ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเตลูกู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: fa:زبان تلگو
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
ชาวอังกฤษใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] เรียกภาษาเตลูกูว่า ''[[ภาษาอิตาลี]]ของโลกตะวันออก'' (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียง[[สระ]] แต่เชื่อว่านักสำรวจชาว[[อิตาลี]] [[นิกโกโล ดา คอนติ]] (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
 
== ประวัติ ==
===พ.ศ. 1943 - 2443===
ในยุคนี้ ภาษาเตลูกูมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภาษาในเตลังกนะเริ่มแตกเป็นสำเนียงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาทของ[[ศาสนาอิสลาม]]จากการถูกปกครองโดยสุลต่านราชวงศ์ตุกลิกที่ก่อตั้งขึ้นใน[[เดกคาน]]ตอนเหนือราวพุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม จักวรรดิวิชัยนครมีความโดเด่นใน พ.ศ. 1875 จนถึงราว พ.ศ. 2143 ทำให้เกิดยุคทองของวรรณคดีเตลูกูเมื่อถึงพุทธสตวรรษที่ 22 การปกครองของมุสลิมเริ่มขยายตัวลงทางใต้จนเกิดการก่อตั้ง[[ราชรัฐไฺฮเดอราบัด]]โดย[[ราชวงศ์อาซาฟ ยะห์]] ใน พ.ศง 2267 ทำให้ภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมากในยุคนี้
===พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน===
ยุคนี้เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ การสื่อสารสมัยใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของอังกฤษ เริ่มมีสื่อสมัยใหม่เช่นโทรทัศน์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 มีการกำหนดรูปแบบมาตรฐานของภาษาเพื่อการสอนในโรงเรียน
== ไวยากรณ์ ==
ในภาษาเตลุกุจะเรียงประโยคจาก ''กรรตะ'' కర్త (ประธาน), ''กรรมะ'' కర్మ (กรรม) และ ''กริยะ'' క్రియ (กริยา) ภาษาเตลุกุมีการใช้ ''วิภักถิ'' విభక్తి (บุพบท) ด้วย