ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎบัตรเนือร์นแบร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ชื่อเล็กน้อย
บรรทัด 7:
วิธีพิจารณาความอาญาที่คณะตุลาการใช้นั้น ใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ใน[[ระบบซีวิลลอว์]]ยิ่งกว่าของ[[คอมมอนลอว์]] โดยเป็นการพิจารณาคดีด้วยตุลาการ มากกว่าเป็นการพิจารณาโดยใช้ลูกขุน กับทั้งยังรับฟัง[[พยานบอกเล่า]] (hearsay evidence) เป็นอันมากด้วย จำเลยที่พบว่ากระทำความผิดจะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อคณะกรรมการควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ อนึ่ง จำเลยชอบจะนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน และเพื่อถามค้านพยานบุคคลทั้งหลายได้
 
ธรรมนูญฯ นี้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่ง[[ปฏิญญากรุงมอสโก]] (Moscow Declaration) ซึ่งเรียกว่า "แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิต" (Statement on Atrocities) ที่ตกลงกันในการประชุมที่กรุงมอสโกเมื่อ ค.ศ. 1943 แล้วยกร่างขึ้นที่กรุงลอนดอน หลังจากเยอรมนียอมจำนนใน[[วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป]] (VE Day) การยกร่างดังกล่าวนี้เป็นผลงานของ รอเบิร์ต เอช. แจ็กสัน (Robert H. Jackson), รอเบิร์ต ฟาลโค (Robert Falco) และ อีโอนา นิคิตเชนโก (Iona Nikitchenko) ผู้เป็นคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาแห่งยุโรป (European Advisory Commission) แล้วประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945
 
ธรรมนูญฯ นี้ กับทั้งบทอธิบายศัพท์ "ความผิดอาญาต่อความสงบเรียบร้อย" นั้น ยังเป็นแม่แบบแห่งกฎหมายฉบับหนึ่งของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งรัฐสภาแห่งฟินแลนด์อนุมัติเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1945 เปิดช่องให้พิจารณาคดีความรับผิดชอบทางสงครามในประเทศฟินแลนด์ได้