ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังฆ้องนรธา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
พระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 และพระราชโอรส [[พระเจ้ามังลอก]] ก็ทรงได้สืบราชบัลลังก์ต่อ พระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าอลองพญา [[พระเจ้ามังระ|เจ้าชายมังระ]] ได้ทรงพยายามที่จะแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเชษฐาแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้ามังลอกทรงให้อภัยต่อพระอนุชาด้วยการร้องขอจากพระราชมารดา แต่พระองค์ก็ทรงเกรงว่ากบฏอื่น ๆ จะตามมาอีก พระองค์ทรงเรียกแม่ทัพสองคนที่พระองค์ไม่ทรงชอบออกมาพบ และขณะที่แม่ทัพทั้งสองไม่ได้สงสัยอะไรนั้น พระองค์ได้ทรงประหารชีวิตทั้งสองโดยไม่เปิดโอกาสให้ทั้งสองเห็นพระองค์เลย ทำให้ทางกองทัพโกรธจัด
 
มังฆ้องนรธาเองก็รู้สึกกังวลใจเช่นกัน เนื่องจากความเป็นปฏิปักษ์เก่า ๆ ระหว่างเขากับพระเจ้ามังลอก เขาจึงชะลอการเคลื่อนทัพของทัพหลังกลับไปยังชเวโบอย่างรอบคอบ จากนั้นพระเจ้ามังลอกได้มีพระบรมราชโองการจับกุมตัวเขา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสมคบคิดของเจ้าชายมังระ แต่มังฆ้องนรธาก็รู้สึกมั่นใจว่าเขาจะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งแม่ทัพ และอาจจะถูกประหารชีวิตด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เขาจึงก่อกบฎแม้ว่าจะยังไม่มีแผนการแน่ชัดใด ๆ เลยก็ตาม ขณะที่เป็นลักษณะของการขัดขืนคำสั่งมากกว่า
 
กองทัพของเขายึดครองอังวะเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1760 ทหารของเขาสามารถขับไล่การโจมตีของทัพพระเจ้ามังลอกได้ทุกครั้ง จนกระทั่งเดือนธันวาคม เมืองเริ่มเกิดกันดารอาหาร โดยเห็นว่าการยอมจำนนนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม่ทัพกบฎผู้นี้และกลุ่มผู้ติดตามที่จงรักภักดีกลุ่มหนึ่งได้หลบหนีออกจากเมือง ซึ่งก็ถูกส่งกองทัพออกติดตามมากกว่าหนึ่งครั้ง แต่เขายังคงได้รับความจงรักภักดีในหมู่ทหารที่ทำให้ฝ่ายติดตามนั้นต้องล่าถอยกลับไปด้วยความน่าเกรงข้าม ในแถบลาดเขาใน[[รัฐฉาน]]เหนือกย็อกเซ เขาถูกยิงด้วยปืนคาบศิลา แต่ถึงกระนั้น เขากลับมีพละกำลังเอาชนะศัตรูที่มาจับตัวเขาไว้ และจำต้องถูกปลิดชีวิตโดยการยิงนัดที่สอง ซึ่งก็เป็นจุดจบชีวิตของสหายร่วมรบของพระเจ้าอลองพญา
 
มังฆ้องนรธายังได้รับความเคารพนับถือแม้กระทั่งจากศัตรู พระเจ้ามังลอก เมื่อศพของเขาถูกนำมาเบื้องหน้าพระองค์ พระเจ้ามังลอกก็ทรงโศกเศร้า และกล่าวว่า "ควรแล้วหรือที่พวกเจ้าจะสังหารชายผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้"
 
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์อลองพญา]]