ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
|}
 
'''คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ''' ({{lang-en|International Committee of the Red Cross; ICRC}}) เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2406 โดยการนำของ นาย[[อองรี ดูนองต์]] มีสำนักงานที่[[กรุงเจนีวา]] ประเทศ[[สวิสเซอร์แลนด์]] ประเทศสมาชิกยอมรับให้เป็นองค์กรอิสระ ตาม[[กฎมนุษยธรรมนานาชาติ]] (International humanitarian law) แห่ง[[อนุสัญญาเจนีวา]] (Geneva Conventions) ซึ่งถือเป็นกฎหมายนานาชาติตามธรรมเนียม มีภาระกิจทั่วโลกในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม [[ผู้ลี้ภัย]] [[เชลยสงคราม]] และ[[พลเรือน]]ที่ได้รับผลกระทบ
 
การจัดตั้งสำนักงานของ ICRC นั้นขึ้นอยู่กับระดับของการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่นั้นๆ
ปัจจุบัน ICRC มีเจ้าหน้าที่ 11,000 คนปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
สำนักงานใหญ่ของ ICRC ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ทำงานครอบคลุมประเทศไทย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม
 
คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าคณะกรรมการระหว่างประเทศในกาชาดเป็นองค์กรเดียวคือคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งเรียกผิดว่า[[สภากาชาดสากล]] โดยคุ้ม[[สภากาชาดไทย]]และ[[วันกาชาดสากล]] แต่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ[[กาชาด]] (Movement of the Red Cross) เช่นเดียวกับ[[สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ]] (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) และ [[สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง]] (National Societies) 186 แห่ง
 
ด้วยหลักการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงที่เน้นการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้เราสามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือและปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของเหยื่อจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นได้ โดยการติดต่อพูดคุยกับคู่กรณีและกองกำลังทุกฝ่าย รวมถึงกลุ่มติดอาวุธ เรื่องการให้ความเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎข้อบังคับขั้นพื้นฐานต่างๆในการปกป้องบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง
 
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดและทรงเกียรติในขบวนการกาชาด และเป็นหนึ่งในการบริหารองค์กรที่ขยายตัวมากที่สุด โดยได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]]ถึง 3 ครั้งคือเมื่อ [[พ.ศ. 2460]] [[พ.ศ. 2487]] และ [[พ.ศ. 2506]]
 
ภารกิจของ ICRC
• การพยายามทำให้พลเมืองผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบและเหตุการณ์ความรุนแรงได้รับการละเว้นและปกป้อง
• เข้าเยี่ยมเชลยสงครามและผู้ต้องขังจากข้อหาความมั่นคง
• ส่งข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกในครอบครัวที่ต้องพลัดพรากเนื่องจากการสู้รบ
• สืบหาผู้สูญหายอันเนื่องมาจากสงครามและความไม่สงบ
• ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้านการแพทย์
• จัดหาอาหาร น้ำสะอาด สาธารณูปโภคและที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัยจากสงคราม
• เผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
• เฝ้าสังเกตการบังคับใช้เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
• ช่วยผลักดันการพัฒนาข้อกฎหมายและอนุสัญญาต่างๆให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
• ลดผลกระทบจากกับดักระเบิดและซากอาวุธอื่นๆที่มีต่อผู้คน
• ให้การสนับสนุนการทำงานของสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การสู้รบและความรุนแรงอื่นๆ
 
 
== ดูเพิ่ม ==