ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jame (คุย | ส่วนร่วม)
Jame (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47:
[[เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] หรือ ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลงส่งเสียงเชียร์ ประกอบ[[รหัสสัญญาณ]] การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมเพรียง มีพลัง ความสวยงาม และความสนุกสนานของการเชียร์และแปรอักษรโดยเฉพาะงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
 
การนำเชียร์เป็นกลุ่มเริ่มพัฒนาอย่างจริงจังประมาณปี พ.ศ. 2525 โดยเริ่มจากกลุ่มตัวแทนและนิสิตนักศึกษาจากจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ร่วมกันคิดค้นท่าทางสำหรับการนำเชียร์เพลงประจำสถาบัน"[[ยูงทอง]]" และ "[[มหาจุฬาลงกรณ์]]"ของทั้งสองมหาวิทยาลัยร่วมกัน โดยใช้ท่าทางที่มีความหมายตรงกับเนื้อหาของเพลงทั้งสอง เช่น ท่า[[ตึกโดม]] ท่า[[พระเกี้ยว]] ท่า[[ธรรมจักร]] รวมถึงท่าทางพื้นฐานอื่น ๆ โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก [[ผู้ควบคุมวงดนตรี]]หรือ [[วาทยากร]] ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่ หรือ การร้องประสานเสียง เนื่องจากผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์ ส่วนทางทีมนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้ต้นแบบของการเต้นบัลเลต์ โขน และลีลาศ ในการนำเชียร์ประกอบเพลงสถาบันซึ่งเหมาะสมกับท่วงทำนองที่ไพเราะของเพลงสถาบันของจุฬาฯ
 
เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รู้เป็นได้รับเกียรติขั้นสูงสุด เมื่อ [[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา]] ทรงร่วมเป็นเชียร์ลีดเดอร์ธรรมศาสตร์เมื่อครั้งงานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 55 นำเชียร์ในเพลง แผ่นดินของเรา ช่วงการแสดงพักครึ่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา
 
====ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์====