ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โปงลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
'''โปงลาง''' เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะหรือเครื่องตี มีลักษณะคล้าย[[ระนาด]]แต่แขวนในแนวดิ่ง เป็นที่นิยมใน[[ภาคอีสาน]] บางท้องถิ่นอาจเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือ เกราะลอ(ผู้เฒ่าผู้แก่ในถิ่นดงมูลอำเภอหนองกุงศรีเรียก "หมากเต๋อเติ่น") เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัด[[กาฬสินธุ์]]
 
==ผู้พัฒนา==
[[เปลื้อง ฉายรัศมี|นายเปลื้อง ฉายรัศมี]] [[ศิลปินแห่งชาติ]]สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี [[พ.ศ. 2529]] ชาว[[จังหวัดกาฬสินธุ์]]ได้ทำการพัฒนาโปงลางจนมีลักษณะเช่นในปัจจุบัน โดยได้พัฒนาโปงลางขึ้นจากเกราะลอ ซึ่งใช้เคาะส่งสัญญาณในท้องนา
 
==วิธีทำ==
'''โปงลาง''' นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้ที่แห้งแล้ว มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับหลัก หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ในสมัยอดีตโปงลางนั้นมีด้วยกัน 5เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา แต่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาโดย นาย [[เปลื้อง ฉายรัศมี]] '''โปงลาง'''ที่ได้มาตรฐานจะต้องมี 6 เสียง 13 ลูก คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา (ต่อมามีเสียง ที ด้วย) ซึ่งแตกต่างจาก[[ระนาด]]ในปัจจุบันที่มีเจ็ดเสียง และมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลง'''หมากกลิ้งกล่อม''' หรือ'''โปงลาง''' นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี 2 อัน มี '''หมอเคาะ'''กับ'''หมอเสิฟ''' '''หมอเคาะ''' คือผู้ที่ตีทำนองของเพลงหรือลายนั้น ส่วน'''หมอเสิฟ''' คือผู้ที่ตีประสานจะตี 2 ลูก เช่น ตี ลา-มี หรือ ซอล-เร เป็นต้น การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดย การสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" เพลง "ลายกาเต้นก้อน" เพลง "ลายแมงภู่ตอมดอกไม้" เป็นต้น
==การตี==
การบรรเลง'''หมากกลิ้งกล่อม''' หรือ'''โปงลาง''' นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี 2 อัน มี '''หมอเคาะ'''กับ'''หมอเสิฟ''' '''หมอเคาะ''' คือผู้ที่ตีทำนองของเพลงหรือลายนั้น ส่วน'''หมอเสิฟ''' คือผู้ที่ตีประสานจะตี 2 ลูก เช่น ตี ลา-มี หรือ ซอล-เร เป็นต้น การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดย การสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" เพลง "ลายกาเต้นก้อน" เพลง "ลายแมงภู่ตอมดอกไม้" เป็นต้น
 
==การเล่นเป็นคณะ==
'''โปงลาง'''นั้นนอกจากจะใช้บรรเลงตามลำพังแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงเป็นวงร่วมกับ เครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น พิณ แคน กลอง เพื่อการฟังและใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนพื้น บ้านอีสานได้เป็นอย่างดี ต่อมาภายหลัง อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้ประยุกต์วงโปงลางขึ้นใหม่ โดยนำกระดึงผูกคอวัวที่เป็นโลหะมาแขวนเรียงแทนลูกโปงลางเดิมที่ทำด้วยไม้ ทำให้เกิดมิติของเสียงที่แตกต่างจากการบรรเลงโปงลางแบบเดิม นับเป็นต้นแบบของ การพัฒนาโปงลางในระยะต่อมา เช่น การทำลูกโปงลางด้วยแผ่นทองเหลืองขนาดต่าง ๆ เรียกว่า "หมากกะโหล่ง" รวมถึงการนำเอาไม้ไผ่มาเหลาให้มีขนาดลดหลั่นกัน เรียกว่า "โปงลางไม้ไผ่" และการนำเอาท่อเหล็กมาทำเป็น"โปงลางเหล็ก"ด้วย ทำให้เสียงมีความแตกต่างมากขึ้นและได้นำมาเล่นผสมวงกัน เกิดเป็นวง '''หมากกะโหล่งโปงลาง''' โดย [[วิทยาลัยนาฏศิลป]]กาฬสินธุ์
 
[[ไฟล์:กาชาดกาฬสินธุ์.jpg|thumb|200px|right|งานประกวดวงดนตรีโปงรางจังหวัดกาฬสินธุ์]]
==การประกวด==
เป็นการจัดประกวดตามเทศการต่างๆ หรือจัดการประกวดตามสถานที่ต่างๆ เช่น การประกวดชิงถ้วยพระราชทาน[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] (ประเภท ก.ประชาชนทั่วไป) [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] (ประเภท ข.นักเรียนมัธยม) [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]] (ประเภท ค.นักเรียนประถม) ในงานประจำปีจังหวัดกาฬสินธุ์ "มหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์"
 
== แหล่งข้อมูลอื่น==
เส้น 19 ⟶ 28:
 
{{เครื่องดนตรีไทย}}
{{เรียงลำดับ|ปโงลางโปงลาง}}
 
[[หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โปงลาง"