ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 117:
เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดในตอนปลายปี พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากข้อบกพร่องในการก่อสร้าง และข้อกล่าวหาในการฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางความเชื่ออีกว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ซึ่งคนงานก่อสร้างที่เห็นวิญญาณเหล่านั้นเกิดความกลัว ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานไทยจึงได้จัดพิธีสวดมนต์ของพระสงฆ์ 99 รูปเพื่อสะกดดวงวิญญาณ<ref>[http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article650902.ece Richard Lloyd Parry, "Poo Ming – a blue ghost who haunts $4bn airport", ''The Times'', 2006-09-27]</ref>
 
สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549]] โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ [[การบินไทย]] [[นกแอร์]] [[ไทยแอร์เอเชีย]] [[บางกอกแอร์เวย์]] [[พีบีแอร์]] และ[[โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์]] จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต <ref>''[[ThaiDay]]'', [http://www.manager.co.th/IHT/ViewNews.aspx?NewsID=9490000084922 "THAI discounts tickets for historic test flights"], July 1, 2006.</ref><ref>[http://etna.mcot.net/query.php?nid=23694 "PM Thaksin says Suvarnabhumi Airport ready in two months"], [[MCOT]], 29 July 2006.</ref> ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยัง[[สิงคโปร์]] และ[[ฮ่องกง]] ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ
 
ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันอย่างจำกัด โดย[[เจ็ตสตาร์ เอเชีย แอร์เวย์]] มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังสิงคโปร์ ส่วน[[การบินไทย]]มีเที่ยวบินภายในประเทศไปยัง[[จังหวัดพิษณุโลก]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] และ[[จังหวัดอุบลราชธานี]] ตามด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ซึ่งระหว่างช่วงเริ่มต้นใช้งานนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ใช้รหัสสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศชั่วคราว คือ ''NBK''
บรรทัด 456:
* พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลกจากผลโหวตประจำปี พ.ศ. 2552 ของนิตยสาร Smart Travel ท่องเที่ยวออนไลน์ Smarttravelasia.com
* พ.ศ. 2553 -อันดับที่ 10 ประเภท The World's Best Airports ประจำปี พ.ศ. 2553 จาก SKYTRAX
* 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 5 ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2553 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI)<ref>http://www.airports.org/cda/aci_common/display/main/aci_content07_banners.jsp?zn=aci&cp=1-7-46%5E41035_725_2__</ref>
 
=== ปัญหาหลังจากเปิดให้บริการ ===