ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SasiG (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Ganges River Delta, Bangladesh, India.jpg|ภาพถ่ายจากดาวเทียมปาก[[แม่น้ำคงคา]]|thumb|250px|right]]
[[ไฟล์:Salween delta.jpg|ภาพถ่ายจากดาวเทียมปาก[[แม่น้ำสาละวิน]]|thumb|250px|right]]
 
'''ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ''' ({{lang-en|River Delta}}) ดินดอนปากแม่น้ำจะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็กๆ จำพวกทรายละเอียด และ โคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำเท่านั้นเมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือ[[ทะเลสาบ]] ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อยๆ สะสมตัวบริเวณตังกล่าว ในบางแห่งขณะ[[น้ำขึ้นน้ำลง]] กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลง ไม่อิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อยๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรก และนานๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำและในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา และในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิกกันด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทราย และตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัด หรือ งอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (Delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้าย[[สามเหลี่ยม]] ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ๆ เช่นในเอเชียเช่น [[แม่น้ำไทกรีส]]และ[[ยูเฟรตีส]]ใน[[อิรัก]] ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเลแต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} แม่น้ำพรมพรหมบุตรใน[[อินเดีย]]และ[[บังคลาเทศ]] ดินดอนบริเวณปาก[[แม่น้ำคงคา]]และ[[แม่น้ำพรหมบุตร]] แผ่ลงไปใน[[ทะเล]]มีระยะทางยาวกว่า 320 กิโลเมตร{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ส่วน[[แม่น้ำอิระวดี]]ใน[[พม่า]] ตะกอนพัดมาสะสมโดยบริเวณดังกล่าวทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตร{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} เป็นต้น
 
==ประเภท==
มีการจำแนกตามตัวควบคุมหลักในการตกสะสมตัวของตะกอน ซึ่งโดยปกติจะเป็นทั้ง [[แม่น้ำ]] [[คลื่น]] (Wave) และกระแสน้ำขึ้นลง (Tide)<ref>[http://www.maine.gov/doc/nrimc/mgs/explore/surficial/facts/dec03.htm]</ref> ปัจจัยในการควบคุมเหล่านี้มีผลต่อรูปร่างของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
 
'';การกระทำของคลื่นที่โดดเด่น''
มีการกัดเซาะเนื่องจากอิทธิพลของคลื่นเป็นตัวควบคุมรูปร่างของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แม้ว่าจะมีการกัดเซาะ แต่เมื่อเทียบปริมาณการสะสมตัวของตะกอนกับการถูกกัดเซาะ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็ยังสามารถสะสมตะกอนออกสู่ทะเลได้ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีการกระทำของคลื่นที่โดดเด่น เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ มักมีรูปลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
 
'';การกระทำของกระแสน้ำขึ้นลงที่โดดเด่น''
การกัดเซาะมีความสำคัญต่อดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความโดดเด่นของกระแสน้ำขึ้นลง ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น สามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้น้ำ และจะมีแนวสันทรายที่เด่นชัด ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดจากการกระทำของกระแสน้ำขึ้นลง มีความแตกต่างจากการกระทำของคลื่น และแม่น้ำ กล่าวคือ จะมีการแตกแขนงของแม่น้ำสายหลักไม่มาก ในขณะที่คลื่น หรือแม่น้ำ จะมีการแตกสาขาของทางน้ำที่มีตะกอนทรายละเอียดมาปิดทับ หรือเป็นทางน้ำที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ การแตกสาขาของทางน้ำบนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จะเกิดในช่วงที่บริเวณโดยรอบมีปริมาณน้ำมาก เช่น น้ำท่วม หรือการเกิดพายุ ทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายละเอียด อย่างช้าๆ จนกระทั่งมีอัตราการสะสมตะกอนคงที่