ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 119.160.223.101 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
บรรทัด 70:
{{บทความหลัก|สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์}}
[[ไฟล์:Anantasamakom.jpg|thumb|250px|[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก]]
[[ไฟล์:วัดเบญจฯ.jpg|right|thumb|200px|[[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม]]]]
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท
 
บ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร
 
กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตาม[[จิตรกรรมฝาผนัง]]ของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก
 
ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] นับเป็นยุคทองแห่ง[[ศิลปะจีน]] มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม