ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มุขนายกมหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
เพิ่มหัวข้อ
บรรทัด 5:
 
สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหาร[[ศาสนาคริสต์ยุคแรก|คริสตจักรยุคแรก]]ยึดตามแบบของ[[จักรวรรดิโรมัน]] กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่งๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่า[[ปริมุขนายก]]<ref name="ODCC self">"metropolitan." Cross, F. L., ed. The Oxford dictionary of the Christian church. New York: Oxford University Press. 2005</ref>
 
== โรมันคาทอลิก ==
ใน[[คริสตจักรโรมันคาทอลิก]] [[ภาคคริสตจักร]]ซึ่งเป็นเขตปกครองที่ประกอบด้วยหลาย[[เขตมิสซัง]]จะอยู่ภายใต้การบริหารของมุขนายกมหานครซึ่งมีสถานะเป็น[[อัครมุขนายก]]ประจำเขตมิสซังตามที่[[พระสันตะปาปา]]แต่งตั้ง<ref name="ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า">''ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า'', กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน [[เขตมิสซังกรุงเทพฯ]], 2543, หน้า 134-7</ref> ส่วนมุขนายกอื่นๆ จะเรียกว่า[[ปริมุขนายก]]
 
ตาม[[ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร]]คาทอลิก มุขนายกมหานครมีหน้าที่ต่อ[[ปริมุขมณฑล]] ดังนี้<ref name="ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า"/>
 
1. เฝ้าดูแลศาสนจักรให้รักษาความเชื่อและวินัยอย่างเคร่งครัด ถ้ามีการละเมิดใดๆ ต้องถวายรายงานแด่พระสันตะปาปา
 
2. หากปริมุขนายกละเลยหน้าที่ ให้ไปเยี่ยมเยียนเขตมิสซังเหล่านั้นแทนเมื่อสำนักพระสันตะปาปารับรอง
 
3. แต่งตั้งรักษาการเขตมิสซังตามกฎหมาย
 
== อ้างอิง ==