ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
'''อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ''' เป็น[[อนุสาวรีย์]]ที่ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่าง[[ถนนพหลโยธิน]]กับ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304|ถนนแจ้งวัฒนะ]]และ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304|ถนนรามอินทรา]] ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ [[เขตบางเขน]] [[กรุงเทพมหานคร]] อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบ[[กบฎบวรเดช]] โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม
 
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำ[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] โดยยึดหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ<ref name="brain">[https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=49396 My First Brain] ''อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ'' เรียกข้อมูลวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554</ref> การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2479 มีการทำพิธีเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] ทรงประกอบพิธีเปิด
 
มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอยู่หลายครั้งโดยกรมทางหลวง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดโดยรอบอนุสาวรีย์ อาทิ การปรับภูมิทัศน์เป็นสี่แยกและการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ ในอนาคต มีโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้างอนุสารีย์เพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า[[บีทีเอส]] (สายสีเขียว) และ[[เอ็มอาร์ที]] (สายสีชมพู)
บรรทัด 32:
== รายละเอียดการก่อสร้าง ==
=== แนวคิดและลักษณะทางสถาปัตยกรรม ===
อนุสาวรีย์ได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยออกแบบลักษณะเป็นเสา และสื่อถึงหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ เสาของอนุสาวรีย์มีลักษณะคล้ายลูกปืน สื่อความหมายถึงกองทัพ ประดับกลีบบัว 8 ซ้อนขึ้นไป 2 ชั้น บนฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งหมายถึงทิศทั้งแปดตามคติ[[พราหมณ์]] ฐานของอนุสาวรีย์มี 4 ทิศ มีบันไดวนรอบฐาน ส่วนบนสุดของเสาอนุสาวรีย์เป็นพานรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึง รัฐธรรมนูญ<ref name="brain"/>
 
ผนังของเสาแต่ละด้านของอนุสาวรีย์มีการจารึกและประดับในเรื่องราวที่ต่างกันไป โดยผนังด้านทิศตะวันตกหรือผนังที่อยู่ด้านหน้าของถนนพหลโยธินมีการจารึกรายนามของทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิต ด้านทิศใต้เป็นรูปแกะสลักของครอบครัวชาวนาคือ พ่อ แม่ และลูก โดย ผู้ชายถือเคียวเกี่ยวข้าว ผู้หญิงถือรวงข้าว และเด็กถือเชือก ซึ่งสื่อถึงชาติและประชาชนในชาติ ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักรซึ่งหมายถึงศาสนา และด้านทิศใต้เป็นแผ่นทองเหลืองจารึกโคลงสยามานุสติ ซึ่งเป็นโคลงพระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งสื่อถึงพระมหากษัตริย์
 
== การปรับปรุงภูมิทัศน์ ==
การจราจรบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์มีความเนื่องแน่น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 กรมทางหลวงได้ปรับปรุงทางจราจรบริเวณอนุสาวรีย์โดยทุบพื้นที่โดยรอบเหลือเพียงแต่เสาอนุสาวรีย์ ทำเป็นสี่แยก ต่อมาได้ยกเลิกการใช้สี่แยกดังกล่าวเนื่องจากได้ขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์แทน ในปี พ.ศ. 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยในบริเวณวงเวียนหลักสี่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม กลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านการเคลื่อนย้ายดังกล่าว<ref>[http://thaienews.blogspot.com/2010/07/blog-post_05.html อำมาตย์รื้อย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฎเดือนนี้] เรียกข้อมูลวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554</ref> นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]]) เชื่อมต่อจาก[[สถานีหมอชิต]]ผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว และจะมีการก่อสร้าง[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู]]อีกด้วย
 
==อ้างอิง==