ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
moveCategory
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต แก้ไข: es:Leyenda áurea; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 9:
'''ตำนานทอง''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Golden Legend; [[ภาษาละติน]]: Legenda Aurea) เป็น[[ตำนานชีวิตนักบุญ]]ที่รวบรวมราวปี ค.ศ. 1260 โดย [[จาโคบัส เด โวราจิเน]] (Jacobus da Varagine) นักเขียน[[จดหมายเหตุ]]ผู้เป็นอัครบาทหลวงแห่งเมือง[[เจนัว]] ใน[[ประเทศอิตาลี]] ซึ่งกลายมาเป็นหนังสือขายดีติดอันดับใน[[ยุคกลาง]]
 
== หนังสือยอดนิยมในยุคกลาง ==
'''ตำนานทอง''' เดิมมีชื่อง่ายๆ ว่า “Legenda Sanctorum” ซึ่งแปลว่า “ตำนานนักบุญ” และเป็นที่รู้จักกันในชื่อนั้น ปัจจุบันมีเหลือด้วยกันมากกว่าพันเล่ม และเมื่อมี[[การพิมพ์]]หนังสือราวปี ค.ศ. 1450 งานนี้ก็แพร่หลายมากขึ้นไม่แต่ในภาษาละตินเท่านั้นแต่ทั้งภาษาอื่นๆ ใน[[ทวีปยุโรป]]ด้วย และเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษโดยวิลเลียม แค็กซ์ตัน (William Caxton) เมื่อปี ค.ศ. 1483
 
== จินตนาการเรื่องชื่อ ==
หนังสือรวบรวมมาจากตำนานที่เกี่ยวกับ[[นักบุญ]]ที่เป็นที่นิยมสักการะกันในขณะสมัยที่ทำการรวบรวม จาโคบัส เดอ โวราจิเน มักจะเริ่มเรื่องโดยกล่าวถึง[[ที่มาของชื่อ]]นักบุญที่ออกทางจินตนาการ ซึ่งจะเห็นจากตัวอย่างที่แค็กซ์ตันแปล
 
บรรทัด 19:
โวราจิเนผู้เป็นนักประพันธ์ภาษาละตินก็น่าจะทราบว่า “ซิลเวสเตอร์” เป็นชื่อพื้นๆ ที่ใช้กันแพร่หลายซึ่งมีความหมายง่ายๆ เพียงว่า “มาจากป่า” ซึ่งโวราจิเนก็กล่าวไว้บ้างแต่ขยายความจนนักภาษาศาสตร์เห็นว่าเป็นการตีความที่เลิศลอยและเกินเลยไปจากรากศัพท์เดิมของคำเป็นอันมาก แม้ว่าการใช้คำว่า “silvas” และ “forest” ของโวราจิเนจะถูกต้อง ตามที่ตีความหมายว่าเป็นกิ่งไม้ แต่เป็นการตีความหมายแบบ[[สัญลักษณ์แฝงคติ]]มิใช่การตีความหมายของที่มาของคำ การใช้ที่มาของคำเช่นที่จาโคบัส เดอ โวราจิเนใช้เป็นการใช้อย่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจาก[[ศัพทมูลวิทยา]]ในปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจจะเอามาตีคุณค่าโดยใช้มาตรฐานปัจจุบันเป็นกำหนดได้ การใช้ที่มาของคำในลักษณะนี้ของจาโคบัส เดอ โวราจิเนคล้ายคลึงกับคำอธิบายในหนังสือ “ศัพทมูลวิทยา” (Etymologiae) ที่เขียนโดย[[นักบุญอิสซิดอเรแห่งเซวิลล์]] (Isidore of Seville) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่กล่าวว่าความหมายของที่มาของคำในทางภาษาศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องแยกจากการบรรยายที่มาของคำในการใช้สำหรับ “สัญลักษณ์แฝงคติ”
 
== ชีวิตของนักบุญ ==
หลังจากเขียนบทนำแล้วโวราจิเนก็เริ่มเล่าประวัติชีวิตของนักบุญซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารของนิกายโรมันคาทอลิกที่เป็นเพลงสวดสรรเสริญนักบุญ จากนั้นโวราจิเนก็เพิ่มเนื้อหาด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ ที่เกิดกับนักบุญที่นำมาจากแหล่งที่หลักฐานอื่นๆที่ไม่ค่อยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตำนานทองใช้แหล่งอ้างอิงทั้งสิ้น 130 แหล่ง นอกจาก[[คัมภีร์ไบเบิล]]แล้วโวราจิเนก็ใช้หนังสือตำนาน “[[วรรณกรรมฉบับเคลือบแคลง]]” เช่น “พระวรสาร[[นิโคเดอมัส]]” (Gospel of Nicodemus), ประวัติของ [[นักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์]] และ [[นักบุญจอห์นคาสเคียน]], และ “Speculum historiale” ซึ่งเขียนโดยแวนซองท์เดอโบเวส์ (Vincent de Beauvais) ผู้เป็นพระ[[ลัทธิโดมินิคัน]] และบางเรื่องก็ไม่มีแหล่งอ้างอิงใดๆ เช่นตัวอย่างของนักบุญซิลเวสเตอร์ที่กล่าว เล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้รับคำสอนอย่างปาฏิหาริย์จาก[[นักบุญปีเตอร์]]ที่ทำให้ท่านสามารถไล่มังกรจากโรมได้:
 
