ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอยเบี้ยจักจั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
'''หอยเบี้ยจักจั่น''' หรือ '''หอยเบี้ยจั่น''' ({{lang-en|Money cowry}}) เป็นหอยทะเล[[มอลลัสคา|ฝาเดียว]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Monetaria moneta'' ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] [[Cypraeidae]]
 
มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเล[[เขตอบอุ่น]]ทั้งใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]และ[[มหาสมุทรอินเดีย]] อาทิ [[ทะเลแดง]] [[อินโด-แปซิฟิก]] นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของ[[อเมริกากลาง]] ชายฝั่งทะเลทวีป[[แอฟริกากลางตะวันออก|แอฟริกาตอนกลางตะวันออก]]และ[[แอฟริกาใต้ (ภูมิภาค)|ใต้]] [[ทะเลอันดามัน]] [[อ่าวไทย]] [[ทะเลญี่ปุ่น]] ไปจนถึง[[โอเชียเนีย]] ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวก[[แพลงก์ตอน]]และ[[สาหร่ายทะเล]]ที่ลอยมาตามกระแสน้ำ
 
เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ใน[[ภาษาไทย]]ก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "[[รูปี]]" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของ[[อินเดีย]]มาตั้งแต่สมัย[[พุทธกาล]]<ref name="ap">คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือน[[ธันวาคม]] [[ค.ศ. 2010|2010]]</ref>