ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชะวากทะเล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ripchip Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ca:Estuari
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดสระแอ
บรรทัด 16:
ชะวากทะเลสามารถจำแนกโดยอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐาน ออกเป็นชนิดต่างๆได้ 4 ประเภท ดังนี้
=== ชะวากทะเลแบบร่องน้ำจมตัว (Drowned river valleys-type estuaries) ===
ชะวากทะเลชนิดนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 6,000 ถึง 15,000 ปีที่ผ่านมา หรือในช่วงปลายของ Wisconsin glaciation (เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขี้นประมาณ 100 ถึง 130 เมตร) เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจึงได้มีการเกิดลักษณะชะวากทะเลเช่นนี้ขึ้น นอกจากนี้แล้วการทรุดตัวของบริเวณชายฝั่งยังช่วยให้เกิดชะวากทะเลแบบร่องน้ำจมตัวได้อีกด้วย โดยลักษณะเช่นนี้มักเกิดขึ้นในที่ราบต่ำ ขนากกว้าง มีความลึกไม่มากนัก มักพบได้ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตเเลนติกแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Chesapeake Bay, Delaware Bay, Galveston Bay และ Tampa Bay
=== ชะวากทะเลแบบลากูน (Lagoon-type estuaries) ===
ชะวากทะเลชนิดนี้จะได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลน้อยมาก เนื่องจากในบริเวณนั้นมีเกาะสันดอน (Barrier islands)หรือจะงอยทราย (Sand spit)เป็นตัวกั้นอิทธิพลจากน้ำทะเลเอาไว้ จะมีช่องแคบๆเท่านั้นที่ติดต่อกับน้ำทะเล โดยมากมักจะพัฒนาอยู่บนบริเวณชายฝั่งที่มีความมั่นคงทางธรณีแปรสัณฐานสูง และมีการสะสมตัวของตะกอนตามแนวชายฝั่ง แต่จะต้องมีอัตราของน้ำขึ้นน้ำลงไม่เกิน 4 เมตร และเกาะสันดอนที่เกิดร่วมกันนั้นมักจะเกิดขึ้นในบริเวณทะเลน้ำตื้นคือลึกไม่เกิน 5 ถึง 10 เมตร และมีกระแสที่มากระทำขนานกับแนวชายหาด โดยมากจะพบตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตเเลนติกแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Barnegat Bay นิวเจอร์ซีย์, Laguna Madre เทกซัส และ Pamlico Sound นอร์ธคาโรไลนา
=== ชะวากทะเลแบบฟยอร์ด (Fjord-type estuaries) ===
ชะวากทะเลชนิดนี้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นร่องลึกเนื่องจากการกัดเชาะของธารน้ำเเข็งน้ำแข็ง ร่องลึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปตัวยู บริเวณตื้นของชะวากทะเลชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นปากอ่าว และมักจะได้รับผลจากการไหลเวียนของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงจากน้ำลึกไปยังน้ำตื้นบริเวณชะวากทะเล พบได้ตามแนวชายฝั่งของอะแลสกา ตะวันออกของแคนาดา กรีนแลนด์ ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์
=== ชะวากทะเลแบบผลจากธรณีแปรสัณฐาน (Tectonically produced estuaries) ===
ชะวากทะเลชนิดนี้เกิดจากการทรุดตัว หรือแผ่นดินถูกตัดจากทะเลโดยการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อน ภูเขาไฟ และแผ่นดินถล่ม น้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในยุคโฮโลซีนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชะวากทะเล ตัวอย่างเช่น อ่าวซานฟรานซิสโกที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนซานแอนเดรียส