ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตชีวภาพพาลีอาร์กติก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
เขตยูโร-ไซบีเรียนซึ่งมีภูมิอากาศหนาวและอบอุ่นนี้เป็นเขตทางนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ที่สุดของพาลีอาร์กติก ซึ่งไล่ตั้งแต่[[ทุนดรา]]ทางปลายสุดด้านเหนือของรัสเซียและ[[สแกนดิเนเวีย]]ไปจนถึง[[ไทกา]]อันกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นป่าสนเขาเขตหนาวซึ่งพบในภาคพื้นทวีป ทางใต้ของไทกานั้นเป็นแถบป่าไม้ใบกว้างเขตอบอุ่น ป่าผสม และป่าสนเขาเขตอบอุ่น เขตยูโร-ไซบีเรียนอันกว้างใหญ่นี้มีความโดดเด่นตรงที่พบสปีชีส์พืชและสัตว์จำนวนมากร่วมกัน และมีความใกล้เคียงกันมากกับเขตอบอุ่นและเขตหนาวของภาคนิเวศเนียอาร์กติกของ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]] ยูเรเซียและทวีปอเมริกาเหนือมักจะเชื่อมถึงกันโดยสะพานบกแบริง และมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนกประจำภูมิภาคที่คล้ายคลึงกันมาก โดยสปีชีส์ในยูเรเซียกำลังอพยพเข้าสู่อเมริกาเหนือ และสปีชีส์ในอเมริกาเหนืออพยพเข้าสู่ยูเรเซียในสัดส่วนที่น้อยกว่า นักสัตววิทยาจำนวนมากเห็นว่าพาลีอาร์กติกและเนียอาร์ติกควรจะนับรวมกันเป็นเขตชีวภาพเดียวที่เรียกว่า '''[[ฮาลอาร์กติก]]''' พาลีอาร์กติกและเนียอาร์กติกยังพบสปีชีส์พืชแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก
=== ลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน ===
พื้นดินซึ่งติดต่อกับ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ใน[[ยุโรปใต้]] แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตกเป็นที่ตั้งของภาคนิเวศลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งประกอบด้วยเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและแตกต่างกันมากที่สุดในโลก โดยปกติแล้วสภาพอากาศไม่รุนแรงนัก ฤดูหนาวมีฝนตก และฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ป่าเมดิเตอร์เรเนียน ป่าไม้ และป่าละเมาะเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ประจำถิ่นถึงกว่า 13,000 ชนิด ลุ่มเมดิเตอร์เรเนียนยังเป็นหนึ่งในเขตทางนิเวศวิทยาที่ถูกคุกคามมากที่สุดในโลก โดยมีเพียง 4% ของสัตว์กินพืชดั้งเดิมเท่านั้นที่ยังคงเหลือรอด และกิจกรรมของมนุษย์ รวมไปถึงการเลี้ยงปศุสัตว์อย่างกว้างขวาง การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนสภาพดินไปเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ที่ทำการเกษตร หรือเปลี่ยนเป็นเมือง ได้ลดคุณภาพของเขตทางนิเวศวิทยาดังกล่าวลงอย่างมาก
 
{{โครง}}
[[หมวดหมู่:เขตชีวภาพ]]