ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประมง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jaiyen29 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
จับแพะชนแกะ
บรรทัด 22:
* แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 สนับสนุนกฎหมายรองรับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นและชาวประมงขนาดเล็กให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าชายเลนหญ้าทะเลและปะการังเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งโดยเฉพาะทรัพยากรประมงได้อย่างยั่งยืน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 และฉบับ ที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าอาหารเพื่อให้เป็นแหล่งการผลิตอาหารแปรรูปที่สำคัญของโลกที่มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคสินค้าในระยะยาวโดยมีกุ้งเป็นสินค้าเป้าหมายที่สำคัญ <ref>สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2551</ref>
 
== การศึกษาด้านวิชาการประมง ==
'''ประมงศาสตร์''' หรือ '''วิชาการประมง''' คือ ความรู้ การศึกษา ด้านการ[[ประมง]] [[อุตสาหกรรม]]และ[[ทรัพยากรทางน้ำ]] ตั้งแต่ การเพาเลี้ยง การจับหรือการเก็บเกี่ยว การแปรรูป ตลอดจนการขนส่งครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมง
ในช่วงเริ่มต้น งานวิจัยมุ่งศึกษา[[ธรรมชาติวิทยา]]ในท้อง[[ทะเล]] จนปัจจุบันครอบคลุมทั้งทางน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล และทั้งเชิง[[วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ]]และ[[วิทยาศาสตร์ประยุกต์]] [[เทคโนโลยี]]และ[[วิศวกรรมศาสตร์]] รวมทั้งเศรษฐศาสตร์ และบริหารศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้อง[[อาหาร]]ของมนุษย์ บางครั้งจึงมีการประยุกต์ใช้ความรู้จาก[[เกษตรศาสตร์]]และ นอกจากนี้ ยังมีการดูแลสิ่งมีชีวิต จึงมีการประยุกต์วิชา[[สัตวบาล]]เข้าไปเกี่ยวข้องอีกด้วย
=== นิยามศัพท์ ===
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาการประมงนั้น มีหลายคำที่ขอบเขตนิยามกว้างกว่าความหมายทั่วไป บางครั้งมีความลักลั่น พบได้ทั้งในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น
*''[[ประมง]]'' หมายถึง
# การจับสัตว์นํ้า ดำนํ้าหาปลา<ref>[http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน]</ref>
# วิชา ความรู้ ที่ว่าด้วยการประมง เช่นเดียวกับคำว่า [[ปรัชญา]] ซึ่งนอกจากจะหมายถึง แนวความคิดแล้ว ยังหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความคิดด้วย
*''[[สัตว์น้ำ]]'' หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีช่วงชีวิต อยู่ในน้ำ หรือ บริเวณน้ำท่วมถึง<ref>{{Cite web|url=http://www.fisheries.go.th/if-phayao/Menu_head/law.htm | title=พระราชบัญญัติการประมงพ.ศ. 2490 มาตราที่4(1) |publisher=ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา |date= |accessdate=April 05, 2011}}</ref>
#[[อาณาจักรสัตว์]] [[กุ้ง]] [[หอย]] [[ปู]] [[ปลา]] และ [[ฟองน้ำ]] [[ปะการัง]] [[แมลงปอ]] [[กบ]] [[เต่า]] [[จระเข้]] [[วาฬ]] [[เป็ด]]
#[[อาณาจักรฟังไจ]] อาณาจักรโพรทิสตา[[จุลินทรีย์]] เป็นต้น
#[[อาณาจักรพืช]] [[พืชน้ำ]] พืชที่อยู่บริเวณริมน้ำ
#[[อาณาจักรโครมาลวีโอลาตา]] [[สาหร่าย]]
#บางครั้งก็มีนิยามแยก "สัตว์น้ำ" ที่เป็น สัตว์ และ พืช ออกจากกัน เป็น สัตว์น้ำ และ พืชน้ำ เช่นกัน
*ในภาษาอังกฤษ (fish)"ปลา" นอกจากจะหมายถึงสัตว์มีการดูกสันหลังในน้ำที่เรียกว่า"[[ปลา]]"ในภาษาไทยแล้ว ยังหมายถึงสิ่งมีชีวิตในน้ำ สัตว์น้ำและพืชน้ำได้ด้วย ซึ่งในความหมายหลังภาษาไทยมักใช้คำว่า"สัตว์น้ำ"แทน(ดูนิยามด้านบน)
*''[[ผลิตภัณฑ์ประมง]]'' หมายถึงผลผลิตอันได้จากอุตสาหกรรมประมง แบ่งได้เป็น
#กลุ่มผลิตภัณฑ์[[อาหาร]] [[อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง]] [[ปูอัด]] [[ปลากระป๋อง]] [[สาหร่ายอบแห้ง]]
