ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาตากาล็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
 
หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วย[[ภาษาสเปน]]และภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและ[[อักษรบายบายิน]] ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน
 
ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดี[[มานูเอล เกซอน]]เมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น[[ภาษาปิลิปิโน]]ใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูด[[ภาษาเซบู]]
 
ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปิโนเป็นภาษาฟิลิปิโน โดยภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษและภาษาสเปน
== การจัดจำแนก ==
ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่นๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย [[ภาษามาลากาซี]] [[ภาษาซามัว]] [[ภาษาตาฮิติ]] ภาษาชาห์มอโร [[ภาษาเตตุม]]และ[[ภาษาไปวัน]] มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดใน[[บิโกล]]และ[[วิซายา]]เช่น [[ภาษาบิโกล]] [[ภาษาฮิลิกายนอน]] [[ภาษาวาราย-วาราย]]และภาษาเซบู
 
ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ [[ภาษาจีน]] [[ภาษาญี่ปุ่น]] [[ภาษาอาหรับ]] [[ภาษาสันสกฤต]] ภาษามาเลย์โบราณ และ[[ภาษาทมิฬ]]
 
== การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ ==
ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของ[[เกาะลูซอน]] โดยเฉพาะในอูรอรา บาตายัน บาตันกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ จาวิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูวาเอจิยา เกซอนและริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือและทางตะวันตกของ[[มินโดโร]] มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา