และยอมรับกระบวนการทางกฎหมายบางอย่าง และยังให้รับว่าพินัยกรรมของพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
 
มีความเข้าใจผิดที่แพร่หลายหลายประการเกี่ยวกับมหากฎบัตรนี้{{citation needed}} เช่นว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกสุดที่จำกัดสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยกฎหมายบ้าง (ความจริงไม่ใช่กฎบัตรแรกที่จำกัดสิทธิ์กษัตริย์และมหากฎบัตรนี้ส่วนหนึ่งมาจากสืบเนื่องกฎบัตรแห่งอิสรภาพ) และในแง่ปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดสิทธิ์บ้าง เป็นเอกสารที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
 
'''มหากฎบัตร'''ถูกปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัย[[ราชวงศ์ทิวดอร์]]และ[[ราชวงศ์สจวต]] และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (พ.ศ. 2144-2343) ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่างๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือปรับปรุงไปเกือบหมด
 
อิทธิพลของมหากฎบัตรนอก[[ประเทศอังกฤษ]]{{citation needed}} อาจเห็นได้ใน[[รัฐธรรมนูญ]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]]และในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ์ นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ที่ใช้[[กฎหมายจารีต]]แต่มีรัฐธรรมนูญจะมีอิทธิพลของมหากฎบัตรอยู่ ทำให้มหากฎบัตรกลายเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตย
 
เนื้อหาหลักในมหากฏบัตร กล่าวถึง สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของเสรีชน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดินจะต้องมอบสิทธินี้ให้กับขุนนางหรือผู้ครอบครองที่ดิน (Vassal) และขุนนางนั้นจะต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ในสังกัด โดยพลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบสินค้าบางส่วนหรือผลิตผลทางเกษตรให้กับขุนนางหรือพระเจ้าแผ่น เพื่อเป็นค่าคุ้มครอง ดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฏบัตร ที่กล่าวว่า "จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยปราศจากอิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล" นอกจากนี้มีในมหากฏบัตรยังได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัย โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภาบริหารราชการแผ่นดิน (The Great Council of the Nation) มิได้