ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เต็นท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 2898939 โดย Alexbot; เนื้อหาละเมิดมา.
Teefouay (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''เต็นท์''' {{lang-en|tent}} เป็น[[อุปกรณ์]]อาศัยชั่วคราว มีลักษณะเป็นลักษณะเหมือนกระโจม หรือกระโจมเหมือนเต็นท์ลักษณะโค้งด้านบน ส่วนใหญ่วัตถุดิบที่นำมาใช้สร้างเต็นท์นั้นเป็นโครง[[เหล็ก]] จะใช้ผ้าคลุมที่แตกต่างกันไป อาจเป็น[[ผ้าร่ม]] หรือ[[ผ้าดิบ]] ผ้าอื่นที่ไม่ได้กล่าวมา
{{โครง}}
 
ข้อ1. เต็นท์ทำหน้าที่อย่างไร<br />
- เต็นท์มีหน้าที่ ป้องกันแมลง สัตว์ ลม น้ำ
ข้อ2. ส่วนประกอบของเต็นท์เรียกว่าอะไร ทำหน้าที่อย่างไร วัสดุที่นำมาใช้คืออะไร<br />
- ฟลายชีท เป็นส่วนที่คลุมด้านบน ทำหน้าที่ ลดการเกิดหยดน้ำในเต็นท์และช่วยกันฝน ลมและแสงแดด
วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์ ( ไนลอน,โพลีเอสเตอร์) เคลือบกันน้ำ เป็น มิลลิเมตร ฟลายชีท ที่ดี ควรมีการซีล ที่ตะเข็บเพื่อไม่ให้น้ำรั่วลงมาด้านใน ชนิดของการเคลือบกันน้ำ เคลือบด้วยโพลียูรีเทน PU, เคลือบด้วยซิลเวอร์, เคลือบด้วยซีลีโคน
'''ตัวเต็นท์''' ทำหน้าที่ ป้องกันแมลง สัตว์มีพิษ และช่วยกันลม กันฝน วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์( ไนลอน,
- โพลีเอสเตอร์) ตัวเต็นท์ที่ดี ควรเป็นผ้าไม่เคลือบกันน้ำ (ถ้ามีฟลายชีท) และมุ้งที่กันแมลงตัวเล็กได้
พื้นเต็นท์ เป็นส่วนด้านล่างทำหน้าที่ในป้องกันน้ำ วัสดุที่นำมาผลิต ผ้าใยสังเคราะห์ (โพลีเอสเตอร์ โพลิโพไพลีน )
 
