ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเลจพีเพิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sk:Village People
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 วงมีชื่ออยู่บน[[ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม]]<ref>http://articles.latimes.com/2008/sep/13/local/me-village13</ref> มียอดขายมากกว่า 50 ล้านชุดทั่วโลก<ref>[http://www.ew.com/ew/article/0,,314889,00.html Music | Encore | Village People: "Macho Man"] by [[Entertainment Weekly]]. ''Retrieved on August 22, 2009''</ref>.
 
== ประวัติวง ==
วิลเลจพีเพิลก่อตั้งขึ้นในปี 1977 โดย แจ็ค โมราลี่ (Jacques Morali) นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์, เฮนรี่ เบโลโล (Henri Belolo) ผู้ดูแลทางธุรกิจ และ วิคเตอร์ วิลลิส (Victor Willis) นักร้องนำ ที่ต้องการจะสร้างวงแด๊นซ์ที่มีสีสันไม่เหมือนใคร ทางวงจึงควานหานักเต้นสำหรับการแสดงสด ในช่วงแรกได้โรส และ ไบรลีย์ (ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานอีกด้วย) มาเป็นนักเต้น และนักเต้นอีกจำนวนหนึ่งในแต่ละบทบาท ไม่นานจึงได้ โฮโด,ฮิวส์,โจนส์ มาแทนในแต่ละตำแหน่ง วิลเลจพีเพิลในยุคที่วิลลิสเป็นนักร้องนำนั้น ตั้งแต่ปี1977 จนถึง1979 สร้างอัลบั้มออกมาห้าชุดด้วยกัน และมีเพลงฮิตเด่นๆเช่น "Go West" "In The Navy" "San Francisco" "Macho Man" และที่ฮิตที่สุด "YMCA" ในช่วง Live & Sleazy ในปี1979 วิลลิสออกจากวง และแทนที่ด้วย เรย์ ซิมพ์สัน และนั่นคือจุดตกต่ำของวง
 
ผลงานชิ้นโบแดงต่อมา ภาพยนตร์และซาวด์แทรค "Can't Stop The Music" ประสบความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าในเรื่องรายได้และคำวิจารณ์ แต่ในเวลาต่อมาก็กลายเป็นหนังคัลต์ หลังจากนี้ เจฟฟ์ โอลสัน มาเป็นคาวบอยแทนโจนส์ และอัลบั้มสามชุดหลังต่อมา "Renaissance" (1981), "Fox on the box" "In The Street" (1982/1983 อัลบั้มเดียวกันแต่วางขายคนละค่าย และยังเป็นอัลบั้มที่วิลลิสเข้ามากอบกู้สถานการณ์ และมาร์ค ลีเข้ามาแทนโฮโด) และ Sex Over The Phone (1985 เปลี่ยนนักร้องนำเป็นเรย์ สตีเฟ่นส์) ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ปี1986 ทางวงจึงยุบวง แต่ก็กลับมาในปี1989 โดยสมาชิกยุคดั้งเดิมทั้งหมดกลับมา ยกเว้นนักร้องนำที่เรย์ ซิมพ์สันยังทำหน้าที่นี้อยู่ ในไลน์อัพนี้ออกซิงเกิ้ล "Livin In The Wildlife" ในปีเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเพลง "Faraway In America" ในปี1994 ซึ่งเป็นเพลงที่วงทำร่วมกับทีมชาติเยอรมัน เพื่อใช้ในฟุตบอลโลก 1994 ที่อเมริกาเป็นเจ้าภาพ (โอลสันกลับมาแทนโจนส์ และยังเป็นซิงเกิ้ลสุดท้ายที่ฮิวส์ทำกับวงอีกด้วย) เอริค อันซาโลเน่เข้ามาแทนฮิวส์ในปี1995 และปัจจุบัน วิลเลจ พีเพิลก็ยังคงทัวร์ตามสถานที่ต่างๆทั่วโลก
 
โมราลี่ตายด้วยโรคเอดส์ในปี 1991, สตีเฟ่นส์ตายในปี 1990 และฮิวส์ตายด้วยมะเร็งปอดในปี 2001 โจนส์ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง วิลลิสมีปัญหาชีวิตส่วนตัวในเรื่องยาเสพติดและปัญหาสุขภาพ และพยายามจะกลับมาสร้างผลงานอีกครั้ง ส่วนลีกลับไปทำงานด้านสถาปนิกและเล่นเปียโนตามร้านต่างๆในอเมริกา
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}