ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Likekhankluay (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Likekhankluay (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 3061657 สร้างโดย Likekhankluay (พูดคุย)
บรรทัด 1:
มูลนิธิเทียนฟ้า และศาลเจ้าแม่กวนอิม ๑ ใน ๖ มงคลสถานในเยาวราช
มูลนิธิเทียนฟ้าตั้งขึ้นเมื่อ ร.ศ.๑๒๗ เป็นมูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย โดยการรวมตัวของชาวจีนกลุ่ม ๕ ภาษา ได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อสงเคราะห์ผู้ป่วยไข้ที่ยากไร้ ให้ได้รับการรักษาพยาบาล มีทั้งการรักษาแบบแพทย์ปัจจุบัน และแพทย์แผนจีน
ศาลเจ้าแม่กวนอิม ตั้งขึ้นมาแต่เดิม องค์เจ้าแม่อัญเชิญมาจากจีน ราว พ.ศ.๒๕๐๑ องค์เจ้าแม่กวนอิมเป็นไม้แกะสลัก ศิลปะแบบราชวงศ์ถัง ปางประทานพร แกะสลักจากไม้เนื้อหอมลงรักปิดทอง เศียรมีรูปพระโพธิสัตว์
มือชี้หมายถึงการแผ่เมตตา ๓ ภพ คือสวรรค์ โลกมนุษย์และใต้พิภพเครื่องทรงสไตล์อินเดีย รูปร่างกำยำล่ำสัน เท้าใหญ่ดูไม่เหมือนผู้หญิง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและ
ความเชื่อ ศรัทธาเชื่อถือกันอย่างมาก โดยเฉพาะกับญาติของผู้ป่วย ที่มักจะมาอธิษฐานต่อพระแม่กวนอิมให้หายจากอาการป่วยไข้
ความเชื่อในการมากราบเจ้าแม่กวนอิมที่มูลนิธิเทียนฟ้า ก็เพื่อขอพรให้คุ้มครองดูแลสุขภาพ
โรงพยาบาลเทียนฟ้ากับภาระที่ต้องดูแลเหล่าผู้ป่วยไร้ญาติขาดมิตร โดยไม่มีการปฏิเสธและไม่นำเรื่อง "เงิน"มาเป็นตัวตั้ง ทุกครั้งที่มีผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก้าวเข้ามาใน "โรงพยาบาลเทียนฟ้า" แพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกคนจะให้การต้อนรับ ดูแลรักษาผู้ป่วยเท่าเทียมกัน เสมือนผู้ป่วยคนนั้นเป็นญาติคนหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และยากดีมีจนอย่างไรก็รับไว้หมด ไม่เคยปฏิเสธคนไข้แม้แต่รายเดียว
แถมถ้าแพทย์ตรวจผู้ป่วยแล้วพบว่า มีอาการหนักและโรงพยาบาลไม่มีเครื่องมือในการเยียวยารักษาก็จะส่งต่อไปให้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รักษา และถ้าผู้ป่วยรายนั้นได้รับการรักษาอยู่ในขั้นปลอดภัยและต้องการมาพักฟื้น ที่เทียนฟ้า ก็ไม่มีปัญหา ทางโรงพยาบาลพร้อมที่จะดูแลจนกว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติอีกด้วย
ที่น่าสลดหดหู่ใจก็คือ ผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุเกือบทั้งสิ้น และแทบจะไม่พบว่ามีลูกหลานมานั่งหรือคอยมาเป็นกำลังใจอยู่รอบเตียงเหมือนกับ สถานพยาบาลแห่งอื่นๆ เลย
น.พ.ประมวล เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทียนฟ้า อธิบายถึงที่มาของการตั้งโรงพยาบาลว่า ต้องช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคร้ายให้ได้ หรือผู้ป่วยรายนั้นหมดหนทางในการเยียวยารักษาแล้วจริงๆ ก็ต้องช่วยให้ผู้ป่วยตายจากไปอย่างไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน
คลินิกแพทย์แผนโบราณซึ่งเปิดให้การรักษาฟรี เดิมโรงพยาบาลเทียนฟ้า ชื่อว่าโรงพยาบาลเทียนฮั้วอุยอี้ ก่อตั้งเมื่อปี ๒๔๔๗ โดยคหบดีชาวจีน ๖ คนที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งคหบดีเหล่านี้เห็นความทุกข์ของพี่น้องชาวจีนที่บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องกระเซอะกระเซิงจากแผ่นดินใหญ่มาพึ่งแผ่นดินไทย
ครั้นคนกลุ่มนี้มีอายุมากขึ้นทำงานไม่ไหว ประกอบกับร่างกายทรุดโทรม โรคภัยไข้เจ็บมารุมเร้า แถมไม่มีเงินซื้อยามาบรรเทาอาการเจ็บป่วย จึงทำให้มีปัญหาในการรักษาพยาบาล
จากจุดนี้เอง คหบดีจึงรวมกลุ่มกันตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้าขึ้น เพื่อที่จะรักษาผู้ยากไร้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เชื้อชาติ และศาสนา กล่าวคือ ใครเจ็บป่วยเดินเข้าไปรับการรักษาได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
"เมื่อแรกที่ก่อตั้งเรารักษาด้วยสมุนไพร โดยแพทย์แผนโบราณชาวจีน และมีเพียงอาคารตึก และเรือนไม้เล็กๆ ๒ ชั้น ๕ หลังเท่านั้น รับคนไข้ได้ประมาณ ๒๐๐ คน ถัดมาอีก ๕๐ ปี เริ่มขยับขยายโดยสร้างอาคาร ๗ ชั้นขึ้นด้านหลัง แล้วเปิดแผนกแพทย์แผนปัจจุบันขึ้น รองรับผู้ป่วยได้ประมาณ ๒๐๐ คน มีบุคลากรทางการแพทย์เกือบทุกด้าน ทันตแพทย์ และเภสัชกร ประมาณ ๒๐ คน มีแพทย์แผนโบราณ ๑๐ คน"
น.พ.ประมวล เล่าเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่มารักษากับแพทย์แผนโบราณ โรงพยาบาลไม่ได้เก็บค่ารักษาพยาบาลแม้แต่บาทเดียว แถมยังต้มยาให้ผู้ป่วยกินด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มารักษากับแพทย์แผนปัจจุบันก็คิดในราคาต่ำมากกว่า อย่างคนไข้ในพักห้องธรรมดาหรือห้องรวมคิดวันละ ๒๕ บาท ห้องพิเศษวันละ ๓๕๐ บาท (มีอาหารให้ ๓ มื้อ)
อย่างไรก็ตาม ถ้าคนไข้รายไหนไม่มีเงินจริงๆ ก็ไม่เก็บเงิน ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับโรงพยาบาลมานานและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจของทั้งผู้ป่วยและไม่ป่วย
"ทุกวันนี้คนไข้ที่มาพักรักษากับเราส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธมาจากที่อื่น และเห็นว่า เทียนฟ้า น่าเป็นที่พักพิงสุดท้ายในบั้นปลายชีวิต คนไข้บางรายไม่มีญาติ บางรายญาติไม่อยากรับภาระก็มาทิ้งไว้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร โรงพยาบาลก็รักษาคนไข้ทุกรายอย่างดีที่สุด"
ในเมื่อเก็บค่ารักษาต่ำและมีคนไข้อนาถาเกินครึ่งโรงพยาบาลเทียนฟ้าอยู่ได้อย่างไร?
น.พ.ประมวล อธิบาย อยู่ได้จากผู้มีจิตศรัทธามาบริจาคให้โรงพยาบาล อีกทั้งแพทย์ที่มารักษาส่วนใหญ่จะมาทำงานด้วยใจ ทำงานโดยไม่ได้หวังร่ำรวยหรืออยากได้เงินทอง แพทย์บางคนมารักษาตรวจคนไข้ให้ฟรี บางคนคิดเงินเดือนต่ำมาก แถมแพทย์บางรายสงสารคนไข้ยังควักเงินให้อีก
สิ่งเหล่านี้ ทำให้โรงพยาบาลยืนหยัดอยู่ได้จนครบ ๑๐๐ ปีในปี ๒๕๔๗
"นับแต่รัฐบาลมีโครงการ ๓๐ บาท มีผู้ป่วยมาใช้บริการลดลง และจากการสอบถามผู้ที่เคยมารักษา ตอบในทิศทางเดียวกันว่า พวกเขาไม่อยากเบียดเบียนมูลนิธิ และมูลนิธิจะได้นำเงินที่ผู้มีจิตศรัทธามารักษาผู้ป่วยที่ไม่มีเงินจริงๆ แทน