#กลุ่มไม่ใช่อาหารหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง([[ผลพลอยได้|By-Product]]) [[น้ำมันตับปลา]] [[โภชนเภสัช]](nutraceutical) [[คอลลาเจน]] [[ไคโตแซน]] เลือดจระเข้อบแห้ง เครื่องหนังจระเข้ [[ชีวมวล|ชีวมวลทะเล]] [[เชื้อเพลิงสาหร่าย]]เป็นต้น
*''นักวิชาการประมง''
#ผู้เชี่ยวชาญในสายงาน"วิชาการประมง" (Fishery science) มีชื่อตำแหน่งว่า "นักวิชาการประมง" แต่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Fishery biologist ซึ่งหมายถึง นักชีววิทยาประมง<ref>{{Cite web|url=http://www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/File/Web_classEN52%281%29.pdf | title=รายชื่อตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ไทย-อังกฤษ) ตามสายงาน ประเภท และระดับตำแหน่ง |publisher=สำนักงาน ก.พ.|date= |accessdate=April 05, 2011}}</ref>
#นักวิชาการประมงเป็นผู้ชำนาญด้านปลาที่นำความรู้ใหม่ๆที่นัก[[มีนวิทยา]]ค้นพบมาปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ในการทำงาน<ref name=ThSurat>{{Cite web|url=http://www.thaisurat.com/j-tison.htm | title=ดร.ไทสัน อาร์.โรเบิร์ต ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายย่านน้ำ |publisher=ชมรมนักนิยมไพร|date= |accessdate=April 05, 2011}}</ref>
*''นักมีนวิทยา'' คือ ผู้ที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เรื่องปลา ผู้ชำนาญเรื่องปลา<ref name=ThSurat></ref>
=== สาขาวิชา ===
*กลุ่มสาขาวิชา '''การประมง''' กล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาด้านนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับการจับ(Capture)และเครื่องมือประมง(Fish Gear)เป็นหลัก ตั้งแต่พื้นฐานเช่น การตกปลา จนกระทั่ง การประมงอวนล้อม, การเดินเรือเรือประมง, การต้นหน ปัจจุบันการวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ [[โซน่า]], Remote Sensingผ่านดาวเทียม, GIS มีความเกี่ยวข้องกับ[[สมุทรศาสตร์]] วิทยาศาสตร์ทางทะเล การดำน้ำลึก [[วิศวกรรมชายฝั่ง]] เช่น บ่อน้ำมันในทะเล
*กลุ่มสาขาวิชา '''ผลิตสัตว์น้ำ''' เป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับการ[[ขยายพันธุ์]]สัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พันธุ์ศาสตร์ โรคสัตว์น้ำ อาหารสัตว์น้ำ การก่อสร้างสถานเพาะเลี้ยง ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล เช่น ฟาร์มปลาทูน่า
*กลุ่มสาขาวิชา '''[[ผลิตภัณฑ์ประมง]]และอุตสาหกรรมประมง''' เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสัตว์น้ำและพืชน้ำ มีความเกี่ยวข้องกับ ชีวพิษ โภชนศาสตร์ ความปลอดภัยอาหารทะเล ระบบควบคุมภาพ ระบบ[[HACCP]] traceability การวางผังโรงงาน วิศวกรรมการทำความเย็น การแปรรูปนอกชายฝั่ง(การจับพร้อมแปรรูปบนเรือ) เช่น ปลากระป๋อง
*กลุ่มสาขาวิชา '''นิเวศวิทยาประมงและธรรมชาติวิทยาประมง''' เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิตในน้ำ เกี่ยวข้องกับชีววิทยาประมง วิทยาศาสตร์ทางทะเล เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง[[ปลาฉลาม]]กับ[[เหาฉลาม]]
*กลุ่มสาขาวิชา '''บริหารทรัพยากรประมง''' เป็นการศึกษาด้านการใช้ทรัพยากรประมง เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมการประมง เศรษฐศาสตร์การประมง กฎหมายประมง [[พาณิชนาวี]] การจัดการประมง เช่น ข้อพิพาททางทะเล
สำหรับสาขาทางประมงนั้น ได้ถูกแสดงในรายการข้างล่างนี้
<div style="height: 120px; overflow: auto; padding: 3px; border:1px solid #AAAAAA; reflist4" >
{{บน}}
'''[[ชีววิทยาประมง]]'''
*[[มีนวิทยา]]
*วาริชศาสตร์
*โรคสัตว์น้ำ
*ชีววิทยาทางทะเล
*ชีววิทยาของปลา
*นิเวศวิทยาของปลา
*การจัดการเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ
*นิเวศวิทยาทางน้ำ
'''[[วิทยาศาสตร์ทางทะเล]]'''
* [[สมุทรศาสตร์]]
* สมุทรศาสตร์กายะ
* สมุทรศาสตร์เคมี
* สมุทรศาสตร์ชีวะ
* สมุทรศาสตร์ธรณี
* สมุทรศาสตร์อุตุนิยมวิทยา
'''[[เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ]]'''
*เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
*เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
*การจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ
*เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้ง
*การจัดการอาหารสัตว์น้ำ
*พันธุศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
*การปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ
*การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
*การผสมพันธุ์ปลา
*การปรับปรุงพันธุกรรมปลา
*คุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
*เทคนิคการวิจัยทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
*การเพาะเลี้ยง[[ปลาสวยงาม]]และพรรณไม้น้ำ
{{กลาง}}
'''[[ผลิตภัณฑ์ประมง]]'''
*เทคโนโลยีการแปรรูปสัตว์น้ำและสาหร่าย
*จุลชีววิทยาผลิตภัณฑ์ประมง
*เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
*เคมีและฟิสิกส์ของผลิตภัณฑ์ประมง
*โภชนศาสตร์อาหารทะเล
*QC,QAและระบบคุณภาพ
*การวิเคราะห์และรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
*การวางแผนการผลิต
*การวางผังโรงงานผลิตภัณฑ์ประมง
*การบริหารและวิเคราะห์ระบบอุตสาหกรรมประมง
*วิศวกรรมแช่เยือกแข็ง
*วิศวกรรมกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง
*ชีวพิษ
*การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง
*บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ประมง
*การใช้ประโยชน์จากเศษเหลืออุตสหกรรมประมง
*เทคโนโลยีน้ำมันปลา
*เทคโนโลยีโปรตีนปลาเข้มข้น
*[[เชื้อเพลิงสาหร่าย]]
'''[[การจัดการประมง]]'''
*การจัดการทรัพยากรประมง
*การจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวทางทะเล
*การวิจัยและการนำเสนอข้อมูลด้านวิทยาศาตร์การประมงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
*[[วิศวกรรมต่อเรือ]]
*[[วิศวกรรมประมง]]
*[[วิศวกรรมสมุทรศาสตร์]]
*[[วิศวกรรมชายฝั่ง]]
*วาริชวิศวกรรม
*[[การเดินเรือ]]
*[[การต้นหน]]
{{ล่าง}}
</div>
=== การวิจัยและพัฒนาการในประเทศไทย ===
ในประเทศไทยมีพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นในปี2464 จากการการจัดตั้ง[[กรมประมง]]หรือในขณะนั้นคือหน่วยบำรุงและรักษาสัตว์น้ำขึ้น เพื่อศึกษา และขยายพันธุ์สัตว์น้ำและพืชน้ำให้พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน โดยมีตำราสำคัญคือ หนังสือ "อนุกรมวิธาน" "คำอธิบายและรายละเอียดและข้อแนะนำในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย" (Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam,with Plans and Recommendation for the Administration,Conservation and Development)<ref>[http://www.fisheries.go.th/dof/index.php?option=com_content&view=article&id=12&Itemid=44 ประวัติกรมประมง]</ref>
=== บุคคลสำคัญ ===
* Spencer F. Baird นักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้ง The United States Commission of Fish and Fisheries
* Ludwig von Bertalanffy นักชีววิทยาชาวออสเตรเลีย ผู้ตั้งทฤษฎีระบบทั่วไป(general systems theory)
* Villy Christensen นักวิทยาศาสตร์ประมง และนักแบบจำลองนิเวศวิทยา ผู้พัฒนาระบบ Ecopath
* John N. Cobb ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยประมงแห่งแรกในอเมริกา University of Washington College of Fisheries ในปี 1919
* David Cushing นักชีววิทยาประมงชาวอังกฤษ ผู้พัฒนา the match/mismatch hypothesis
* Gotthilf Hempel นักชีววิทยาทะเลชาวเยอรมัน ผู้ก่อตั้งร่วม Alfred Wegener Institute for Polar and Marine Research
* Walther Herwig, นักกฎหมายชาวปรัสเซีย ผู้ส่งเสริมวิจัยและการประมงในทะเลหลวง
* Ray Hilborn นักวิชาการประมงชาวแคนาดา ผู้เผยแพร่ด้านการจัดการประมง
* Johan Hjort นักชีววิทยาประมง สัตวศาสตร์ทางทะเล นักถ่ายภาพใต้น้ำ
* Bruno Hofer, นักวิทยาศาสตร์ประมง ผู้ก่อตั้งงานวิจัยด้าน โรคสัตว์น้ำ
 
== ดูเพิ่ม ==