ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|width=260px}}
[[ไฟล์:Holbein-erasmus.jpg|thumb|260px |นักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์[[เดสิเดอริอัส อีราสมัส]] ราว [[ค.ศ. 1523]] เขียนโดย[[ฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก)]]]]
'''ลัทธิมนุษยนิยมสมัยเรอเนสซองซ์''' ({{lang-en|Renaissance humanism}}) คือขบวนการทางปัญญาของ[[ยุโรป]]ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของ[[ยุคเรอเนสซองซ์]] หรือ [[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]]ที่เริ่มขึ้นที่[[ฟลอเรนซ์]]ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรณกรรม[[ภาษาลาติน]]และ[[กรีกโบราณ|กรีก]]กันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญาชนหรือครูที่สองวรรณกรรมภาษาลาติน แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษา — “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” (studia humanitatis) — ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีก
 
นักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาที่นิยมกันก่อนหน้านั้นที่เรียกว่า[[Scholasticism|อัสสมาจารย์นิยม]] (Scholasticism) ซึ่งเป็น “ผู้ร่ำเรียน” (schoolmen) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอิตาลี, ปารีส, อ๊อกซฟอร์ด และอื่นๆ การศึกษาของกลุ่มอัสสมาจารย์นิยมพัฒนามาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และปรัชญาของกรีกโบราณและอาหรับยุคกลาง ตัวอย่างของผู้นำในกลุ่มนี้ก็ได้แก่[[ทอมัส อควีนาส]]ผู้ที่พยายามสังเคราะห์ปรัชญาของ[[อริสโตเติล]]ในบริบทของลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่างจากหลักของมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ก็ตรงที่นักอัสสมาจารย์นิยมมิได้พึ่งวรรณกรรม หรือ ตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมันเท่ากันกับเมื่อมาถึงสมัยมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ การกลับมาพบและกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และ ตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และ เทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางทางวัฒนธรรมและทางปรัชญาของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์มักจะเน้นบทเขียนของ[[เพลโต]] ที่บางชิ้นนำกลับมาจาก[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]ที่เริ่มเสื่อมโทรมลงเป็นครั้งแรก และให้ความสนใจน้อยกว่าในปรัชญาของ[[อริสโตเติล]]ที่ได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่าง[[ยุคกลางตอนกลาง]]แล้ว
บรรทัด 31:
* Rossellini, Roberto. ''The Age of the Medici'': Part 1, ''Cosimo de' Medici''; Part 2, ''Alberti'' 1973. (film) Criterion Collection.
 
 
{{เรียงลำดับ|มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์}}
[[หมวดหมู่:ลัทธิมนุษยนิยม]]
[[หมวดหมู่:ยุคเรอเนสซองซ์]]
 
{{โครงความเชื่อ}}