ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลเฟรด เวล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
|occupation = ช่างเครื่อง, นักประดิษฐ์
}}
'''อัลเฟรด ลิวอิส เวล''' (Alfred Vail) (25 กันยายน ค.ศ. 1807 — 18 มกราคม ค.ศ. 1859) เป็นช่างเครื่องและนักประดิษฐ์ เวลเป็นศูนย์กลาง ร่วมกับ[[ซามูเอล มอร์ส]] ในการพัฒนาและการประกอบธุรกิจ[[โทรเลข]]ระหว่าง ค.ศ. 1837 ถึง 1844<ref name="parks.morris.nj.us">[http://www.parks.morris.nj.us/speedwell/tel/tel.html]</ref> เวลและมอร์สเป็นสองผู้ควบคุมโทรเลขในสายทดลองแรกของมอร์สระหว่าง[[วอชิงตัน ดี.ซี.]] กับบัลติมอร์ และเวลเป็นผู้ควบคุมอาคารและจัดการสายโทรเลขหลายสายในช่วงเริ่มแรกระหว่าง ค.ศ. 1845 และ 1848 เขายังรับผิดชอบต่อนวัตกรรมทางเทคนิคต่อระบบของมอร์สเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แป้นส่งและรีเลย์แม่เหล็ก เวลปลีกตัวจากอุตสาหกรรมโทรเลขใน ค.ศ. 1848 เนื่องจากเขาเชื่อว่าผู้จัดการสายของมอร์สไม่ได้ให้คุณค่าแก่การมีส่วนร่วมของเขาสักเท่าใด งานสุดท้ายของเขา คือ การเป็นผู้จัดการบริษัทโทรเลขวอชิงตันและนิวออร์ลีนส์ ซึ่งสร้างรายได้เพียง 900 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี โดยเขาเขียนจดหมายถึงมอร์สว่า "ผมได้ตัดสินใจที่จะปล่อยให้โทรเลขเป็นไปตามยถากรรม เพราะมันไม่สามารถดูแลผมได้เลย..."<ref>Morse, Edward L., ed. Samuel F. B. Morse, His Letters and Journals. New York, 1914</ref>
 
== ชีวประวัติ ==
บรรทัด 18:
อัลเฟรดเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ก่อนที่จะเข้าทำงานเป็นช่างเครื่องในโรงงานผลิตเหล็ก เขาเข้าศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]]ในด้าน[[เทววิทยา]] ใน ค.ศ. 1832 ที่ซึ่งเขาเป็นนักเรียนที่กระตือรือร้นและประสบความสำเร็จ โดยสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1836<ref name="parks.morris.nj.us" /> การเดินทางเยี่ยมโรงเรียนเก่าเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1837 ทำให้เขาได้เป็นพยานเห็นหนึ่งในการทดลองโทรเลขครั้งแรก ๆ ของซามูเอล มอร์ส เขาได้มีความสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นอย่างมาก และเจรจาข้อตกลงกับมอร์สเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวที่สปีดเวลล์ โดยที่เขาจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง แต่จะได้รับผลตอบแทนเป็น 25% ของรายได้ อัลเฟรดได้แตกหุ้นของเขากับน้องชาย จอร์จ เวล เมื่อมอร์สว่าจ้างฟรานซิส สมิธ สมาชิกรัฐสภาจาก[[รัฐเมน]] เป็นผู้ช่วยงาน เขาได้ลดสัดส่วนถือหุ้นของเวลเหลือหนึ่งในแปด มอร์สผูกขาดสิทธิบัตรในทุกสิ่งที่เวลได้พัฒนาขึ้น
 
หลังจากได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบิดา เวลได้ปรับปรุงต้นแบบโทรเลขของมอร์ส เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำเสนอต่อสาธารณะและการนำไปประกอบธุรกิจ การสื่อสารด้วยโทรเลขประสบความสำเร็จครั้งแรกที่สปีดเวลล์ไอร์ออนเวิร์กส์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1838 โดยส่งข้อความผ่านสายโทรเลขยาว 3 กิโลเมตร ข้อความดังกล่าวเขียนว่า "ผู้ที่อดทนรอไม่ใช่ผู้แพ้" ตลอดเวลาอีกหลายเดือนต่อมา มอร์สและเวลได้แสดงโทรเลขต่อสถาบันแฟรงกลินของฟิลาเดลเฟีย สมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดี[[มาร์ติน แวน บิวเรน]] ตลอดจนสมาชิกคณะรัฐมนตรี การแสดงดังกล่าวมีความสำคัญต่อการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐสภาจำนวน 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ในการสร้างสายโทรเลขสายแรกใน ค.ศ. 1844 จากวอชิงตันไปยังบัลติมอร์
 
มีข้อถกเถียงกันไม่น้อยว่า ระหว่างเวลหรือมอร์ส ผู้ใดเป็นผู้คิดค้น "[[รหัสมอร์ส]]" นักวิชาการจำนวนหนึ่งเห็นว่าแท้ที่จริงแล้ว เวลเป็นผู้คิดค้นรหัสดังกล่าว<ref>Pope, Franklin Leonard. "The American Inventors of the Telegraph, with Special References to the Services of Alfred Vail." Century Illustrated Magazine 35 (April 1888), 924–45.