ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
ในสมัย[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในปี พ.ศ. 2475 โดย[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม รวมทั้งนายทหารอื่นๆ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงก่อการรัฐประหารโดยนำกองทหารเพชรบุรี โคราช และอุดร บุกเข้ายึดพื้นที่เขตดอนเมืองและบางเขนไว้ ภายหลังการปราบกบฎแล้วนั้น รัฐบาลจึงมีดำริก่อสร้างอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐินายทหารและตำรวจของรัฐบาลที่เสียชีวิตในการปฏิบัติการดังกล่าว จึงดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญในราวปี พ.ศ. 2479 โดยหลวงนฤมิตรเลขการเป็นผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479 โดย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] ทรงประกอบพิธีเปิด
 
== รายละเอียดการก่อสร้าง ==
=== แนวคิดและลักษณะทางสถาปัตยกรรม ===
อนุสาวรีย์ได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยออกแบบลักษณะเป็นเสา และสื่อถึงหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ เสาของอนุสาวรีย์มีลักษณะคล้ายลูกปืน สื่อความหมายถึงกองทัพ ประดับกลีบบัว 8 ซ้อนขึ้นไป 2 ชั้น บนฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งหมายถึงทิศทั้งแปดตามคติ[[พราหมณ์]] ฐานของอนุสาวรีย์มี 4 ทิศ มีบันไดวนรอบฐาน ส่วนบนสุดของเสาอนุสาวรีย์เป็นพานรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึง รัฐธรรมนูญ
 
ผนังของเสาแต่ละด้านของอนุสาวรีย์มีการจารึกและประดับในเรื่องราวที่ต่างกันไป โดยผนังด้านทิศตะวันตกหรือผนังที่อยู่ด้านหน้าของถนนพหลโยธินมีการจารึกรายนามของทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิต ด้านทิศใต้เป็นรูปแกะสลักของครอบครัวชาวนาคือ พ่อ แม่ และลูก โดย ผู้ชายถือเคียวเกี่ยวข้าว ผู้หญิงถือรวงข้าว และเด็กถือเชือก ซึ่งสื่อถึงชาติและประชาชนในชาติ ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักรซึ่งหมายถึงศาสนา และด้านทิศใต้เป็นแผ่นทองเหลืองจารึกโคลงสยามานุสติ ซึ่งเป็นโคลงพระราชนิพนธ์ใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งสื่อถึงพระมหากษัตริย์
 
=== การปรับปรุงภูมิทัศน์ ===
การจราจรบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์มีความเนื่องแน่น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 กรมทางหลวงได้ปรับปรุงทางจราจรบริเวณอนุสาวรีย์โดยทุบพื้นที่โดยรอบเหลือเพียงแต่เสาอนุสาวรีย์ ทำเป็นสี่แยก ต่อมาได้ยกเลิกการใช้สี่แยกดังกล่าวเนื่องจากได้ขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์แทน ในปี พ.ศ. 2553 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยในบริเวณวงเวียนหลักสี่ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม กลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านการเคลื่อนย้ายดังกล่าว นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]]) เชื่อมต่อจาก[[สถานีหมอชิต]]ผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว และจะมีการก่อสร้าง[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู]]อีกด้วย