ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนนางกรุงศรีอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Vitaya1985 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
สิทธิของขุนนางก็มีข้อจำกัดขอบเขตสิทธิเช่นกัน เช่น ความสูงศักดิ์ของการเป็นขุนนางมีเฉพาะตน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงลูกหลานได้ การทำเกินยศศักดิ์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่และมีไพร่เกินฐานะ มีโทษถูกริบไพร่ทั้งหมด ให้ออกจากราชการ ถ้าขุนนางตาย บุตรภรรยาหรือญาติพี่น้องต้องทำบัญชีแจ้งทรัพย์สินทั้งหมดเรียกว่า พัทธยา เพื่อกราบทูล เพื่อทรงพิจารณาว่าจะเรียกทรัพย์สินที่พระราชทานไปใก้กลับมาประการใดบ้าง จะต้องคืนพัทธยาได้แก่ราชการและยังต้องแบ่ทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งให้แก่พระคลังหลวงอีกด้วย เป็นการควบคุมความมั่งคั่งของขุนนางทางหนึ่งมิให้มีทรัพย์เป็นมรดกมากเกินไป
 
== ค่าตอบแทนจากรัฐ ==
== รายได้ ==
ขุนนางไม่มีเงินเดือน แต่จะได้รับเบี้ยหวัดเงินปีจากพระมหากษัตริย์ ได้มากหรือน้อยขึ้นกับยศศักดิ์ แต่รายได้หลักมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ถ้ากรมกองใดงานในหน้าที่อำนวยให้มีรายได้มาก เช่น เก็บภาษีอากร ค่าฤชาการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ ขุนนางในกรมนั้นจะได้รายได้สูงไปด้วย ทั้งนี้ เพราะขุนนางสามารถจัดเก็บรายได้ส่วนหนึ่งไว้แบ่งจ่ายเฉลี่ยกันเองในกรม โดยนำส่วนหนึ่งเข้าท้องพระคลัง ซึ่งขุนนางก็สามารถจะปิดบังรางได้ที่แท้จริง เพื่อให้เข้าพระคลังน้อยและไว้แบ่งปันกันเองให้มาก การทุจริตในหน้าที่ต่างๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่แพร่หลาย และปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นประเพณี