ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
มีการโต้แย้งอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความยุติธรรมและผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้นตามมาจากการเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามทั้งก่อนหน้าและหลังจากการเผยแพร่และลงนามใน[[สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (1919)|สนธิสัญญาแวร์ซายส์]] และสนธิสัญญาอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1919 สำหรับกรณีที่มีชื่อเสียงที่สุด ผู้แทนคนสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ ณ ที่ประชุมสันติภาพปารีส [[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]] ได้ลาออกจากกระทรวงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1919 เพื่อเป็นการประท้วงต่อจำนวนเงินมหาศาลที่กำหนดเป็นค่าปฏิกรรมสงครามดังกล่าว และยังได้ประท้วงอย่างเปิดเผยในหนังสือขายดี ''The Economic Consequences of the Peace (1919)'' (ผลลัพธ์ของสันติภาพในทางเศรษฐกิจ)<ref name= "Markwell p. 777">{{harvnb|Markwell|2006|p=777}}</ref>
 
[[แผนการดอวส์]] ใน ค.ศ. 1924 ได้เปลี่ยนแปลงการชำระค่าปฏิกรรมสงครามของเยอรมนี และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1929 [[แผนการยัง]]ได้ลดปริมาณที่ต้องชำระลงเหลือ 112,000 ล้านมาร์กทองคำ (26,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) และต้องชำระให้หมดภายใน 59 ปี (ค.ศ. 1988) นอกจากนี้ แผนการยังยังได้แบ่งปริมาณที่ต้องผ่อนชำระออกเป็นสองส่วน และกำหนดให้จ่ายปีละ 2,000 ล้านมาร์กทองคำ (473 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนที่ต้องชำระอย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นจำนวนหนึ่งในสามของปริมาณที่ต้องผ่อนชำระเป็นรายปี และส่วนที่สอง คือ ส่วนที่สามารถผ่อนผันให้จ่ายในภายหลังได้เป็นจำนวนสองในสาม
ในหลายแง่มุม การเรียกค่าปฏิกรรมสงครามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์เป็นการตอบสนองต่อการเรียกค่าปฏิกรรมสงครามจากฝรั่งเศส โดยเยอรมนี จาก[[สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต]] ในปี [[ค.ศ. 1871]] ภายหลัง[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]] แต่ว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างค่าปฏิกรรมสงครามที่เรียกจากสนธิสัญญาทั้งสองฉบับจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (ระหว่าง 5,000 ล้านฟรังก์ตามสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต เปรียบเทียบกับ 132,000 ล้านมาร์กตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ค่าปฏิกรรมสงครามที่เรียกเก็บจากสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ตนั้นมีปริมาณเท่ากับความต้องการของ[[นโปเลียน]] ภายหลังจากรบชนะ[[ปรัสเซีย]]
 
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบสาธารณูปโภคระหว่างช่วงการถอยทัพของทหารเยอรมันก็ได้นำมาพูดถึงด้วย โดย[[มาร์กาเรต แมกมิลแลน]] ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ''Peacemakers: The Paris Peace Conference of 1919 and Its Attempt to End War'' อธิบายถึงการอ้างสิทธิ์ของฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม "จากจุดเริ่มต้น [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]และ[[ประเทศเบลเยี่ยม|เบลเยี่ยม]] อ้างสิทธิ์ให้มีการกระจายค่าปฏิกรรมสงครามามลำดับของผลกระทบจากความเสียหาย ในเขตอุตสาหกรรมหนักทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เยอรมนีได้ลำเลียงเอาสิ่งที่ต้องการออกไปเป็นจำนวนมากและทำลายส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมด แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะล่าถอยในปี [[ค.ศ. 1918]] แต่ก็ยังสามารถเจียดเวลาออกไประเบิดเหมืองถ่านหินซึ่งมีความสำคัญของฝรั่งเศสได้อยู่ดี"<ref>MacMillan, Margaret. (2001) ''Peacemakers: The Paris Peace Conference of 1919 and Its Attempt to End War.'' ISBN 0-7195-5939-1 (UK), 2001; ISBN 0-375-50826-0, 9 (US), 2002.</ref> อย่างไรก็ตาม เบลเยี่ยมไม่ได้รับค่าปฏิกรรมสงครามตามที่เคยสัญญาเอาไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เนื่องจากฝรั่งเศสและอังกฤษเองต่างก็มีหนี้ที่ตนต้องชำระอยู่เช่นเดียวกัน