ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักพรต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ตัด "พระ" ออก
บรรทัด 1:
'''นักพรต''' ({{lang-en|monk}})<ref name="แก่นปรัชญายุคกลาง">กีรติ บุญเจือ, ''แก่นปรัชญายุคกลาง'', พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131</ref> คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตน<ref name="พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒'', กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 131</ref> นักพรตมีทั้งแบบที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเรียกว่า[[ฤๅษี]] (hermit) และอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใน[[อาราม]] (monastery) ลักษณะการดำรงชีวิตของนักพรตเรียกว่า'''ลัทธิพรตนิยม''' (monachism)<ref>กีรติ บุญเจือ, หน้า 89</ref> หรือ[[ระบบสำนักสงฆ์|ลัทธิอารามวาสี]]<ref name="ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์">เคนเน็ธ สก๊อตท์ ลาทัวเร็ทท์, ''ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์'', แปลโดย ธนาภรณ์ ธรรมสุจริตกุล และสิธยา คูหาเสน่ห์, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพฯ, 2551, หน้า 297</ref> (monasticism)
 
==นักพรตในพระพุทธศาสนา==
 
[[ไฟล์:Phutthamonthon Buddha.JPG|200px|thumb|[[สามเณร]]ชาวไทย ที่พุทธมณฑล]]
 
ใน[[พระพุทธศาสนา]]มีทั้งนักพรตชาย (monk) และนักพรตหญิง (nun) นักพรตชายเรียกว่า[[ภิกษุ]]และ[[สามเณร]] นักพรตหญิงเรียกว่า[[ภิกษุณี]] [[สิกขมานา]] และ[[สามเณรี]] นอกจากนี้ยังมีนักพรตในรูปแบบอื่นๆ เช่น [[โยคี]] [[แม่ชี]] เป็นต้น
 
ภิกษุเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ[[พระพุทธเจ้า]]ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่[[ปัญจวัคคีย์]]ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นับจากนั้นก็ทรงอุปสมบทกุลบุตรอื่นๆ เรื่อยมา ทั้งยังทรงอนุญาตการบวชแบบ'''ติสรณคมณูปสัมปทา'''และ'''จตุตถกัมมอุปสัมปทา''' ซึ่งเป็นการบวชที่สาวกดำเนินการได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องกราบทูลให้พระองค์ทราบ ติสรณคมณูปสัมปทาปัจจุบันใช้สำหรับการบวชสามเณร ส่วนจตุตถกัมมอุปสัมปทาใช้กับการบวชพระภิกษุ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นักพรต"