'''พื้นเต็นท์ที่ดี''' ควรใช้ผ้าผืนเดียวหรือมีการต่อแบบกันน้ำ มุมทั้ง 4 ด้านควรยกขึ้นจากพื้นเมื่อกางเต็นท์
เสาเป็นส่วนโครงสร้าง ทำให้เต็นท์ตั้งขึ้นเป็นรูปร่าง วัสดุที่นำมาผลิต ไฟเบอร์ใยแก้ว หรือ อลูมิเนียม เนื่องการเสาเต็นท์ที่ทำด้วยไฟเบอร์ใยแก้วอาจจะมีการแตกหักได้ด้วยสาเหตุ หลายอย่าง ดังนั้นควรมีเทปปิดสันหนังสือปิดเมื่อมีการหัก ส่วนเสาที่ทำด้วยอลูมิเนียมมีความทนทานสูง
สมอบก สมอบกมีอยู่หลายแบบ วัสดุที่นิยมนำมาใช้ เหล็กชุบซิ้งค์, อลูมิเนียมเกรดอากาศยาน(ทำเครื่องบิน) ไฟเบอร์ใยแก้ว,พลาสติก ABS, รวมไปถึงไม้<br />
- รูปเข็ม เป็นสมอบกที่มาพร้อมกับเต็นท์ สามารถใช้ในพื้นที่เป็นดินได้ดี<br />
- รูปฉาก เป็นสมอบกสมัยโบราณเอาไว้ใช้กับพื้นที่เป็นทราย<br />
- รูปตัวไอ เป็นสมอบกที่ถูกพัฒนาให้มีด้านเสียดสีหลายด้านจึงทำให้ยึดเกาะได้ดีในเกือบทุกสภาพ<br />
- แบบถุงผ้า เป็นสมอบกที่ใช้กับทรายเท่านั้นสามารถพับเก็บได้เล็กและไม่ทำอันตรายกับผ้าเต็นท์ในเวลาที่เก็บเต็นท์ในถุง<br />
- วัสดุไขว้รูปตัว X เป็นวัสดุ 2 ชิ้นแบนและตรงเจาะรูตรงกลางทั้ง 2 อัน เมื่อเวลาใช้ก็กางออกเป็นรูปตัวX ใช้กับทราย
ชนิดของเต็นท์ แบบต่างๆ มีดังนี้
'''รูปของเต็นท์แบ่งตามรูปทรง'''
'''เต็นท์ทรงสามเหลี่ยม (A Frame)'''<br />
ถูกออกแบบมาเป็นชนิดแรก ไม่มีการซับซ้อนทางด้านการออกแบบ โดยมีข้อดีในเรื่องการระบายน้ำได้ดี เป็นเต็นท์พื้นฐานที่สามารถนำวัสดุใกล้เคียงมาซ่อมแซมได้เมื่อเสียหาย การที่รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมจึงทำให้มีพื้นที่ภายในด้านบนน้อย
'''เต็นท์ทรงบ้าน (Cabin)'''<br />
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนามาใช้กับกิจกรรม เดินทางด้วยรถ ซึ่งไม่มีข้อจำกัดเรื่องการขนย้าย สามารถแบ่งเป็น ห้องหรือพื้นที่ทำกิจกรรมโดยเปลี่ยนเป็นฟลายชีท
'''เต็นท์ทรงโดม (Dome)'''<br />
ถูกออกแบบมาให้สามารถตั้งอยู่ได้โดย ไม่ต้องอาศัยการดึงของสมอ จึงสามารถตั้งได้ทุกสภาพพื้นผิว การที่มีรูปทางเป็นครึ่งวงกลมจึงทำให้พื้นที่ภายในกว้างขึ้นและทำกิจกรรม อย่างอื่นภายในได้มากขึ้น
'''เต็นท์ทรงจีโอเดสิคโดม (GeoDesicDome)'''<br />
เป็นเต็นท์ที่พัฒนาขึ้นมาจากทรงโดม โดยเพิ่มเสาด้านข้าง 2 เสา ทำให้มีความแข็งแรงขึ้นพื้นที่ภายในมากขึ้น แต่ก็ทำให้น้ำหนักมากขึ้นด้วย
'''เต็นท์ทรงท่อ (Tunnel)'''<br />
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในพื้นที่ ที่มีลมแรง การที่รูปทรงเป็นทางท่อจึงลดแรงประทะของลมในเกือบทุกด้าน โครงสร้างเสาเป็นรูปโค้งจึงลดการปะทะทำให้เสาเสียหายน้อยลง เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบใช้เฉพาะที่
'''เต็นท์ทรงกรวย (Hoop)'''<br />
เป็นเต็นท์ที่ถูกพัฒนาให้ใช้กับคนจำนวนน้อยหรือในพื้นที่น้อย เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบใช้เฉพาะ
'''เต็นท์ทรงปีรมิด (Pyramid)'''<br />
มีน้ำหนักเบา ใช้เสาอลูมิเนียมหรือไม้เท้ามาทำเป็นเสา ดังนั้น จึงมีน้ำหนักเบาและเล็กกะทัดรัด แต่ต้องการใช้
การตอกสมอและดึงเชือกในการตั้งเต็นท์
'''เต็นท์สปริง (Spring)'''<br />
เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครง อยู่ภายในดังนั้นมันจึงกางง่ายที่สุด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวกางเสร็จสรรพในพริบตา แต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงแค่ลม พัดมาก็จะปลิวแล้ว
3.จะเลือกเต็นท์ให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าอย่างไรจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมและฤดูที่ลูกค้าจะใช้
'''ขั้นตอนที่ 1''' ให้ถามเรื่องลูกค้าจะนำเต็นท์ไปทำกิจกรรมอะไร โดยแบ่งออกเป็น<br />
- กิจกรรมที่ต้องการเต็นท์ที่น้ำหนักเบาและขนาดเล็กเมื่อเก็บ คือ จักรยานทัวริ่ง, แบ็กแพ็กกิ้ง,คยัคทัวริ่ง กิจกรรมทั้งสามคือการเดินทางโดยการนำอุปกรณ์ทั้งหมดไปด้วยการปั่น จักรยาน,แบกเป้,พายเรือ<br />
- กิจกรรมที่ไม่ต้องการเต็นท์ที่น้ำหนักเบา คือกิจกรรมแค้มปิ่ง แค้มป์คาร์
<br />
'''ขั้นตอนที่ 2''' นำไปใช้ในฤดูอะไร<br />
- ทั้ง 3 ฤดู ควรใช้เต็นท์ที่มีฟลายชีทคลุมถึงพื้นทั้งหมดโดยจะไม่เห็นในส่วนที่เป็น ตัวเต็นท์และสามารถเปิดออกรับลมได้<br />
- ฤดูหนาวกับร้อน สามารถใช้เต็นท์ในลักษณะเดียวกันได้โดยการปิดหรือเปิดประตูหรือหน้าต่าง<br />
- ฤดูฝนควรใช้เต็นท์ที่มีฟลายชีทคลุมถึงพื้นหรือเหมือนกับเต้นที่ใช้ได้ทั้ง 3 ฤดู<br />
 
<br />
-
'''ขั้นตอนที่ 3''' จะใช้นอนกี่คน<br />
- สามารถนอนตามขนาดที่กำหนดแต่ไม่ควรนอนในจำนวนที่มากที่สุด คือ เต็นท์นอน 3 – 4 คน ควรนำนอน 3 คนและพื้นที่ที่เหลือเป็นที่เก็บสิ่งของอย่างอื่น<br />
 