บรรทัด 26:
::เมื่อนักบุญปีเตอร์พูดจบนักบุญซิลเวสเตอร์ก็ปฏิบัติตาม เมื่อนักบุญซิลเวสเตอร์ไปถึงถ้ำก็ลงบันไดไปร้อยห้าสิบขั้น, ถือตะเกียงลงไปสองดวง, และพบมังกร, และกล่าวคำที่นักบุญปีเตอร์สอนไว้, และผูกปากมังกรด้วยเชือก, และประทับตรา, และหลังจากกลับมา, ก็พบคนสองคนผู้ติดตามลงไป(เพื่อดูมังกร) ซึ่งกำลังใกล้ตายเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น, ผู้ซึ่งนักบุญซิลเวสเตอร์นำกลับมาด้วยอย่างปลอดภัย, ผู้ซึ่งได้รับศีลจุ่ม, รวมทั้งผู้คนอื่นๆ ที่มาด้วยกันอีกมากมายด้วย ฉะนั้นเมืองโรมจึงปลอดภัยจากความตายสองอย่าง, จากความตายจากการนับถือรูปต้องห้าม และจากพิษของมังกร”
 
== ปาฏิหาริย์และตำนานของวัตถุมงคล ==
ตำนานของนักบุญหลายเรื่องจบด้วยปาฏิหาริย์ต่างๆของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากนักบุญหรือผู้ใช้[[วัตถุมงคลในคริสต์ศาสนา|วัตถุมงคล]]ที่มาจากหรือเป็นของนักบุญ เช่นประวัติของ [[นักบุญอากาธา]] โวราจิเนเล่าว่าผู้นอกศาสนาที่คาทาเนีย ใน[[ซิซิลี]]ใช้วัตถุมงคลของนักบุญอากาธาเพื่อจะหยุดยั้งไฟที่มาจาก[[ภูเขาไฟเอตนา]]
 
บรรทัด 33:
แต่โวราจิเนเองก็ยอมแพ้เมื่อมาถึงเรื่องของ[[นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก]]ผู้รอดมาจากการถูกกลืนโดยมังกรโดยยอมรับว่า “จากตำนานและไม่ควรจะเป็นที่น่าเชื่อถือเท่าใด” (แปล ไรอัน 1.369)
 
== คุณค่าสำหรับผู้ศึกษาวัฒนธรรมยุคกลาง ==
ตำนานทองเขียนเป็นภาษาละตินแบบที่เข้าใจง่าย ผู้อ่านในสมัยยุคกลางอ่านเพื่อเอาเรื่องแต่เมื่อดูรวมๆ แล้วเรื่องการพลีชีพ และปาฏิหาริย์ต่างๆ ก็จะซ้ำๆ กัน ตำนานทองเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดในการเป็น[[สารานุกรม]]ของตำนานและชีวิตนักบุญของยุคกลางตอนปลาย ฉะนั้นจึงเป็นหนังสือที่มีค่าที่นักประวัติศาสตร์ใช้แยกตัวนักบุญในภาพเขียนโดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตที่บรรยายในตำนานทอง การที่เรื่องมักจะซ้ำกันอาจจะเป็นเพราะโวเรจินเนตั้งใจเขียนขึ้นสำหรับการเทศนามิใช่เขียนขี้นสำหรับให้เป็นที่นิยมอย่างที่เกิดขึ้น
 
ในหนังสือ “การปฏิรูปศาสนา: ประวัติศาสตร์” (The Reformation: A History) ค.ศ. 2003, ไดอาร์เมด แมคคัลลอคกล่าวว่าตำนานทองเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิด[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์|การปฏิรูปศาสนา]]โดยมิได้จงใจ โดยการทำให้เพิ่มความแคลงใจให้กับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อ[[ลัทธินิยม]]นักบุญ เช่นจะเห็นได้จากงานเขียน “Praise of Folly” โดย [[อิราสมัส|เดซิเดอเรียส อิราสมัส]] (Desiderius Erasmus)
 
== อ้างอิง ==
* “ตำนานทอง” ฉบับแปล โดย วิลเลียม เกรนเจอร์ ไรอัน ISBN 0-691-00153-7 and ISBN 0-691-00154-5 (2 เล่ม)
* “ตำนานทอง” ฉบับละติน ตรวจแก้ไขโดยจิโอวานนี เพาโล มาจิโอนี (ฟลอเรนซ์: SISMEL ค.ศ. 1998)
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[นักบุญ]]
* [[วรรณกรรมนักบุญ]]
บรรทัด 52:
* [http://www.fordham.edu/halsall/basis/goldenlegend/ The Golden Legend - William Caxton's Middle English version (ตำนานทอง (ภาษาอังกฤษกลาง) โดย วิลเลียม แค็กซ์ตัน)] {{en icon}}
* [http://www.aug.edu/augusta/iconography/goldenLegend/index.html The Golden Legend - William Caxton's version for easy reading (ตำนานทอง (ภาษาอังกฤษแบบอ่านง่าย) โดย วิลเลียม แค็กซ์ตัน)] {{en icon}}
 
[[หมวดหมู่:ตำนาน|ตำนานทอง]]
เส้น 65 ⟶ 64:
[[en:Golden Legend]]
[[eo:Ora Legendo]]
[[es:LaLeyenda leyenda doradaáurea]]
[[fr:Légende dorée]]
[[he:מקראת הזהב]]