ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอลับแล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kosai~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
Kosai~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
| คำขวัญ = งามพระแท่นศิลาอาสน์ ถิ่นลางสาดรสดี เมืองพระศรีพนมมาศ แหล่งไม้กวาดตองกง ดงหอมแดงลือชื่อ งามระบือน้ำตกแม่พูล
}}
'''อำเภอลับแล''' หรือ '''เมืองลับแล''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งใน[[จังหวัดอุตรดิตถ์]] เป็นเมือง'''[[ล้านนา]]''' ขึ้นกับ '''[[อาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสน[[ โบราณ''' ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยก่อน[[กรุงสุโขทัย]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เคยเสด็จมาเมื่อ ปี [[พ.ศ. 2444]] ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานของ[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]<ref>[http://www.geocities.com/lablae_city/history6.htm ฟู บุญถึง และคณะ . ( ม.ป.ป.) . ลับแลหรือจะแลลับ , สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลับแล]</ref>ว่า เดิมชาวเมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ใน[[หุบเขา]]มีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย อำเภอลับแลนอกจากจะมี[[โบราณสถานแบบล้านนาโบราณ]]ที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้า[[หัตถกรรมพื้นเมืองล้านนา]] เช่น [[ผ้าตีนจก]]และ[[ไม้กวาด]] เป็นแหล่งปลูก[[ลางสาด]] ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
 
== ประวัติเมืองลับแล ==
บรรทัด 20:
[[ไฟล์:Samut Khoi Laplae1.jpg|150px|left|thumb|สมุดไทยบัญชีถือสังกัดมูลนายประจำแขวงเมืองลับแลในสมัย[[รัชกาลที่ 4]]]]
 
[[ไฟล์:ชาวลับแล.jpg|200px|thumb|การแต่งกายของชาวลับแลใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมัยรัชกาลที่ 5]] จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่ากลุ่มชนแรกที่มาอยู่ในบริเวณเมืองลับแลในปัจจุบันนั้นอพยพมาจาก'''[[โยนกนาคพันธุ์|อาณาจักรเชียงแสนโบราณ (โยนกนาคพันธุ์)]]]]'''ทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (''แลง'' เป็น[[ภาษาล้านนา]]แปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน
 
ทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (''แลง'' เป็น[[ภาษาล้านนา]]แปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน
 
ในยุคเดียวกับการรวมตัวของเมืองกัมโภช ได้มีผู้คนจาก[[อาณาจักรโยนกเชียงแสน]] อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแห่งหนี่งและตั้งชื่อว่า ''บ้านเชียงแสน'' ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ เมื่อได้ทำมาหากินกันระยะหนึ่ง คนกลุ่มนั้นได้ไปอัญเชิญ [[เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร]] พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองชัยธิราช จากอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสน มาตั้งเมืองที่ป่าลับแล ให้ชื่อว่าเมืองลับแล และสร้าง [[คุ้มเจ้าหลวง]] หรือ [[หอคำ]] ขึ้นที่บ้านท้องลับแล (บริเวณ[[วัดเจดีย์คีรีวิหาร]])และแต่งตั้งหญิงสาวชาวลับแล 2 คนคือ นางสุมาลี และ นางสุมาลา ขึ้นเป็นพระชายาในตำแหน่ง '''พระเทวีเจ้าสุมาลี''' และ '''พระเทวีเจ้าสุมาลา ''' เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสนล่มสลายลง [[อาณาจักรล้านนา]]เฟื่องฟูแทน เมืองลับแลก็ยอมขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ใน [[พ.ศ. 1690]] [[อาณาจักรสุโขทัย]]รุ่งเรืองขึ้น ก็เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย ในปี [[พ.ศ. 1981]] [[เมืองทุ่งยั้ง]] ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น เมืองลับแลจึงได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้ง ครั้นต่อมาใน[[สมัยรัตนโกสินทร์]] ในราว [[พ.ศ. 2444]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จประพาสเมือง[[อุตรดิตถ์]] และได้เสด็จมาถึงเมืองลับแลในวันที่ [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2444]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดจากเมืองพิชัยมาตั้งที่บางโพ และยุบเมืองทุ่งยั้งรวมกับลับแลและสถาปนา '''เมืองลับแล''' ขึ้นเป็นอำเภอ ส่วนอาคารที่ทำการยังตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง บริเวณใกล้เวียงเจ้าเงาะ