ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแผลงเป็นไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16:
เป็นนโยบายที่มีผลทั่วประเทศ แต่ได้มีผลกระทบต่อพวกที่อยู่บริเวณชายขอบอย่างไม่สมส่วน ตัวอย่างหนึ่งของนโยบายนี้ ได้แก่ การบังคับให้ใช้ภาษาไทยในโรงเรียน ซึ่งมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชาวไทยกลางที่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่มีผลกระทบต่อผู้พูดภาษาถิ่นในภาคอีสาน [[คำเมือง]]ในภาคเหนือ และ[[ภาษายะวี]]ในภาคใต้ มาตรการรุนแรงได้ถูกใช้กับชาวไทยเชื้อสายจีน หลังจากที่[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 รัฐบาลต่อต้าน[[คอมมิวนิสต์]]หลายชุด ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ได้ลดจำนวนผู้อพยพชาวจีนอย่างรุนแรงและสั่งห้ามโรงเรียนมัธยมศึกษาภาษาจีนทั้งหมดในประเทศไทย ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เกิดหลังคริสต์ทศวรรษ 1950 มี "โอกาสจำกัดมากที่จะเข้าโรงเรียนภาษาจีน" ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอันจะกินได้ส่งเสียบุตรไปศึกษาภาษาอังกฤษต่อยังต่างประเทศแทนภาษาจีนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือ ชาวจีนในประเทซไทย "เกือบจะสูญเสียภาษาของบรรพบุรุษอย่างสิ้นเชิง" และค่อย ๆ สูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นจีนของตนไป
 
==== การกระตุ้นชาตินิยม ===
{{โครงส่วน}}
เป็นนโยบายซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชากรของประเทศ ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่ การนำเสนอ[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]เป็นประมุขแห่งชาติ การเคารพธงชาติในโรงเรียน และการออกอากาศ[[เพลงชาติไทย]]สองครั้งทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกวัน เวลา 8.00 น. และ 18.00 น. การกระตุ้นชาตินิยมไทยนี้มีผลข้างเคียงอย่างชัดเจนซึ่งลดความจงรักภักดีในบางกลุ่ม อย่างเช่น ชาวลาวในภาคอีสาน และชาวมลายูทางใต้
 
=== การเพิ่มบทบาทของรัฐ ===
เป็นนโยบายซึ่งอาจมิใช่ชาตินิยมอย่างเด่นชัด แต่กระนั้นก็สามารถสนับสนุนความเป็นชาตินิยมขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการเข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งเมื่อประกอบกับการบังคับห้ามสอนภาษาชนกลุ่มน้อยในโรงเรียน ทำให้มีผลลดการใช้ภาษาเหล่านั้น และหันมาใช้ภาษาไทยแทน
 
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]