ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมนาไซด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tanitha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sooo20036 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
==แหล่งที่พบ==
ส่วนใหญ่พบในแหล่งแร่ดีบุกเกือบทุกแหล่ง ทั้งแหล่งลานแร่บนบก พบตามหาดทรายและตามท้องน้ำลำธารทั่วไปที่ใกล้ภูเขาหินแกรนิต หรือหินไนส์ อย่างไรก็ตาม ความสมบูรณ์ของแร่โมนาไซต์ เมื่อเทียบกับแร่ดีบุกแล้วต่ำมาก จากตัวอย่างหลุมสำรวจอาจเจอแร่โมนาไซต์ ตั้งแต่เพียงร่องรอย (Trace) หรือในปริมาณ ที่ต่ำกว่า 0.001% ในขณะที่แร่ดีบุก มีความสมบูรณ์พอที่จะทำเหมืองได้ตั้งแต่ 0.012% ขึ้นไป
 
==ปริมาณสำรอง==
แร่โมนาไซต์ จากการทำเหมืองแร่ดีบุกไม่อาจคำนวณได้โดยตรง จากความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ในพื้นที่เดิม เนื่องจากผู้ประกอบการเหมืองแร่ดีบุก ก่อนเปิดการทำเหมือง มักเจาะสำรวจหาแต่ความสมบูรณ์ของแร่ดีบุกเป็นหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตามเราอาจประเมินปริมาณ แร่พลอยได้ ชนิดต่างๆ จากแร่ดีบุกได้คร่าวๆ จากการวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ของแร่ขั้นต้น จากเหมืองและผลผลิตเฉลี่ยของแร่ดีบุกแต่ละเดือน โดยทั่วไปแล้วการเก็บข้อมูล จากปริมาณมูลแร่หนักหรือแร่คละของเหมืองและโรงแต่งแร่ จะทำให้ทราบปริมาณสำรองของแร่โมนาไซต์และแร่อื่นๆได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น จากการสำรวจของสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ภูเก็ต) เมื่อปี 2530 ถ้าจำนวนเหมืองแร่ดีบุก ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และชุมพร อยู่ระหว่าง 60-70 เหมือง จะได้ปริมาณแร่โมนาไซต์ จากการทำเหมืองแร่ดีบุกขณะนั้น ประมาณ 179-202 ตัน/ปี และปริมาณสำรองของแร่โมนาไซต์ จากกองมูลแร่หรือแร่คละมีมากกว่า 1,180 เมตริกตัน แร่โมนาไซต์ของประเทศไทยเคยมีผลผลิตและส่งออกเป็นปริมาณมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2517 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 รัฐบาล ได้มีนโยบายห้ามส่งออกแร่โมนาไซต์ จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. 2527 จึงได้ยกเลิกข้อห้ามอันนี้ และทำให้มีการผลิตและส่งออกแร่โมนาไซต์อีกครั้งหนึ่ง
 
==ผลผลิต==