ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลมดาวฤกษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: pt:Vento estelar
Tony Patt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ลมดาวฤกษ์''' ({{lang-en|stellarStellar wind}}) คือการไหลของ[[แก๊ส]]ทั้งแบบธรรมดาและแบบมี[[ประจุ]]ออกจากชั้นบรรยากาศรอบนอกของ[[ดาวฤกษ์]] ซึ่งถูกขับออกมาโดยคุณลักษณะของ[[ขั้วแม่เหล็ก]]ที่ไหลออกจากดาวฤกษ์อายุน้อยซึ่งยังไม่ค่อยถูกชน อย่างไรก็ดี การไหลออกของลมดาวฤกษ์ไม่ได้เป็นไปในลักษณะสมมาตรของทรงกลม และดาวฤกษ์ต่างประเภทกันก็จะให้ลมดาวฤกษ์ออกมาที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน
 
ดาวฤกษ์ที่อยู่ในช่วงท้ายของ[[แถบลำดับหลัก]]ซึ่งใกล้จะสิ้นอายุขัยมักปล่อยลมดาวฤกษ์ที่มี[[มวล]]มากแต่ค่อนข้างช้า (<math>\dot{M} > 10^{-3}</math> [[มวลดวงอาทิตย์]]ต่อปี และ v = 10 กม./วินาที) ดาวเหล่านี้หมายรวมถึง[[ดาวยักษ์แดง]] [[ดาวยักษ์มหึมา]] และดาวในกลุ่ม [[asymptotic giant branchดาวสาขาเชิงเส้นกำกับยักษ์]] ลมดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนการขับเคลื่อนโดย[[แรงดันการแผ่รังสี]]ที่กระทำต่อฝุ่นซึ่งมีอยู่หนาแน่นในชั้นบรรยากาศรอบนอกของดาว
 
ดาวฤกษ์ประเภท G เช่น[[ดวงอาทิตย์]]ของโลกเรามีลมดาวฤกษ์ที่ขับเคลื่อนด้วย[[โคโรนา]][[แม่เหล็ก]]ที่ร้อนมาก มีชื่อเรียกว่า [[ลมสุริยะ]] ลมนี้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น[[อิเล็กตรอน]]และ[[โปรตอน]]พลังงานสูง (ประมาณ 1 keV) ซึ่งมีความสามารถพอจะหนีพ้นจาก[[แรงโน้มถ่วง]]ของดวงอาทิตย์ได้เพราะ[[อุณหภูมิ]]ของโคโรนาที่สูงมาก
 
ดาวฤกษ์มวลมากในประเภท O และ B จะมีลมดาวฤกษ์ที่มีปริมาณมวลน้อยกว่า แต่มีความเร็วสูงกว่า ลมกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยแรงดันการแผ่รังสีที่เกิดจากแถบการดูดกลืนแบบกำธรของอนุภาคมวลหนัก เช่น [[คาร์บอน]] และ[[ไนโตรเจน]]<ref>{{cite journal| url=http://adsabs.harvard.edu/abs/1975ApJ...195..157C| last= Castor| first=J.| coauthors=Abbott, D. C., & Klein, R. I.| title=Radiation-driven winds in Of stars| year=1975| journal=Astrophys. J.| volume=195| pages=157–174| doi=10.1086/153315}}</ref> ลมดาวฤกษ์พลังงานสูงเหล่านี้จะพัดพา[[ฟองลมดาวฤกษ์]] (stellar{{lang-en|Stellar wind bubble}}) ไปด้วย
 
แม้ลมดาวฤกษ์จากดาวในแถบลำดับหลักจะไม่ได้ส่งผลต่อ[[วิวัฒนาการของดวงดาว]] แต่ในช่วงท้ายเมื่อดาวฤกษ์อยู่ใกล้จะหลุดออกจากแถบลำดับหลัก ปริมาณมวลที่ดาวฤกษ์สูญเสียออกไปผ่านลมดาวฤกษ์จะมีส่วนในการตัดสินชะตาของดาวฤกษ์นั้น ดาวฤกษ์ที่มีมวลปานกลางจำนวนมากกลายไปเป็น[[ดาวแคระขาว]]ในท้ายที่สุดแทนที่จะระเบิดออกกลายเป็น[[ซูเปอร์โนวา]] เพราะมันสูญเสียมวลออกมากเกินไปจากลมดาวฤกษ์ของมัน