ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่คูสค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
ทางตอนเหนือ กองทัพที่ 9 ได้เคลื่อนย้ายมาจากแนวรบเรซเฮฟมายังโอเรล และทำการเคลื่อนทัพจาก Maloarkhangelsk ไปยังเคิร์สก์ แต่กลับหยุดชะงักที่ Olkhovatka ซึ่งห่างจากเป้าหมายอยู่ 8 กิโลเมตร กองทัพที่ 9 สูญเสียกำลังพลในการรุกจากทุ่งระเบิดของโซเวียต ทำให้เส้นทางการรุกต้องเปลี่ยนจาก Olkhovatka เป็น Ponyri ซึ่งอยู่ทางตะวันตกแทน แต่ว่ากองทัพที่ 9 ก็ไม่อาจฝ่าแนวป้องกันของโซเวียตได้ กองทัพโซเวียตจึงทำการโต้กลับ โดยในวันที่ 12 กรกฎาคม กองทัพแดงได้ทำการรบผ่านแนวเขตระหว่างกองพลที่ 211 กับกองพลที่ 293 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Zhizdra และเคลื่อนทัพไปยัง Karachev ซึ่งอยู่หลังแนวรบเยอรมันและโอเรล
 
การรบที่เคิร์สก์ส่วนทางด้านทิศใต้ การบุกของฝ่ายเยอรมันนำโดยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเฮอร์มันน์เฮอร์แมน ฮอธ ซึ่งเบิกทางโดยเหล่ารถถังสามเหล่า กองทัพเยอรมันได้แยกออกโจมตีเป็นสองทางของ upper Donets เป็นช่องทางแคบ ๆ เหล่ารถถังเอสเอสและกองพล Großdeutschland Panzergrenadier ได้สู้รบผ่านทุ่งระเบิดเพื่อมุ่งหน้าสู่ Oboyan การป้องกันอย่างแข็งขันของฝ่ายโซเวียตทำให้กองทัพเยอรมันต้องเปลี่ยนการบุกจากทางตะวันออกไปเป็นตะวันตกของแนวรบ แต่ว่าเมื่อเคลื่อนทัพต่อไปอีก 25 กิโลเมตรก็เผชิญหน้ากับกำลังเสริมของกองทัพรักษาการณ์รถถังที่ 5 ของโซเวียตนอกเมือง Prokhorovka การรบเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยมีรถถังเข้าทำการรบมากกว่าหนึ่งพันคัน หลังจากสงคราม ได้มีการบรรยายว่าการรบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นยุทธการถถังที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การเผชิญหน้ากันครั้งนั้น ฝ่ายโซเวียตผู้ตั้งรับได้รับชัยชนะ แม้ว่าจะประสบความสูญเสียอย่างหนักก็ตาม และเป็นผลให้กองทัพเยอรมันต้องหยุดชะงักไป
 
เมื่อพ้นวันที่ 12 กรกฎาคม การรบของทั้งสองฝ่ายก็หยุดชะงักไปชั่วขณะหนึ่ง แต่นายพลเมนไตน์มันสไตน์พยายามที่จะเข้าตีกองทัพโซเวียตอีกครั้งด้วยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 แต่ว่าประสบความล้มเหลว และปฏิบัติการซิทาเดลของเยอรมันก็หยุดไปด้วย ผลของการโจมตีกลับของโซเวียตได้ทำให้แนวรบของกองทัพที่ 9 ของเยอรมันถูกเจาะเข้ามา นอกจากนั้น ฮิตเลอร์ยังต้องหันความสนใจไปยังการยกพลขึ้นเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 10 กรกฎาคม ทำให้ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้ยุติปฏิบัติการครั้งนี้ และปฏิบัติการซิทาเดลนี่เองที่เป็นการบุกครั้งสุดท้ายของฝ่ายเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออก ทางด้านกองทัพโซเวียตก็สามารถโจมตีดินแดนคืนได้ออกจนถึงเดือนสิงหาคม ผลจากยุทธการแห่งเคิร์สก์ทำให้ยุทธศาสตร์ของเยอรมันตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก บั่นทอนความสามารถของกองทัพและเป็นส่งผลกระทบต่อสงครามในอนาคตอย่างไม่อาจกู้คืน