ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรฮันกึล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Garam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
'''อักษรฮันกึล''' ได้ประดิษฐ์โดย[[พระเจ้าเซจง]] ([[พ.ศ. 1940]] - [[พ.ศ. 1993|1993]] ครองราชย์ [[พ.ศ. 1961]] - [[พ.ศ. 1993|1993]]) กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่ง[[ราชวงศ์โชซอน]]ของ[[เกาหลี]] แต่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสังเกตว่าการประดิษฐ์อักษรเป็นงานที่ซับซ้อน อาจเป็นฝีมือของกลุ่มบัณฑิตสมัยนั้นมากกว่า แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงว่าบัณฑิตในสมัยนั้นต่างคัดค้านการใช้ตัวอักษรใหม่แทนตัว[[อักษรฮันจา]] ดังนั้น จึงได้มีการบันทึกว่าอักษรฮันกึลเป็นผลงานของ[[พระเจ้าเซจง]]แต่เพียงพระองค์เดียว นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าพระญาติของพระเจ้าเซจองได้มีส่วนร่วมอย่างลับๆ ในการประดิษฐ์อักษร เพราะประเด็นนี้ในสมัยนั้นเป็นข้อขัดแย้งระหว่างบัณฑิตอย่างมาก
 
อักษรฮันกึลได้ประดิษฐ์เสร็จสมบูรณ์ในปี [[พ.ศ. 1986]] (ค.ศ. 1443) หรือ [[มกราคม]] [[ค.ศ. 1444]] และถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ [[9 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 1989]] (ค.ศ. 1446) ในเอกสารที่ชื่อว่า "ฮุนมิน จองอึม" (ฮันกึล: 훈민 정음훈민정음, [[อักษรฮันจา|ฮันจา]]: 訓民正音; Hunmin Jeong-eum) หรือแปลว่า เสียงอักษรที่ถูกต้องเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน ซึ่งในวันที่ [[9 ตุลาคม]] ของทุกปี ทางการ[[ประเทศเกาหลีใต้|เกาหลีใต้]]ได้ประกาศให้เป็น วันฮันกึล ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ส่วนใน[[เกาหลีเหนือ]]เป็นวันที่ [[15 มกราคม]]
 
[[พระเจ้าเซจงมหาราช]]ทรงให้เหตุผลของการประดิษฐ์ตัวอักษรใหม่ว่า [[อักษรจีน]]มีไม่เพียงพอที่จะเขียนคำเกาหลี และอักษรจีนนั้นเขียนยากเรียนยาก ทำให้ชาวบ้านรู้หนังสือน้อย ในสมัยนั้น เฉพาะชายในชนชั้นขุนนาง (ยังบัน) เท่านั้นที่มีสิทธิเรียนและเขียนตัว[[อักษรฮันจา]]ได้
บรรทัด 24:
:''ดูเพิ่มที่ [[ตารางอักษรฮันกึล]]''
โดยผิวเผินแล้ว อาจมองอักษรฮันกึลว่าอยู่ในระบบอักษรรูปภาพ แต่จริงๆ แล้ว อักษรฮันกึลอยู่ในระบบอักษรแทนเสียง (Alphabet) อักษรฮันกึลมีตัวอักษรที่เรียกว่า '''จาโม''' (자모, 字母 ''อักษรแม่'') ทั้งหมด 24 ตัว ประกอบด้วย พยัญชนะ 14 ตัว คือ ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ และ ㅎ
และสระ 10 ตัว คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ และ ㅣ
 
พยัญชนะและสระดังกล่าวเรียกว่า พยัญชนะเดี่ยว และสระเดี่ยว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เรียกว่าพยัญชนะซ้ำ และสระประสมด้วย
บรรทัด 75:
== อ้างอิง ==
* [http://omniglot.com/writing/korean.htm การเขียนภาษาเกาหลี]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://mongd2i.com.ne.kr/font/font.htm ฟอนต์อักษรเกาหลี]