- ข้อยกเว้น ในขั้นตอนที่ 1 ข้อแยกย่อยแรก กิจกรรมที่ต้องการเต็นท์น้ำหนักเบาและเล็ก ควรให้ที่มีขนาด 1 หรือ 2 คนนอนจะดีที่สุด
 
<br />
'''ขั้นตอนที่ 4''' แนะนำการใช้ อายุการใช้งาน ลักษณะการใช้งานที่ดีที่สุด การดูแลรักษา<br />
- ข้อมูลเฉพาะของเต็นท์แต่ละรุ่น <br />
- อายุการใช้งาน รับประกันประมาณ 3 ปี สารที่เคลือบกันน้ำจะเริ่มหมดอายุ<br />
- การดูแลรักษา ในส่วนที่เป็นผ้า ให้ล้างน้ำสะอาดหลังจากการใช้โดยนำมาผึ่งลมให้แห้งหรือถ้าไม่มีเวลาทำความ สะอาดควรทำให้เต็นท์แห้งสนิท เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
<br />
'''ขั้นตอนที่ 5''' ความรู้เรื่องสินค้าที่เป็นส่วนประกอบกัน<br />
- การนอนกลางแจ้งให้หลับสบายนั้นต้องมีอุปกรณ์อื่นร่วมด้วย โดยจะแบ่งหน้าที่กัน โดยเต็นท์จะทำหน้าที่ป้องกันลม แมลง สัตว์ และน้ำ แต่ที่พื้นนั้นจะต้องใช้ แผ่นรองนอน เพื่อช่วยปรับพื้นที่ที่ขรุขระ ป้องกันความเย็น และน้ำ ในอีกส่วนที่สำคัญก็คือ ถุงนอน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ที่นอนหลับสบายได้ตลอดที่คืน<br />
- ส่วนประกอบอีกเล็กน้อยที่สำคัญ ก็คือ ควรมีไฟฉายและน้ำอยู่ใกล้ ๆตัว <br />
 
'''การดูแลรักษาเต็นท์'''<br />
-
การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว<br />
1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น<br />
2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย<br />
3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน<br />
4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือช่วยปกป้องตัวเต็นท์จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น<br />
5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรงเต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์แล้วปักสมอบก ยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้<br />
6. ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งทั่วไป
'''ความรู้เกี่ยวกับการเกิดหยดน้ำในเต็นท์'''<br />
เกิดจากการควบแน่นภายในเต็นท์ ผ้าเต็นท์เป็นผ้ากันน้ำจะกักเก็บความร้อนและความชื้นให้อยู่ภายใน เมื่อมีความเย็นมากระทบก็จะเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายใน เราสามารถทำให้การควบแน่นภายในเต็นท์ให้น้อยลงได้ดังนี้
<br /><br />
'''วิธีลดการเกิดหยดน้ำในเต็นท์ คือ'''<br />
1.. ลดความชื้นในอากาศภายในเต็นท์โดยการทำช่องระบายอากาศและความชื้นด้านบน<br />
2. ทำให้ความเย็นจากภายนอกเข้ามาสัมผัสความชื้นภายในเต็นท์ได้ยากขึ้น โดยเพิ่มชั้นอากาศ นำฟลายชีทมาวางบนตัวเต็นท์แต่ต้องให้มีอากาศระหว่างกลาง เมื่อมีการไหลเวียนของอากาศก็จะทำให้การเกิดหยดในภายในเต็นท์น้อยลง (เป็นหน้าที่หลักของฟลายชีท)<br />
3. ทำให้การเกิดหยดน้ำไปเกิดที่ฟลายชีท โดยใช้ผ้าที่ไม่เคลือบกันน้ำหรือผ้าที่สามารถระบายความชื้นได้มาทำเป็นตัว เต็นท์ ซึ่งความชื้นจะระบายออกไปด้านนอกของตัวเต็นท์ จึงทำให้ภายในไม่เกิดหยดน้ำ<br />
4. ใช้ผ้าที่มีการระบายความชื้นได้ดี เช่น ผ้าเคลือบ กอร์เท็กซ์ (Gor- Tex) มาทำเต็นท์ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดหยดในภายในเต็นท์ได้ แต่เต็นท์นั้นจะมีราคาแพงมาก<br />
หมายเหตุ กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ช่วยให้การเกิดหยดน้ำในเต็นท์น้อยลงแต่ไม่สามารถหยุดการเกิดหยดน้ำได้เพราะ ที่บ้านของเราเป็นเมืองร้อนชื้นจึงเกิดกระบวนการควบแน่นตลอดเวลาจะมากหรือ น้อยแล้วแต่สถานะการ <br />
แหล่งที่มาของข้อมูล [http://www.karanatravelgear.com www.karanatravelgear.com]
 
[[หมวดหมู่:อุปกรณ์]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เต็นท์"