ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขาปีนาตูโบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
 
== การระเบิดเมื่อปี พ.ศ. 2534 ==
การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากสงบลง 600 ปี พื้นที่โดยรอบ 20 กิโลเมตรรู้สึกถึงการระเบิดและถูกปกคลุมด้วยเถ้าภูเขาไฟจนมืดมิดทันที เกิดสะเก็ดภูเขาไฟทำลายสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ [[ลาวา]]ที่ไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเข้าทำลายบ้านเรือนประชาชน เกิด[[โคลนถล่ม]]และ[[น้ำท่วม]] และก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ถึง 25 ไมล์ และได้ไปผสมกับความชื้นทำให้เกิดเป็นเมฆปกคลุมอยู่รอบโลกถึง 21 วัน นักธรณีวิทยาได้กล่าวไว้ว่า การระเบิดครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงและยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการจดบันทึกไว้ โดยกลุ่มก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจะยังคงปกคลุมและหมุนอยู่รอบโลกไปอีกถึง 5 ปี คาดว่ามีประมาณ 20 ล้านตัน ถึงแม้ว่าการระเบิดของภูเขาพินาตูโบจะส่งสารเคมีไปทั่วโลกทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ อาคารหลายแห่งถล่มลงมาเพราะการทับถมของหินพุมมิซ ทำให้ทางการเร่งอพยพประชาชนกว่า 40,00 - 331,00 คนออกจากพื้นที่ โรงเรียนหลายแห่งถูกปิด และมีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพราะเถ้าภูเขาไฟเป็นจำนวนมาก'''<ref>[http://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Pinatubo]</ref>'''
'''== ผลกระทบจากการระเบิด''' ==
ขณะการระเบิดหลายพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ระบบสารณูปโภคได้รับความเสียหาย ทางการระงับเที่ยวบินที่มุ่งหน้าผ่าเกาะลูซอนทั้งหมด
มีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิด 2.1 ล้านคน มีผู้เสียชิวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 857 คน ความเสียหายประเมินเป็นมูลค่า 3925.5 ล้าน[[เปโซ]] พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายไป 150 ตารางกิโลเมตร พื้นที่การเกษตรเสียหาย 800 ตารางกิโลเมตร ทางด้านปศุสัตว์มีสัตว์เลี้ยงของเกษตกรตาย 800,000
 
== ผลกระทบในประเทศไทย ==
 
[[ประเทศไทย]]ได้รับผลกระทบจากเถ้าภูเขาไฟที่จังหวัด[[สงขลา]] [[นราธิวาส]]และ[[ปัตตานี]] เกิดมลภาวะทางอากาศ และแหล่งน้ำของประชาชน รวมทั้งปัญหา[[โรคทางเดินหายใจ]]ด้วย