ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Ajarnpla (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
เมื่อปี พ.ศ. 2498 [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้พื้นที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์เชิงเขาน้ำซับจากกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้น ตั้งเป็นสถานีวิจัยศรีราชาเพื่อใช้พื้นที่วิจัยและฝึกงานของนิสิต[[คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] จำนวน 500 ไร่ (ภายหลังถูกแบ่งให้หน่วยงานอื่น เหลือเพียง 199 ไร่) สำหรับที่ดินที่ขออนุญาตนั้นเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ทางกระทรวงมหาดไทยสงวนไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยประกาศหวงห้ามไว้เป็นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะสำหรับผลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันเมื่อ [[พ.ศ. 2474]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/029/25.PDF พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๒๙ ก ประกาศวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้าที่ ๒๕ </ref>
 
ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก เขตพาณิชยกรรม และการค้า เขตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เขตพัฒนาเมืองและชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมทางวิชาการ จึงได้ปรับ เปลี่ยนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานให้เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตแห่งใหม่เพื่อเป็นสถานศึกษาทำการผลิต และพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัมนาพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาที่สนองตอบความต้องการกำลังคนของ ภาคตะวันออก ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการจัดตั้ง'''วิทยาลัยชุมชนศรีราชา''' เพื่อทำหน้าที่เตรียมการเรียนการสอน วางแผนจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
 
พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา โดยมีโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ทั้งนี้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดรับนิสิตสาขาการจัดการ สาขาการตลาด การโรงแรม ในปีการศึกษา 2539 เป็นรุ่นแรก <ref>คู่มือนิสิตคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542 </ref><ref>http://ms.src.ku.ac.th/004history/history.htm</ref>
ปี [[พ.ศ. 2542]] คณะวิทยาการจัดการ คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ได้รับการอนุมัติจากมติของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นคณะวิชาที่เกิดจากการแบ่งส่วนราชการภายในของวิทยาเขตศรีราชา ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการเรียนการสอนให้แก่นิสิต ณ วิทยาเขตศรีราชา จึงถือว่าวันที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2542]] เป็นวันที่วิทยาเขตศรีราชาเป็นวิทยาเขตสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ระบุว่าวิทยาเขตจะสมบูรณ์ต้องประกอบด้วย คณะวิชาจำนวน 2 คณะวิชาขึ้นไป<ref>[http://www.sa.ku.ac.th/rule-ku2541.html พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2541]</ref> วิทยาเขตศรีราชาได้รับอนุมัติเป็นวิทยาเขตลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 <ref>http://www.src.ku.ac.th/InfoKUSRC/campus.asp</ref>