ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาพเหมือนตนเอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oxxo (คุย | ส่วนร่วม)
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Las_Meninas_01.jpg ด้วย Las_Meninas,_by_Diego_Velázquez,_from_Prado_in_Google_Earth.jpg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
บรรทัด 155:
การใช้เงาที่สะท้อนจากกระจกมักจะเป็นผลทำให้จิตรกรที่ถนัดมือขวาปรากฏในภาพเป็นผู้ถนัดมือซ้าย หรือในทางกลับกันจิตรกรถนัดซ้ายก็จะกลายเป็นผู้ถนัดขวา ฉะนั้นภาพเหมือนที่เป็นก็จะเป็นภาพสะท้อนของจิตรกรที่โลกทั้งโลกเห็นนอกจากว่าจะใช้กระจกสองอัน ภาพเหมือนของแรมบรังด์ส่วนใหญ่ที่เขียนก่อน ค.ศ. 1660 จะเป็นภาพที่มีมือเพียงมือเดียว - มือที่ใช้เขียนภาพไม่ปรากฏในภาพ<ref>''Rembrandt by himself'', op cit, p.211</ref> ดูเหมือนว่าแรมบรังด์จะซื้อกระจกบานใหญ่ขึ้นราวปี ค.ศ. 1652 หลังจากนั้นภาพเหมือนตนเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี ค.ศ. 1658 กระจกบานใหญ่ที่มีกรอบไม้แตกขณะที่ทำการขนย้ายไปยังบ้านของแรมบรังด์ แต่กระนั้นแรมบรังด์ก็ยังสามารถเขียนภาพภาพเหมือนตนเองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่เขียนมาได้
 
[[ไฟล์:Las Meninas 01Las_Meninas,_by_Diego_Velázquez,_from_Prado_in_Google_Earth.jpg|thumb|200px|“[[Las Meninas]]” (ค.ศ. 1656) แสดง[[เดียโก เบลัซเกซ]]กำลังเขียนภาพบนขาหยั่งทางด้านซ้ายของภาพ]]
ขนาดของกระจกยังคงจำกัดอยู่จนกระทั่งมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 1688 ในฝรั่งเศสโดย[[Bernard Perrot|แบร์นาร์ด แปร์โรต์]] นอกจากนั้นก็ยังแตกง่าย และราคาก็สูงขึ้นตามขนาด กระจกบานใหญ่ที่แตกก็จะถูกตัดเป็นบานเล็กๆ ขาย กระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ในขณะนั้นมีขนาดราว 80 เซนติเมตร ราวขนาดเดียวกับกระจกในพระราชวังในภาพ “[[Las Meninas]]” (กระจกโค้งนูนในภาพ “[[ภาพเหมือนอาร์โนลฟินิ]]” ถือกันโดยนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เกินความเหมาะสม ซึ่งเป็นกลเม็ดอันฉลาดอันหนึ่งในการบิดเบือนขนาดอัตราส่วนของภาพ) <ref>''Rembrandt by himself'', op cit, pp 11-13; for the Arnolfini reference see: National Gallery Catalogues (new series) : ''The Fifteenth Century Netherlandish Paintings'', Lorne Campbell, 1998, ISBN 185709171</ref> เพราะความจำกัดของขนาดของกระจกทำให้ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรมักจะเป็นภาพครึ่งตัว